JOB Ratchakarn
ทรัพย์สินทางปัญญา
เขียนโดย small ที่ 05:47
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ
(1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ
(2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่
(1)สิทธิบัตร
(2) เครื่องหมายการค้า
(3) แบบผังภูมิของวงจรรวม
(4) ความลับทางการค้า และ
5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
(1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ
(2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่
(1)สิทธิบัตร
(2) เครื่องหมายการค้า
(3) แบบผังภูมิของวงจรรวม
(4) ความลับทางการค้า และ
5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน
เขียนโดย small ที่ 05:40
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน มีลักษณะการใช้บังคับดังนี้ |
- ต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งกฎหมายอาญาจะต้องมีบทบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยบัญญัติความผิดและโทษไว้ในขณะกระทำ และบทบัญญัตินั้นต้องชัดเจนปราศจากการคลุมเครือมิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลโดยตรง ฉะนั้น ลักษณะการใช้บังคับกฎหมายอาญาจึงถือหลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ไม่มีกฎหมาย โดยเคร่งครัด - ต้องตีความโดยเคร่งครัดบางกรณีการตีความตามตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่อาจทำเข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย นอกจากนี้ การตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดดังกล่าว มีความหมายเฉพาะการเคร่งครัดในด้านที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำเท่านั้น มิใช่ในทางที่จะเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ในการตีความกฎหมายอาญานั้น จะนำหลักการเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง มาใช้บังคับให้เป็นผลร้ายแก่ผู้กระทำมิได้ หลักการเทียบเคียงนั้น ใช้เฉพาะในกฎหมายแพ่งดังที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 อย่างไรก็ดีหลักการเทียบเคียงดังกล่าวอาจนำมาใช้เพื่อเป็นคุณหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้กระทำได้ - ย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้ แต่หากการใช้บังคับกฎหมายอาญาย้อนหลังแล้วเกิดผลดีแก่ผู้กระทำผิดนั้นสามารถใช้บังคับได้ กรณี คือ 1. กรณีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเก่า 2. กรณีกฎหมายใหม่แตกต่างจากกฎหมายเก่า ความรับผิดทางอาญา ในการรับผิดทางอาญา ต้องมีครบทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบภายนอก 2. องค์ประกอบภายใน ข้อสังเกต มีเพียงบางความผิดเท่านั้น ที่ต้องรับผิดแม้ไม่ครบองค์ประกอบ กล่าวคือ มีแต่องค์ประกอบภายนอกเท่านั้น ก็ถือเป็นความผิด (รายละเอียดขอให้ติดตามในเนื้อหา) 1. องค์ประกอบภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอกของความผิดแต่ละฐาน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย (มาตรา 288) จะประกอบด้วย ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ คือ 1. ผู้ใด 2.ฆ่า 3.ผู้อื่น
2. องค์ประกอบภายใน
1. เจตนา พอแบ่งได้ 2 ความหมายคือ
1.1 เจตนาประสงค์ต่อผล หมายความว่า มุ่งหมายหรือประสงค์ต่อผลโดยตรง ในความผิดต่อชีวิต และความผิดต่อร่างกาย ในการวินิจฉัยต้องใช้หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาเป็นแนวทางในการพิจารณา เช่น ถ้าผู้กระทำใช้ปืนยิงไปที่ผู้เสียหาย โดยยิงไปที่อวัยวะสำคัญ ๆ ต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายตาย แต่ถ้าใช้มีดเล็กๆ แทงทีเดียวในเวลาค่ำมืด ขณะที่มองเห็นไม่ถนัด อาจต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายต่ออันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายเท่านั้นก็ได้
1.2 เจตนาเล็งเห็นผล หมายความว่า ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผลแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลอย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นเดียวกับผู้กระทำโดยปกติเล็งเห็นได้ในการวินิจฉัยนั้น ให้พิจารณาถึงเรื่องประสงค์ต่อผลก่อน หากพิจารณาเห็นว่าผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล จึงค่อยมาพิจารณาต่อไปว่าผู้กระทำเล็งเห็นผลหรือไม่ เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลก็มีผลทางกฎหมายอย่างเดียวกันกล่าวคือ ถ้าเป็นเจตนาฆ่าประเภทประสงค์ต่อผล ผู้กระทำก็ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามปอ. มาตรา 288 ถ้าเป็นเจตนาฆ่าประเภทเล็งเห็นผล ผู้กระทำก็ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตาม ปอ. มาตรา 288 เช่นเดียวกัน
2. เจตนาพิเศษ
เจตนาพิเศษ คือ มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิด เจตนาพิเศษเป็นคนละกรณีกับเจตนาธรรมดา เจตนาธรรมดาคือประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ความผิดใดกฎหมายต้องเจตนาพิเศษ ก็จะบัญญัติถ้อยคำที่แสดงว่าเป็นเจตนาพิเศษไว้ในองค์ประกอบของความผิดนั้น ๆ โดยตรง เช่น คำว่า โดยทุจริต ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษของความผิดฐานลักทรัพย์(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334) คำว่า เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เป็นเจตนาพิเศษของความผิดฐานปลอมเอกสาร(มาตรา 264) ในการพิจารณาถ้อยคำนั้น ๆ เป็นเจตนาพิเศษหรือไม่ให้สังเกตที่คำว่า เพื่อ………..หรือคำว่า โดยทุจริต เป็นต้น ความผิดที่กฎหมายต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานปลอมเอกสาร(มาตรา 264) หากผู้กระทำมีแต่เจตนาธรรมดา เช่น ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเท่านั้น ผู้กระทำก็ยังไม่มีความผิด โดยถือว่าขาดองค์ประกอบภายใน แต่ถ้าความผิดมาตรา นั้น ๆ กฎหมายไม่ต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม มาตรา 288 เพียงแต่ผู้กระทำมีเจตนาธรรมดา กล่าวคือ ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ผู้กระทำก็มีความผิดแล้ว
3. ประมาท
การกระทำโดยประมาท ตามปอ. มาตรา 59 วรรค 4 มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. มิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา
2. กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
3. ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...