Recent Posts

Posts RSS

การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4)

การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4)
ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนการดำเนินการตามมาตรา 134/1-3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้
- กล่าวคือศาลจะรับฟังถ้อยคำในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาได้นั้น จะต้องมีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง และดำเนินการตามมาตรา 134/1-3 ก่อนแล้ว
- กรแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ก่อนการถามคำให้การของผู้ต้องหา ต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่าผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้ (มาตรา 134/4(1)) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้ใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ ( มาตรา 134/1(2))
- ตามมาตรา 134/4 (1) คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่จะนำไปเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ต้องเป็นการสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสองสวนต้องบอกจำเลย(ผู้ต้องหา) ว่าถ้อยคำที่ให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ดังนี้ คำให้การของผู้ต้องหาในฐานะพยาน จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ (ฎ. 3281/33) เรื่องนี้พนักงานสอบสวน สอบสวนจำเลยเป็นพยาน แต่ได้นำคำให้การดังกล่าวมาใช้ยันในการพิจารณาคดีชั้นศาลว่าจำเลยกระทำผิด จึงเป็นการมิชอบ แม้คำให้การดังกล่าวจะเป็นคำรับที่ปรักปรำและเป็นผลร้ายต่อตนเอง ก็รับฟังไม่ได้ เพราะขัดต่อ มาตรา 226 หรือกรณีก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมหรือแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนได้สอบสวน จำเลยนั้นในฐานะพยาน กรณีเช่นนี้จะนำคำให้การดังกล่าวมายันในชั้นพิจารณาไม่ได้ (ฎ. 1106/06, 148/36)
- มาตรา 134/1 ต้องสอบผู้ต้องหาในเรื่องทนายความก่อนถามคำให้การ
- มาตรา 134/2 การดำเนินการสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี
- มาตรา 314/3 การให้ทนายความหรือผู้ซึ่งผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหา
กรณีไม่ปฎิบัติตาม มาตรา 134/1-3 มีผลทำให้ไม่อาจนำถ้อยคำของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนดังกล่าว มารับฟังพิสูจน์ความผิดในชั้นศาลได้ แต่ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนในคดีนั้นทั้งคดีเสียไป อันจะทำให้อัยการไม่มีอำนาจฟ้องแต่อย่างใด
- นอกจากนั้นพนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบด้วย ทั้งนี้ตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง
- กรณีตามมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง การสอบปากคำเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี ในฐานะผู้เสียหายหรือผู้เสียหาย ก็ต้องจัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสงคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ เข้าร่วมด้วย ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วม ศาลไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กเป็นพยานหลักฐานได้ ตามมาตรา 133 ทวิ ประกอบมาตรา 226 (ฎ. 4209/48, 3541/49) นอกจากนี้การสอบปากคำเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ในฐานะผู้ต้องหา ก็ต้องจัดให้มีสหวิชาชีพดังกล่าวเข้าร่วมเช่นกัน หากไม่มีจะรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของจำเลยเด็ก ไม่ได้เช่นกัน
หมายเหตุ มาตรา 133 ทวิ แก้ไขใหม่ ได้กำหนดฐานความผิดไว้ ด้วยได้แก่
1. ความผิด ป.อาญา ได้แก่ เกี่ยวกับเพศ ต่อเสรีภาพ ต่อชีวิตร่างกายที่ไม่ใช่ชุลมุนต่อสู้ กรรโชก ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
2. ความผิดตาม กำหมายเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ., การค้าหญิงและเด็ก , ความผิดตามกำหมายว่าด้วยสถานบริการ
3. ความผิดที่มีโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหาย หรือพยาน ที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ
กรณีดังกล่าวนี้ การสอบปากคำเด็ก ในฐานะผู้เสียหาย พยาน ให้แยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสม และก็ต้องจัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสงคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ ร่วมอยู่ด้วยมรการถามปากคำเด็กนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง และมีเหตุอันควร ไม่อาจรอ บุคคลดังกล่าวได้ ให้พนักงานสอบสวนบันทึกปากคำเด็ก แต่ก็ต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งร่วมอยู่ด้วย และบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวไว้ ด้วย จึงเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีการสอบปากคำผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ปฎิบัติดังนี้
1. นำมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับ โดยการสอบสวนปากคำทำเป็นสัดส่วน มีสหวิชาชีพ
2. ต้องจัดให้มีทนายความตามมาตรา 134/1
3. แจ้งสิทธิ ตามมาตรา 134/4(1) ว่ามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้ฯ ถ้าให้การคำให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
4. ตามข้อ 1 ให้บันทึกภาพและเสียง ในการสอบปากคำ
พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ ( มาตรา 226/1)
- โปรดดูตัวบท แต่ก็สรุปได้ว่า พยานหลักฐานใดที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจาการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้น หรือได้มา โดยมิชอบ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมอย่างมาก ฯ แต่ก็ต้องพิจารณาถึง คุณค่า ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ด้วย
- ของกลางที่ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ รับฟังไม่ได้ เช่นการค้นที่มิได้กระทำต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ หรือบุคคลในครอบครัว ฯ กรณีการเชิญบุคคลอื่นมาเป็นพยานในการค้น ต้องเชิญมาในขณะตรวจค้นพบของกลาง ถ้าเชิญมาหลังตรวจค้นแล้ว ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ( ฎ. 4793/49) กรณีการค้นโดยไม่มีหมายค้น หรือไม่ชอบนี้ ต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่มีผลทำให้การสอบสวนเสียไป (ฎ. 5144/4 อย่างไรก็ตามเมื่อ แม้เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ ( มีอยู่จริง) แต่ก็ ได้มาโดยไม่ชอบแล้ว ตามมาตรา 226/1 ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวไม่ได้

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม