Recent Posts

Posts RSS

ความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ


 ความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ
4. ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร

ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
การ ลักลอบหนีศุลกากรหมายถึง การนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากร หรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของ ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำ มาผ่านพิธีการศุลกากร ก็มีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิด ฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่า ของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การ หลีกเลี่ยงภาษีอากรหมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งของออกไปนอกประเทศไทยโดยนำมา ผ่าน พิธีการ ศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอากร หรือชำระในจำนวน ที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นำเข้าหรือส่ง ออกที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่ง ด้วย กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ แต่ในกรณีที่มีการนำ ของซุกซ่อนมากับของที่ สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
ความผิดฐานสำแดงเท็จ
การ สำแดงเท็จหมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริง ในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้
1. การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ หรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใด ๆ ก็ตาม
2. การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายด้วยความสัตย์จริง
3. การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสาร อย่างอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้
4. การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่ปลอมแปลงแล้ว
5. การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว
6. การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากรซึ่งพนักงาน ศุลกากร นั้น ๆ ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
การ กระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาท เลินเล่อหรือ ไม่ ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จไว้สูงสุดคือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
ของ ต้องห้ามคือ ของที่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออก เช่น วัตถุลามก ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ส่วนของต้องกำกัดคือ ของที่จะนำเข้า-ส่งออกได้ ต้องได้รับ อนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกของ กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการ วิเคราะห์หรือเอกสารกำกับ ยา เป็นต้น ของต้องกำกัดเหล่านี้หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดแล้ว ก็สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษ ผู้กระทำผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของ ราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
ใน การนำเข้าและส่งออก สินค้าแต่ละครั้งผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บ ภาษีอากรและการนำเข้า-ส่งออก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่นการขอยื่นปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรแบบใบขนสินค้าขา เข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง
** การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1,000 บาท **

0 ความคิดเห็น

ค่าจ้างและผลตอบแทนการทำงาน




ขอบเขตและความหมายของการบริหารผลตอบแทน
ใน ความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อ ให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน
ส่วน ในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน
การ บริหารผลตอบแทน จึงมีความหมายมิใช่เฉพาะเรื่องการบริหารค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่หมายถึงตั้งแต่การกำหนดลักษณะงาน ค่าของงาน (Job Value) การวัดผลการทำงาน ตลอดจนถึงการบริหารสวัสดิการ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นผลตอบแทนการทำงาน และการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายหรือการจัดให้พนักงานได้รับ ผลตอบแทนการทำงานดังกล่าวอย่างถูกต้อง
การ บริหารผลตอบแทนจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดระบบงาน การควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่ พนักงานได้ทุ่มเท (Contribute) ให้แก่บริษัท

เป้าหมายของการบริหารผลตอบแทนการทำงาน
เป้าหมายหลักในการจัดระบบการบริหารผลตอบแทนการทำงาน นอกเหนือจากเพื่อธำรงรักษาทรัพยากรบุคคลของบริษัทแล้ว ยังมีเป้าหมายหลักดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ควรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
2. เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
3. เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดได้ คือ สามารถธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถคัดเลือก สรรหาผู้มีความสามารถเข้ามาเป็นพนักงานบริษัท
4. สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลตอบแทนการทำงานให้สอดคล้องกับผลผลิต และผลการดำเนินธุรกิจ
5. เพื่อให้การจ่ายผลตอบแทนเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay per Performance)
6. เพื่อสะดวกแก่การบริหารและการจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและหลักการบริหารบุคคลในเรื่อง ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
6.1 การจ้างแรงงาน
6.2 การสับเปลี่ยน โยกย้าย แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
6.3 มาตรฐานงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.4 การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน
6.5 การบริหารสวัสดิการ
6.6 การจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทจัดให้แก่พนักงาน ฯลฯ

7. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือจากพนักงาน โดยอาศัยหลักแห่งความยุติธรรมในการจ่ายผลตอบแทนการทำงาน

กิจกรรมหลักในการบริหารผลตอบแทน
ฝ่ายบริหารที่สามารถบริหารผลตอบแทน เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องประกอบกิจกรรมสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผลตอบแทนการทำงาน และแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบอย่างถูกต้อง ถ่องแท้
2. มีการวิเคราะห์งานและกำหนดลักษณะงาน ซึ่งจะบ่งชี้คุณสมบัติของพนักงานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ และเป็นการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคนในแต่ละ หน้าที่ไว้ด้วย
3. การประเมินค่าของงานและกำหนดระดับของงาน
4. การคำนวณค่าของงานเป็นผลตอบแทน
5. การกำหนดโครงสร้างค่าจ้างและเงินเดือน
6. การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและผลงานที่บริษัทคาดหวังไว้
7. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
8. การพิจารณาผลตอบแทน
9. การบริหารการจ่ายค่าตอบแทน

อย่าง ไรก็ดี การที่ฝ่ายบริหารจะต้องบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักดังกล่าวมาแล้วนั้น ความยุ่งยากที่สุดในการบริหาร คือ ขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการพิจารณาผลตอบแทนการทำงาน

โดย ทั่วไป ผู้บริหารทุกคนมีความเชื่อในระบบคุณธรรม (Merit System) และประสงค์ที่จะบริหารทรัพยากรบุคคลของตน โดยยึดมั่นในหลักแห่งคุณธรรม ซึ่งรวมถึงการพิจารณาตอบแทนผลการทำงาน จึงมีการกำหนดเป็นหลักการไว้ว่า การจ่ายผลตอบแทนการทำงานนั้นให้จ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay per Performance) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน

0 ความคิดเห็น

ความหมายของอาวุธปืน

อาวุธปืน หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ยิง ไปทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้
ปีน ที่ไม่อาจทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้โดยสภาพ เช่น ปืนเด็กเล่น ไม่ใช่อาวุธปืนตามความหมายของกฎหมาย ตามกฎหมายเรียกว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน"
ปืน ที่ใช้ยิงไม่ได้ เช่น ชำรุด ถือเป็น ส่วนหนึ่งของอาวุธปืน แต่พลุ สะดุดส่องแสง แบบเอ็ม ๔๙ Al ไม่มีสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืน และไม่มี สภาพเป็นอาวุธ แต่ถ้ามีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็มีความผิดเช่นกัน
ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนตามกฎหมายให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น
๑) ลำกล้อง
๒) เครื่องลูกเลื่อน หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลูกเลื่อน
๓) เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก
๔) เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุน หรือส่วนประกอบสำคัญของ สิ่งเหล่านี้ แต่พานท้ายปืน
สายสะพาย ไม้ประดับด้ามปืน ไม่ใช่อาวุธปืน

๒. การขออนุญาต

ประชาชน จะมีและใช้อาวุธปืนต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน สำหรับ คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ยื่นคำร้องขอที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำหรับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่

การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนต้องขอเพื่อ
- ป้องกันตัวหรือทรัพย์สินของตน
- สำหรับใช้ในการกีฬาหรือล่าสัตว์

๓. ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน

การกระทำผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนเหล่านี้ ได้แก่
๑) ทำ โดยมิได้รับอนุญาต
๒) ซื้อ โดยมิได้รับอนุญาต
๓) มี โดยมิได้รับอนุญาต
๔) ใช้ โดยมิได้รับอนุญาต
๕) สั่ง เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
๖) นำ เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
ความผิดทั้ง ๖ ประการ ถ้าเป็นเพียง
เกี่ยวกับ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน หรือ "มีกระสุนปืน" ก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ครอบครองอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่ง
ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายก็มีความผิดเช่นกัน
คำว่า "มีอาวุธปืน" หมายถึง มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง
"มีกรรมสิทธิ์" หมายถึง เป็นเจ้าของอาวุธปืน
มีไว้ในครอบครอง หมายถึง ยึดถืออาวุธปืนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน
"ยึดถือ" หมายถึง กิริยาที่รับ ถือ หรือเอามารักษาไว้
"ยึด ถือเพื่อตน" หมายถึง กิริยาที่จับ ถือ หรือเอาอาวุธปืนมา รักษาไว้ในลักษณะที่แสดงอาการหวง การยึดถือเพื่อตนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการยึดถือไว้โดยเป็นเจ้าของเสมอไป

การรับฝากปืนจากผู้อื่นในระยะเวลาอันสั้น หรือการเอาปืนของผู้อื่น มาถือไว้ชั่วขณะ ไม่ถือว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง

๔. การครอบครองปืนของผู้อื่น

การครอบครองปืนของผู้อื่นที่ไม่ผิดกฎหมายมี ๓ กรณี คือ
(๑) ผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้อื่น เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาอาวุธนั้นมิให้สูญหาย และผู้ครอบครองนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ที่จะมี และใช้อาวุธปืนได้ เช่น
- บิดานายดำ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมา บิดานายดำตาย นายดำจึงครอบครองอาวุธปืนนั้น เพื่อรอแจ้งการตายภาย ในกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบการตาย และขอรับมรดกของบิดา ดังนี้ นายดำไม่มีความผิด
- นาย ก เป็นผู้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมานาย ก วิกลจริต นาง ข ภริยาของ
นาย ก จึงครอบครองอาวุธปืนของนาย ก เพื่อ รอส่งมอบอาวุธปืนและใบอนุญาตแก่นายทะเบียน นางข ไม่มีความผิด
- เก็บอาวุธปืนมีทะเบียนได้ตั้งใจว่าจะนำไปมอบให้นาย ทะเบียน ก็ถูกจับก่อน ดังนี้ไม่มีความผิด แต่ถ้าผู้เก็บอายุแค่ ๑๕ ปี (ยังมี อาวุธปืนไม่ได้) หรือปืนที่เก็บได้เป็นปืนเถื่อน ดังนี้ถ้าผู้เก็บได้เอามาใช้ก็มีความผิดด้วย
(๒) ครอบครองอาวุธปืนของราชการทหาร และตำรวจ และของ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
(๓) ครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล
รถไฟ และอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจสอบตามกฎหมายแล้ว
หมายเหตุ ควรสังเกตว่ากฎหมายยกเว้นให้แต่อาวุธปืนของทางราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจ มิได้ยกเว้นแก่ตัวราชการ หรือพนักงาน รัฐวิสาหกิจ

๕. การพกพาอาวุธปืน

กฎหมายห้ามมิให้บุคคลพกพา
อาวุธ ปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็น กรณีมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เชนถือ ปืนติดตามคนร้าย หรือไฟไหม้บ้านต้องขนของและปืนหนีออกจากบ้าน หรือ ต้องพกปืนเพื่อป้องกันตัว เพราะนำเงินจำนวนมากติดตัวไปต่างจังหวัด เป็นต้น
แต่ มีขอสังเกตว่า ไม่ว่าในกรณีใดกฎหมายห้ามเด็ดขาด มิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพหรือการอื่นใด หมายความว่าถึงแม้จะมีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ติดตัวก็ตาม ก็ไม่สามารถพกพาอาวุธปืนโดยเป”ดเผย หรือพาไปในชุมนุมชน ที่จัดให้มีขึ้น เพื่อการดังกล่าว แต่กฎหมายไม่ห้ามสำหรับเจ้าพนักงานผู้มี
หน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หรือประชาชนผู้ได้รับมอบหมายให้มีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือ
ราชการ และมีเหตุจำเป็นต้องมีและใช้อาวุธปืน ในการนั้น
สำหรับผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้พกพาในกรุงเทพฯ คือ อธิบดีกรมตำรวจ ในต่างจังหวัดคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

๖. การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ

ผู้ ใดประสงค์จะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็ต้องขออนุญาตด้วย การเก็บใน ที่นี้หมายถึงการมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น เช่น การเก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นต้น

การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ

"การเก็บ" ในที่นี้หมายถึง การมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น เช่น การ เก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นต้น ซึ่งผู้ใดที่ต้องการจะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็จำเป็น จะต้องขออนุญาตจากทางราชการด้วย โดยผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ไปขอใบอนุญาตมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ ณ กรมการปกครอง ส่วน คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นขอใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่

ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ จะออกให้แก่อาวุธปืนดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ

๑) อาวุธปืนที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้
๒) อาวุธปืนแบบพ้นสมัย เช่น ปืนที่ใช้ในสมัยโบราณ, ปืนที่เป็นของเก่าแก่
๓) อาวุธปืนที่เป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการเพราะฉะนั้นถ้าเป็น อาวุธปืนประเภทอื่น ๆนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนอกจากนี้ แล้วกฎหมายยังมีข้อห้าม เกี่ยวกับอาวุธปืนที่มีไว้เพื่อเก็บอีกด้วย คือ๑) ห้ามมิให้ยิงอาวุธปืนนั้
๒) ห้ามมิให้มีเครื่องกระสุนที่จะใช้สำหรับอาวุธปืนที่
จะมีไว้เพื่อเก็บ
หมายเหตุ ผู้ใดที่มีอาวุธไว้เพื่อเก็บโดยมิได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิดต้อง ได้รับโทษตามกฎหมาย

๗. การขออนุญาต

การ ที่ประชาชนจะมีหรือใช้อาวุธปืนได้โดยถูกกฎหมายนั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาต จากทางราชการก่อน ซึ่งเมื่อทางราชการอนุญาตแล้ว ก็จะได้ออกใบอนุญาตให้ไป ใบอนุญาตที่เกี่ยวกับอาวุธปืนที่สำคัญ
ได้แก่

(๑) ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล
(แบบ ป.๓)
(๒) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.๔)มี ๒ ประเภทด้วยกัน ได้แก่
๑) ใบอนุญาตแบบชั่วคราว มีอายุ ๖ เดือนนับแต่วันที่ออก ใบอนุญาตนั้น
๒) ใบอนุญาตแบบถาวร ใช้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ยังเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้นอยู่

- สถานที่ในการขออนุญาต สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนณ กรมการปกครอง ส่วนผี่มี ภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่

เมื่อ ได้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตต่อทางราชการแล้ว นายทะเบียนก็จะ พิจารณาว่าควรจะออกใบอนุญาตให้ผู้ขอหรือไม่ ซึ่งมีข้อสังเกตที่สำคัญ ๆ ดังนี้

(๑) ในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น จะออกให้ได้ใน ๓ กรณีเท่านั้น คือ
๑) เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองและทรัพย์สิน
๒) เพื่อใช้ในการเล่นกีฬา
๓) เพื่อใช้ในการยิงล่าสัตว์

ถ้าไม่เข้ากรณีใดกรณีหนึ่งในสามกรณีนี้ทางราชการมักจะไม่ ออกใบอนุญาตให้
(๒) ใบอนุญาตหนึ่งใบจะออกให้สำหรับอาวุธปืนหนึ่งกระบอกเท่านั้น
(๓) ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้ ให้แก่อาวุธที่เป็น อาวุธสงคราม
(๔) ผู้ที่จะขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนได้นั้นจะต้องเป็นบุคคล ที่ไม่มีคุณ
สมบัติ ต้องห้ามตามกฎหมาย อาทิเช่น บุคคลผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ(อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์) บุคคลที่เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ (คนวิกลจริต.คนจิตฟั่นเฟือน), บุคคลที่ไม่มีอาชีพ และรายได้ คนจรจัด บุคคลผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนอกจากนี้ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้ แก่บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่บุคคลนั้น ขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน

- ขั้นตอนในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน ในขั้นแรกนาย ทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธ (แบบ ป.๓) และใบอนุญาต ให้มีหรือใช้อาวุธปืนแบบชั่วคราว (แบบ ป.๔ ชั่วคราว) ให้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อ ที่จะได้ให้ผู้ขออนุญาตไปจัดการหาซื้ออาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนมาให้ พร้อมเสียก่อนโดยไม่ผิดกฎหมาย จากนั้นให้ผู้ขออนุญาตนำอาวุธปืนดังกล่าว ไปให้นายทะเบียนตรวจสอบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่จัดหามานั้น มีชนิดและขนาดตรงตามที่ระบุไว้ในแบบ ป.๓ และ ป.๔ ชั่วคราวหรือไม่ ถ้า ตรง
นาย ทะเบียนก็จะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนอย่างถาวร (แบบ ป.๔ ถาวร) ต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องนำเอาอาวุธปืนไปให้นายทะเบียนตรวจสอบ ภายในกำหนด ๖ เดือนนับแต่วันที่
ได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ ถ้าเกินกำหนด ๖ เดือนดังกล่าวไป ต้องถือว่าผู้ขออนุญาตนั้นมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

หมายเหตุ
กรณีที่ซื้ออาวุธปืนจากเจ้าของที่ได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ซื้อจะต้อง
ไป ขอรับใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนนั้นจากนายทะเบียนก่อน จากนั้นให้ผู้ขอซื้อนำใบอนุญาตให้ซื้อไปขอรับปืนจากผู้ขายได้เลย หรือจะไปหานายทะเบียนพร้อมกันทั้งผู้ซื้อและเจ้าของปืน ซึ่ง นายทะเบียนก็จะทำการออกแบบ ป.๔ ให้ผู้ซื้อต่อไป

๘. การโอนอาวุธปืน
กฎหมาย ห้ามมิให้โอนอาวุธปืนให้แก่บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน แม้ผู้โอนจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนได้ แต่ถ้า โอนอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตผู้โอนจะมีความผิด
"การโอน" หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์อาวุธปืนของตนให้ผู้อื่นเป็น เจ้าของ

การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก

ในกรณีที่เจ้าของอาวุธปืนซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว
ถึง แก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้ทายาทของผู้ตาย หรือ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน หรือใบอนุญาตให้มี หรือใช้อาวุธปืนของผู้ตาย ไปแจ้งการตาย ของเจ้าของปืนให้นายทะเบียนทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่รู้ถึงการตาย ของผู้ตาย ถ้าไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
สำหรับนายทะเบียนที่จะไปแจ้งการตายดังกล่าวได้ ได้แก่
๑) นายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น
๒) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่
๓) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้แจ้งการตายมีภูมิลำเนาอยู่
เมื่อ ได้แจ้งการตายต่อนายทะเบียนแล้ว ให้ทายาทผู้ได้รับอาวุธซึ่งเป็น มรดกของผู้ตาย ไปติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๖ เดือน นับแต่วัน ที่ผู้ตาย (เจ้าของปืน)ถึงแก่ความตาย เพื่อขอรับใบอนุญาตใหม่ ทั้งนี้ เพราะ ถึงแม้ว่าทายาทจะได้กรรมสิทธิ์ใบอาวุธปืนนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าเป็นการ มีอาวุธไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ เพื่อขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน(แบบ ป.๔) ซึ่งทางราชการก็จะพิจารณาว่า ทายาทหรือผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะได้จัดการออกใบอนุญาตให้ต่อไป

๙. กรณีต้องแจ้งนายทะเบียน
(๑) อาวุธปืนหายหรือถูกทำลายต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน
(๒) ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ต้องขอใบอนุญาตแทน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบเหตุการณ์สูญหาย หรือถูกทำลาย
(๓) ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตาย ทายาทต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบวันตายของผู้ได้รับใบอนุญาต มิฉะนั้นมีความผิด
(๔) ผู้ได้รับใบอนุญาต ย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนภาย ใน ๑๕ วันนับแต่วันย้าย โดยต้องแจ้ง ๒ ที่คือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ ย้ายออกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก และแจ้งต่อนายทะเบียนที่ย้ายเข้า ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้า ใครไม่แจ้งมีความผิด
(๕) ผู้ได้รับใบอนุญาต หากกลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิรับใบอนุญาตใน ภายหลัง เช่นกลายเป็นคนวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ ต้องคืนอาวุธ ปืนและใบอนุญาตต่อนายทะเบียนโดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมีความผิด
(๖) ผู้ใดนำอาวุธปืนมาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบอาวุธปืนแก่ พนักงานศุลกากร หรือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมี ความผิด

๑๐. การเพิกถอนใบอนุญาต
นาย ทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ถ้าออกให้โดยหลงผิด หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นคนเคยต้องโทษมาก่อน เป็นต้น เมื่อเพิกถอนแล้วผู้รับอนุญาตต้องมอบปืนและใบอนุญาตคืนแก่นายทะเบียนโดยไม่ ชักช้า
อนึ่ง การใหผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือการใช้ใบอนุญาตของผู้อื่น มีโทษ ถึงจำคุก

0 ความคิดเห็น

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับผู้จะขาย

                                      สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
                                                   ฉบับผู้จะขาย
                                                     (ตัวอย่าง)
สัญญานี้ทำาขึ้นที่………………………………………………………………………
เมื่อวันที่……………เดือน…………………………. พ.ศ………………………ระหว่าง
ก. นาย/นาง/นางสาวบริษัท…………………………………………จำากัด โดยผู้มีอำานาจ
ลงนามท้ายสัญญา อายุ...........ปี อยู่บ้านเลขที่/สำานักงานเลขที่…………………...หมู่..........ตรอก/ซอย
…………………….ถนน………………………….ตำาบล/แขวง……………………… อำาเภอ/
เขต………………………….. จังหวัด................................. ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้จะขาย” ฝ่ายหนึ่ง
กับ
ข. นาย/นาง/นางสาวบริษัท……………………………………..จำากัด โดยผู้มีอำานาจลง
นามท้ายสัญญา อายุ………..ปี อยู่บ้านเลขที่/สำานักงานเลขที่........................ หมู่……… ตรอก/
ซ อ ย … … … … … … … … … … … ถ น น … … … … … … … … … … … ตำา บ ล /
แขวง…………………………อำาเภอ/เขต………………………จังหวัด……………………รหัส
ไปรษณีย์…………… ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้จะซื้อ” อีกฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงทำาสัญญากัน โดยมีข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ 1. วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญา
ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โฉนดเลข
ที่…………เลขที่ดิน……………….เนื้อที่ดิน…………………….ตารางวา และสิ่งปลูกสร้างแบบ
บ้าน…………………จำานวน………………หลัง รายละเอียดปรากฏตามแผนผังแบบแปลงและโฉนด
ที่ดินแนบท้ายสัญญา และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ที่ดินพร้อมสิ่งปลูก
สร้าง”
ข้อ2. ราคา และการชำาระราคา
ทั้งสองฝ่ายตกลงราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญา เป็นเงินจำานวน……………
บาท (…………………………………………………….) โดยผู้จะซื้อตกลงแบ่งชำาระราคาให้แก่ผู้จะ
ขาย ณ สำานักงานขาย หรือสถานที่ที่ผู้จะขายกำาหนด ดังนี้
2.1 ในวันทำาสัญญานี้ ชำาระเงินมัดจำา จำานวน………………………….บาท
(……………………………………………)
2.2 ชำาระเงินดาวน์จำานวน…………………บาท(………………………….)
โดยแบ่งชำาระเป็น……งวดๆละเดือนๆละ………………….บาท(……………………………….)
2.3 ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหลืออีกทั้งหมดจำานวน………………
บาท (…………………………………………) ชำาระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่ง
ปลูกสร้างตามข้อ 3.
ข้อ3. การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ทั้งสองฝ่ายตกลงจะไปดำาเนินการจดทะเบียนโอนและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ณ สำานักงานที่ดินจังหวัด……………………………….ตามวันและเวลาที่ผู้จะ
ขายกำาหนด โดยผู้จะขายจะแจ้งให้ผู้จะซื้อทราบเป็นหนังสือล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน หากผู้จะซื้อ
ผิดนัดไม่มาดำาเนินการภายในกำาหนดเวลาดังกล่าว ผู้จะขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ริบเงินมัดจำาที่ผู้จะ
ซื้อได้ชำาระไว้แล้วทั้งหมด พร้อมเรียกค่าเสียหายจากผู้จะซื้อได้ทันที
บรรดาค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูก
สร้างตามวรรคแรก ผู้จะซื้อตกลงเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และหรืออากร
แสตมป์(ถ้ามี) ผู้จะขายตกลงเป็นผู้รับผิดชอบ
ข้อ 4. การส่งมอบและการรับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้จะขายจะส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้จะซื้อภายใน………วัน
ก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามข้อ 3. โดยผู้จะขายจะแจ้งให้ผู้จะซื้อทราบล่วงหน้า ซึ่ง
เมื่อผู้จะซื้อได้เข้ามาตรวจสอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว เห็นว่าถูกต้องตามสัญญานี้ ผู้จะซื้อตกลง
เข้าทำาการรับมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ผู้จะขายกำาหนดทุกประการ
ข้อ 5.การโอนสิทธิตามสัญญา
ในระหว่างที่สัญญานี้มีผลใช้บังคับ ผู้จะซื้อสัญญาว่า จะไม่โอนสิทธิตาม
สัญญานี้ ให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้จะขาย
อนึ่ง หากมีการโอนสิทธิตามสัญญา ผู้จะซื้อตกลงจ่ายค่าธรรมเนียมในการ
โอนสิทธิให้แก่ผู้จะขายในอัตราครั้งละ…………………บาท (……………………………………)
และผู้จะซื้อจะต้องจัดให้ผู้รับโอนรับไปซึ่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามสัญญานี้ และหรือ
สัญญาที่ผู้จะขายกำาหนดด้วย
ข้อ 6. การผิดนัดผิดสัญญาและความระงับสิ้นไปของสัญญา
6.1ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ถือว่าวันเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
ตามข้อ 3. เป็นสาระสำาคัญของสัญญานี้ หากฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญาข้อนี้ ให้อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอก
เลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
6.2 ในกรณีผู้จะซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้จะขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ริบเงินที่ผู้จะซื้อได้ชำาระแล้วทั้งหมด และเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญา
ข้อ 7 ข้อตกลงอื่นๆ
7.1 หากกรณีที่คู่สัญญาที่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยต่อกัน ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ใช้อัตรา
ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
7.2. การผ่อนผัน ผ่อนเวลา หรือละเว้นการใช้สิทธิใดๆของผู้จะขายที่มีอยู่กับผู้
จะซื้อตามสัญญานี้ ไม่ถือว่า ผู้จะซื้อสละสิทธิประโยชน์ในข้อสัญญาดังกล่าวกับผู้จะขายแต่อย่างใด
7.3 การบอกกล่าวทวงถาม หรือส่งเอกสารใดๆ อันพึงมีไปยังคู่สัญญาอีกฝ่าย
หนึ่งตามภูมิลำาเนาที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ และคู่สัญญาอีกฝ่ายได้รับทราบ
แล้วในวันที่คำาบอกกล่าว หรือเอกสารนั้นๆ พึงไปถึงตามปกติ
สัญญานี้ทำาขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน ทั้งสองฝ่ายได้ทราบและเข้าใจ
ข้อความในสัญญาโดยตลอดดีแล้ว เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนาของตน จึงลงลายมือชื่อ และประทับ
ตรา (ถ้ามี) ไว้เป็นสำาคัญต่อหน้าพยาน และต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
ลงชื่อ……………………………………..………ผู้จะซื้อ
( )
ลงชื่อ…………………………………..………ผู้จะขาย
( )
ลงชื่อ……………………………………..………พยาน
( )
ลงชื่อ…………………………………..………พยาน
( )

0 ความคิดเห็น

สัญญาจำนำ

จำนำเป็นสัญญาระหว่างผู้จำนำกับผู้รับจำนำ ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ผู้จำนำอาจเป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่ ก็ได้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนำจะฟ้องให้ผู้จำนำซึ่งเป็นบุคคลที่สามชำระหนี้ไม่ได้ ได้แต่บังคับจำนำเอทรัพย์สินที่จำนำขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล เมื่อขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ผู้จำนำซึ่งเป็นบุคคลที่สามไม่ต้องรับผิดชอบอีกต่อไป แต่ลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดในหนี้ที่ยังเหลืออยู่ สัญญาจำนำไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อสำคัญจะต้องส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำ เมื่อ สัญญาจำนำเกิดขึ้นแล้วต่อเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบ ครองของผู้จำนำไม่ว่าจะยอมกันด้วยวาจาหรือมีการทำสัญญาเช่าทรัพย์ ก็มีผลทำให้สัญญาจำนำระงับ ผู้จำนำไม่ต้องรับผิดอีกต่อไป แต่ลูกหนี้ยังคงรับผิดตามมูลหนี้ประธาน
ลักษณะของสัญญาจำนำ
มาตรา ๗๔๗ บัญญัติ อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าจำนำมีลักษณะ คือ
ทรัพย์สินที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากกฎหมายใช้คำว่า ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง ดังนั้นทรัพย์สินที่จำนำได้จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อะไรเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๔๐ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะเอามาจำนำไม่ได้ สำหรับ สังหาริมทรัพย์บางประเภท เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ จำนำได้โดยไม่ต้องมีตั๋วรูปพรรณ ถ้าสัตว์พาหนะดังกล่าวมีตั๋วรูปพรรณแล้ว หรือเครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน กรรมสิทธ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรแล้วสามารถนำมาจำนำได้ และจำนองได้ด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๓/๒๕๓๑ ทรัพย์สินที่จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์และแผงซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๐๐ (เดิม) จึงไม่อาจจำนำได้ (ปัจจุบัน สิทธิการเช่าสามารถจำนำได้ตามมาตรา ๑๔๐)
คำว่า สังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง ตามมาตรา ๗๔๗ นี้ ไม่ ได้หมายว่าสัญญาจำนำสัญญาหนึ่งหรือการจำนำประกันหนี้อย่างหนึ่งจะใช้ ทรัพย์สินที่จำนำได้เพียงสิ่งเดียวอจจะจำนำสังหาริมทรัพย์หลายสิ่งหรือหลาย ชิ้นเพียงจำนวนเดียวก็ได้
ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำนำเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคล ฝ่าย คือ ผู้จำนำนำ และ ผู้รับจำนำกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องได้ ดังนั้น การจำนำจะต้องตกลงเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ ข้อสำคัญจะต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แกผู้รับจำนำ และการส่งมอบนั้นกระทำโดยเจตนาเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม