Recent Posts

Posts RSS

สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป

สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป

( แบบมีหลักประกัน )

ทำที่..............................................................................
วันที่.................เดือน.................................พ.ศ.....................
                ข้าพเจ้า..........................อายุ...................ปี  อยู่บ้านเลขที่.....................ตรอก / ซอย...............ถนน.....................ตำบล / แขวง........................อำเภอ / เขต.........................จังหวัด...........................
ในฐานะ ผู้กู้ ฝ่ายหนึ่ง กับ
                ข้าพเจ้า..........................อายุ...................ปี  อยู่บ้านเลขที่.....................ตรอก / ซอย...............ถนน.....................ตำบล / แขวง........................อำเภอ / เขต.........................จังหวัด...........................
ในฐานะ ผู้ให้กู้ อีกฝ่ายหนึ่ง
                คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาดังความต่อ ไปนี้
                ข้อ 1. ผู้กู้ตกลงกู้เงินและผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวน..................บาท (.................................)และผู้กู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปเรียนร้อยแล้วตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญาฉบับนี้
ข้อ 2. ผู้กู้ตกลงยิงยอมชำระดอกเบี้ยให้กู้ในอัตราร้อยละ.......................ต่อปี นับตั้งแต่วัน
ที่....................จนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น......................บาท (..............................)
                ข้อ 3. ผู้กู้ตกลงชำระเงินกู้คืนโดย
                                £ ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละ...............................บาท
(....................................................) เริ่มต้นตั้งแต่เดือน........................................ไปจนชำระเสร็จสิ้น
                                £ ชำระต้นเงินคืนในวันที่.............เดือน............................พ.ศ........................และ
ชำระดอกเบี้ยคืนทุกเดือนในอัตราเดือนละ................................บาท (......................................)ตั้งแต่
เดือน............................จนถึงเดือน.................................................รวมทั้งสิ้น.........................เดือน
                ข้อ 4. เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินครั้งนี้.............................................ได้ยินยอมเป็น
ผู้ค้ำประกับการกู้ยืมเงินนี้ ดังประกฎรายละเอียดตามสัญญาค้ำประกันหรือเพื่อเป็นหลักประกันผู้กู้ได้ มอบ........................................................................................................ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้
เพียงลำพังให้แก่ผู้ให้กู้ไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวด้วย
                ข้อ 5. ผู้กู้ให้สัญญาว่าถ้าผู้กู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนแก่ผู้ให้กู้ได้ทันที และผู้กู้ยินยอมชำระค่าเสียหายต่าง ๆในการเรียกทวงถามรวมทั้งค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลอันเกี่ยวกับการฟ้องร้องด้วย
               
สัญญานี้ถูกทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับและเห็นว่าข้อความในสัญญาถูกต้องตรงกันแล้วจึงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ

ลงชื่อ.................................................ผู้กู้                               ลงชื่อ.................................................ผู้ให้กู้
        (.................................................)                          (................................................)

ลงชื่อ.................................................พยาน                         ลงชื่อ.................................................พยาน
        (.................................................)                          (................................................)                                

0 ความคิดเห็น

สัญญาค้ำประกันการรับฝากทรัพย์

สัญญาค้ำประกันการรับฝากทรัพย์

                                                                                                วันที่…………………………………………...
                หนังสือนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่า ข้าพเจ้า………………………………………………..
โดย…………………………………………..กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน อายุ………….ปี
เชื้อชาติ……………..สัญชาติ………………..อยู่บ้านเลขที่………………ตรอก/ซอย……………..
ถนน…………………….ตำบล/แขวง…………………………..อำเภอ…………………………….
จังหวัด…………………………..เป็นผู้ค้ำประกันการรับฝากทรัพย์ตามสัญญาที่…………………...
ลงวันที่………………………ระหว่าง……………………………….กับ…………………………..
ทรัพย์สินที่ค้ำประกัน คือ…………………………………………………………………………….
กระทำกับ ธนาคาร………………………………..จำกัด มหาชน ข้างต้นนี้ หากมีความเสียหายใด ๆ
เกิดขึ้นไม่ว่าจะในกรณีใด ๆ แก่ทรัพย์สินที่ฝากไว้ ข้าพเจ้า…………………………………………..
ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคาร…………………………………..จำกัด มหาชน ทุกประการ

                                                                                                ลงชื่อ……………………………...ผู้ค้ำประกัน
                                                                                                    (…………………………………)
                                                                                                ลงชื่อ……………………………...ผู้ค้ำประกัน
                                                                                                    (…………………………………)
                                                                                                ลงชื่อ……………………………...พยาน
                                                                                                    (…………………………………)
                                                                                                ลงชื่อ……………………………...พยาน
                                                                                                    (…………………………………)

0 ความคิดเห็น

สัญญาจ้างว่าความ

สัญญาจ้างว่าความ

วันที่…………เดือน………………………..………….

                สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างธนาคาร ………………………จำกัด โดย ……….…………………….
ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า  "ธนาคารฝ่ายหนึ่ง กับ ………..………………เลขที่…………...………ถนน…………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า "ทนายอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสอง ฝ่ายตกลงกันทำสัญญากันดังต่อไปนี้
ข้อ  1.  ธนาคารตกลงมอบหมายให้ทนายเป็นผู้ดำเนินคดี และทนายตกลงรับดำเนินคดีต่าง ๆ ที่ธนาคารจะส่งมอบให้ดำเนินการตามที่ธนาคารจะได้มอบหมายในแต่ละครั้งละเรื่องต่อไป ซึ่งในการมอบหมายแต่ละครั้งจะได้มีการส่งมอบหลักฐาน และทำการรับการมอบเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้งไป
ข้อ  2.  ทนายความตกลงรับค่าว่าความจากธนาคารตามเรื่องที่ได้มอบหมายจากธนาคารในอัตราดังต่อไปนี้
2.1 ในกรณีที่ทนายมีหนังสือทวงถามถึงลูกหนี้ที่ธนาคารมอบหมายให้ดำเนินการและธนาคารได้รับชำระหนี้โดยทนายไม่ต้องดำเนินคดี ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความให้แก่ทนายตามอัตราดังนี้
2.1.1 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………….บาท
2.1.2 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………….บาท
2.1.3 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาทขึ้นไป
                                2.2 ในกรณีที่ทนายความต้องดำเนินคดีชั้นศาลถึงที่สุด และธนาคารเป็นฝ่ายชนะคดี   หรือประนีประนอมยอมความ ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความที่ธนาคารมอบหมายให้แก่ทนายเมื่อคดีถึงที่สุด ตามจำนวนในวันที่ศาลพิพากษาโดยไม่รวมดอกเบี้ยในอนาคต ในอัตราดังต่อไปนี้
2.2.1 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ………………………ของจำนวนเงินไม่เกิน
บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………บาท 
2.2.2 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ……………………ของจำนวนเงินเกินกว่า
บาท แต่ไม่เกิด ………………………บาท 


2.2.3 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ………………………ของจำนวนเงินที่เกิน
กว่า…………………………………….บาท   
                                ทั้งนี้ทนายมีหน้าที่ต้องดำเนินการบังคับคดีดังกล่าวต่อไปตามหน้าที่
                2.3 เมื่อคดีดังกล่าวใน 2.2 ธนาคารได้รับการชำระหนี้ ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความให้แก่ทนายเพิ่มเติมจากที่ได้รับแล้วดังกล่าวใน 2.2 เมื่อธนาคารได้รับชำระหนี้ในอัตราต่อไปนี้
2.3.1 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับไม่เกิน………………………………บาท แต่ไม่เกิน ………………………….บาท
2.3.2 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับส่วนที่เกินกว่า………………………บาท แต่ไม่เกิน ………………………….บาท
2.3.3 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับส่วนที่เกินกว่า………………………บาท
                ข้อ  3.  ธนาคารเป็นผู้ชำระค่าฤชากร ค่าธรรมเนียมศาล และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ   เกี่ยวกับการดำเนินคดีแต่ละเรื่องแก่ทนายตามระเบียบหรือกฎหมายและตามความเป็นจริง   ซึ่งทนายจะต้องแสดงรายการหักจ่ายให้แก่ธนาคารทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทนายได้เบิกเงินดังกล่าวจากธนาคาร
                ข้อ  4.  ทนายจะต้องปฏิบัติดังนี้
                                4.1 ทนายไม่มีอำนาจที่จะให้เวลาผัดผ่อนชำระหนี้เกิน 2 เดือนแก่ลูกหนี้เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนทุกเรื่อง
                                4.2 การที่จะลดหนี้ ถอนฟ้องคดี   ประนีประนอมยอมความ   โดยที่ธนาคารมีทางเสียเปรียบ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
                                4.3 ถ้ามีการทิ้งคดี ปล่อยให้คดีขาดอายุความ หรือดำเนินการไปโดยผิดพลาด   ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย   จะต้องคืนเงินค่าว่าความทั้งหมด และต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารด้วย
                                4.4 เมื่อคดีถึงที่สุด ทนายจะต้องคัดสำเนาคำพิพากษาหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยให้ศาลรับรองสำเนาถูกต้องมอบให้ธนาคารภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดทุกเรื่อง
                                4.5 ในกรณีที่ลูกหนี้วางเงินต่อศาลหรือมีการชำระหนี้ให้แก่ทนาย ทนายจะต้องขอรับเงินจากศาลโดยเร็ว หรือขอคืนค่าธรรมเนียมจากศาลในกรณีจำยอม และส่งมอบเงินแก่ธนาคารทันทีที่ได้รับจากศาล หรือได้รับชำระหนี้
                                4.6 หนี้รายใดซึ่งทนายฟ้องร้องไปแล้ว แต่ไม่เป็นผลต่อธนาคาร โดยศาลยกฟ้องธนาคารจะไม่ยอมจ่ายค่าว่าความแก่ทนายสำหรับเรื่องนั้น
                                4.7  ทนายต้องส่งสำเนาคำฟ้องและคำให้การ  และรายงานคดีให้ธนาคารทราบแต่ละเรื่องอย่างน้อยทุก    2  เดือน  ว่าได้ดำเนินการไปอย่างไร  ผลเป็นอย่างไร  และจะต้องจัดการอย่างไรต่อไป  หากทนายละเว้นไม่รายงานให้ทราบตามกำหนด  ธนาคารจะหักเงินค่าว่าความที่ทนายจะได้รับในเรื่องนั้นครั้งละ …………………..บาททุกครั้งที่ไม่รายงานตามกำหนดทั้งนี้เพื่อให้ธนาคารได้มีโอกาสรู้ผลงาน และเตรียมงานที่จะเสนอหลักฐานเป็นพยานศาลต่อไป
                                4.8 ทนายจะต้องไม่นำคดีตาที่ได้รับมอบหมายตามสัญญานี้ให้บุคคลอื่นจัดการก่อนได้รับอนุญาตจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร
                                4.9 ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ หรือบอกเลิกเรื่องที่มอบหมายเมื่อไรก็ได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควร
                                4.10 เมื่อเสร็จคดีเรื่องใด   ให้ทนายจัดการคืนสำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารที่ดำเนินคดีทั้งหมดคืนแก่ธนาคาร   แล้วจึงจะขอรับค่าว่าความครั้งสุดท้ายได้
                ข้อ  5.  ทนายความมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้เมื่อไรก็ได้ แต่ทนายมีหน้าที่รับผิดชอบและดำเนินคดีที่ได้รับมอบหมายจากธนาคารที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้นให้แล้วเสร็จ
                สัญญานี้ทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความตรงกัน  คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความตามสัญญานี้แล้ว  จึงได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานไว้เป็นสำคัญ

ลงชื่อ………………………………………..ธนาคาร
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..ธนาคาร
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..ทนาย
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
        (………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
        (………………………………………)

0 ความคิดเห็น

แนวข้อสอบรองปลัด อบจ อบต เทศบาล

งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็นพระราชบัญญัติ
                   ก. ข้อบังคับ                                                             ข. ระเบียบ
                  
ค.ข้อบัญญัติ                                                            ง. พระราชบัญญัติ
                   ตอบ
ค.ข้อบัญญัติ

2. ข้อใดคือนิยามของ "งบประมาณ" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                   ก. กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
                   ข. แผนงาน หรืองานสำหรับงบประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
                   ค.  ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
                   ง. ถูกทุกข้อ:
                   ตอบ  ข. แผนงาน หรืองานสำหรับงบประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
3. ข้อใดคือนิยามของ "แผนงาน" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
                   ก.  กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
                   ข. แผนงาน หรืองานสำหรับงบประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
                   ค. ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
                   ง.  ถูกทุกข้อ
                   ตอบ  ก.  กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน

4.  ในกรณีที่งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะดำเนินการอย่างไร
                   ก. ไม่มีการเบิกจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
                   ข. นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
                   ค. นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
                   ง. นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณามาใช้ไปพลางก่อน
                   ตอบ  ค. นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
5.  บุคคลในตำแหน่งใด เป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ
                   ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
                   ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
                   ค. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
                   ง. เจ้าหน้าที่พัสดุ
                   ตอบ  ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
6.  ข้อใดไม่ใช้รายจ่ายประจำ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
                  
ก. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
                   ข. หมวคค่าจ้างชั่วคราว
                   ค. หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
                   ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
                   ตอบ  ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
7. ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
                   ก.  หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ                ข. หมวคค่าจ้างชั่วคราว
                   ค. หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ        ง.หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:
4
                   ตอบ  ง.หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

8. ข้อใดสามารถเบิกจ่ายได้ แม้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ออกใช้ไม่ทัน
                   ก. ค่าครุภัณฑ์                                                         ข. งบลงทุน
                   ค. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง                                   ง. ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ:
4
                   ตอบ   ง. ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
9. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
                   ก. อำเภอ                                                                 ข. เทศบาล
                   ค. องค์การบริหารส่วนตำบล                              ง. องค์การบริหารส่วนจังหวัด:
1
                   ตอบ  ก. อำเภอ
10.  งบประจำรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
                   ก.  พระราชบัญญัติ                                               ข. ข้อบัญญัติ
                   ค. ระเบียบ                                                              ง. ข้อบัญญัติ
                   ตอบ  ข. ข้อบัญญัติ
11. บุคคลใดมีอำนาจสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
                   ก. ประธานกรรมการบริหาร                               ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
                   ค. นายอำเภอ                                                          ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
                   ตอบ  ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
12. องค์กรบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
                   ก.  ราชการส่วนท้องถิ่น                                       ข. ราชการส่วนภูมิภาค
                   ค. องค์กรอิสระ                                                      ง. ราชการส่วนกลาง
                   ตอบ  ก.  ราชการส่วนท้องถิ่น
13. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่
                   ก.
1 ปี                                                                       ข. 2 ปี
                   ค.
3 ปี                                                                       ง.:4 ปี
                   ตอบ  ง.
4 ปี
14. ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งมีจำนวน 2 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
                  
ก.  4 คน                                                                   ข. 6 คน
                   ค.
10 คน                                                                 ง. 12 คน
                   ตอบ  ข.
6 คน
15.  ข้อใดไม่ใช่ส่วนบริหารราชการส่วนกลาง
                   ก. กรุงเทพมหานครฯ                                           ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
                   ค. กระทรวง ทบวง                                                ง. กรม
                   ตอบ  ก. กรุงเทพมหานครฯ

0 ความคิดเห็น

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

1.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ    ข.๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
2.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ   ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
3.    “ก.อ.” หมายความว่า
ก.    คณะกรรมการอัยการ            ค. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข.    คณะกรรมการอัยการสูงสุด        ง. คณะกรรมการฝ่ายอัยการ
ตอบ    ก.คณะกรรมการอัยการ
4.    ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก.    อัยการสูงสุด                ค.รองอัยการสูงสุด
ข.    ก.อ.                       ง.อธิบดีอัยการ
ตอบ   ก. อัยการสูงสุด
5.    ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.    2  ประเภท                ค. 4  ประเภท
ข.    3  ประเภท                ง. 5  ประเภท
ตอบ  ก. 2  ประเภท
6.    ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของข้าราชการฝ่ายอัยการ
ก.    ข้าราชการอัยการ                ค. ข้าราชการสารบรรณ
ข.    ข้าราชการธุรการ                ง. ไม่ใช่ทั้ง  ข้อ ข และ  ค
ตอบ  ค. ข้าราชการสารบรรณ
7.    คณะกรรมการอัยการประกอบด้วย
ก.    อัยการสูงสุด                ค. รองอัยการสูงสุด
ข.    กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

0 ความคิดเห็น

สรุปหลักกฏหมายแรงงาน

1. เรื่องการทดลองงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงานปัจจุบัน มิได้จำแนกประเภทของลูกจ้างไว้ ดังนั้น ลูกจ้างทดลองงานจึงถือว่าเป็นลูกจ้าง มีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างทั่วไป เมื่อนายจ้างไม่ประสงค์จะจ้างลูกจ้างทดลองงานต่อไป ก็ต้องบอกเลิกจ้าง โดยต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบในวันจ่ายค่าจ้างหรือก่อนวันจ่ายคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างคราวถัดไปหากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือบอกกล่าวไม่ครบหรือถูกต้องตามกำหนดเวลาข้างต้นก็ต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าตกใจ ให้กับลูกจ้าง

2.
เรื่องการเกษียณอายุ
การที่บริษัทมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างหญิง เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี และลูกจ้างชายเมื่ออายุครบ 55 ปี นั้น บริษัทปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อบังคับเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี ไม่มีผลบังคับใช้ เป็นโฆฆะ การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเมื่ออายุครบ 50 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานอาจสั่งให้บริษัทฯ (จำเลย) รับลูกจ้างหญิงกลับเข้าทำงาน (โจทก์) หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนก็ได้

3.
เรื่องวันหยุดวันลา (เฉพาะที่ อาจารย์เน้น)
3.1
วันหยุด
3.1.1
วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
3.1.2
วันหยุดตามประเพณี กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี ( ไม่ใช่เอาวันหยุดของข้าราชการมาใช้ ซึ่งหยุด 16 วัน และไม่หยุดวันแรงงานด้วย ) วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น รวมแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
3.1.3
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1.3.1
เมื่อทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
3.1.3.2
เมื่อทำงานติดต่อมาแล้วครบ 1 ปี ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดให้มากกว่า 6 วัน ทำงานก็ได้
3.1.3 .3
กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดให้ตามสัดส่วนก็ได้
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะสะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ยังไม่ได้หยุดในปีนี้นั้นรวม
กับปีต่อ ๆ ไปได้ โดยตกลงกันล่วงหน้าระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และถ้าลูกจ้างมีสิทธิลาแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธิแต่ถูกเลิกจ้างก่อนโดยไม่ได้กระทำความผิดอันทำให้หมดสิทธิได้รับค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมด้วย

3.2
วันลา
3.2.1
วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วยแต่ไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน และไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
3.2.2
วันลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
3.2.3
วันลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้นตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และวันลาดังกล่าวให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย การลาคลอดไม่ต้องแสดงใบสมรสหรือสูจิบัตร
เวลาทำงานปกติ วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง
การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
1.
เป็นความยินยอมของลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไม่ใช่ต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง
2.
ลูกจ้างทุกคน ทุกตำแหน่ง มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลา เพราะถือเป็นลูกจ้าง
อัตราค่าจ้างล่วงเวลา ( เผื่อไว้ อ.ไม่ได้เน้น)
1.
ทำเกินเวลาในวันทำงานปกติ จ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
2.
ทำเกินเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
3.
ถ้าให้ทำในวันหยุด จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ด้วย ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

4.
ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอย่างอื่น หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อสังเกต อย่าสับสนกับเงินสวัสดิการ ดังนั้น ให้ดูที่เจตนาของนายจ้างด้วย ถ้าเป็นการจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อไปจ่ายจริงและมีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินนั้น ก็เป็นเงินสวัสดิการ มิใช่เงินค่าจ้าง เช่น การเหมาจ่ายค่ารถ ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ซึ่งต้องจ่ายจริงโดยกะประมาณตามความจริง แต่ถ้านายจ้างจ่ายโดยไม่คำนึงถึงว่าลูกจ้างจะนำไปใช้จ่ายจริงหรือไม่ เพียงแต่ว่า เมื่อลูกจ้างทำงานตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ก็จะได้ค่าพาหนะหรือค่าน้ำมันรถ ถือว่า นายจ้างมีเจตนาจ่ายให้เป็นรายได้ของลูกจ้าง เงินนั้นเป็นค่าจ้าง และหากนายจ้างมีเจตนาจ่ายให้ลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ และเป็นจำนวนเงินแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง ได้แก่ เงินรับรอง , เงินประจำตำแหน่ง , เงินเบี้ยเลี้ยง เงินค่านายหน้า เงินค่าครองชีพ เงินค่าเบี้ยกิโลเมตร เป็นต้น ส่วนเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ถือเป็นสวัสดิการ เช่น ค่าอาหาร เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยค่าน้ำประปา-ไฟฟ้า เงินช่วยค่าเช่าบ้าน เงินโบนัส เบี้ยขยัน เงินรางวัลประจำปี เงินบำเหน็จ เป็นต้น

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม