Recent Posts

Posts RSS

สหภาพแรงาน

การตั้งสหภาพแรงงาน ฯ
แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.86
 
บทบาทหน้าที่ของสหภาพแรงงาน ฯ หรือคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                - เรียกร้อง   เจรจา ทำความตกลง และรับทราบตำชี้ขาดหรือทำข้อตกลงกับนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างในกิจการของสมาชิกได้
                - จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์   ภายใต้วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน
                - จัดให้บริการสารสนเทศให้สมาชิก เกี่ยวกับการจัดหางาน
                -   ให้คำปรึกษา   เพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารและการทำงาน
                - ให้บริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิก 
                -  เรียกเก็บค่าสมัครสมาชิกและเงินค่าบำรุง ตามข้อบังคับสหภาพแรงงาน
 
 
สิทธิการลากรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                -    ลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา
                -    การไกล่เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
                -   ลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด     - แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงสาเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง   พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
                -   ถือว่าเป็นวันทำงาน
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
 
-          ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้ง
-          ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
-          ให้คำปรึกษา เสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
-          ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้
-          เสนอข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการ
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการลูกจ้าง
 
                - ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้งหรือเมื่อคณะกรรมการลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งร้องขอ   เพื่อ
                - จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
                - ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงาน เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง
                - พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
                - หาทางปรองดอง ระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ

0 ความคิดเห็น

กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

กรรมการลูกจ้าง  กับกรรมการสหภาพแรงงาน   อาจมีที่มาแตกต่างกัน  แต่มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย
เหมือนกัน  คือ การเป็นตัวแทนลูกจ้างในการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
           
กรรมการลูกจ้าง

               กรรมการลูกจ้าง  มีที่มาจาก พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘  มาตรา ๔๕  กำหนดไว้ว่า                  

“ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้
               ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น  สมาชิกของสหภาพแรงงาน
ให้คณะกรรมการลูกจ้างประกอบด้วยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นั้นที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่
มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หนึ่งคน     ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น
สมาชิก ของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้
                   ให้นำมาตรา 15 วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ตามวรรคสองโดยอนุโลม”
องค์ประกอบคือ  

                 ๑)    สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  ๕๐  คน  ขึ้นไป

             ๒)    หากมีสหภาพแรงงาน  ที่มีสมาชิกเกิน หนึ่งในห้า   ของลูกจ้างทั้งหมด  สหภาพแรงงานแต่งตั้ง
                    กรรมการลูกจ้างได้เกินกึ่ง (ครึ่งหนึ่ง) ของคณะกรรมการลูกจ้างทั้งหมด  ๑  คน
             ๓)   หากสหภาพแรงงานมีสมาชิกเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด   สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการ
                   ลูกจ้างได้ทั้งคณะ

             จำนวนกรรมการลูกจ้าง   มีได้กี่คนในสถานประกอบการ   พิจารณาจาก  จำนวนลูกจ้างที่มีอยู่ ณ.ขณะแต่งตั้ง
หรือเลือกตั้งแล้วแต่กรณี  ตามมาตรา ๔๖   สรุปได้ คือ
                ลูกจ้าง     ๕๐ ถึง  ๑๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๕  คน
                ลูกจ้าง  ๑๐๑  ถึง ๒๐๐        มีกรรมการลูกจ้างได้  ๗  คน

                ลูกจ้าง  ๒๐๑  ถึง ๔๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๙  คน

                ลูกจ้าง  ๔๐๑ ถึง  ๘๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๑  คน

                ลูกจ้าง  ๘๐๑ ถึง ๑,๕๐๐     มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๓  คน

                ลูกจ้าง  ๑,๕๐๑ ถึง ๒,๕๐๐   มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๕  คน

                ลูกจ้างเกิน ๒,๕๐๐ คนขึ้นไป  มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๗ ถึง ๒๑  คน



กรรมการลูกจ้าง  มีบทบาท  หน้าที่อย่างไร  
เป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา ๕๐  สรุปได้ คือ
ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อหนึ่งครั้ง  เพื่อ
               (1)  จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
               (2)  ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง
               (3)  พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
               (4)  หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ
               (5)  ร้องขอต่อศาลแรงงานให้วินิจฉัย  กรณี เห็นว่านายจ้างการกระทำการใด ๆ อันทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับ
                    ความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร


กรรมการลูกจ้างกระทำความผิด    ลงโทษได้หรือไม่


                กรรมการลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์  มาตรา ๕๒   “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง

ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถ
ทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน”
             ดังนั้น   หากจะลงโทษกรรมการลูกจ้าง  ไม่ว่าจะตักเตือนเป็นหนังสือ  พักงาน  หรือเลิกจ้าง ต้องรับอนุญาต
จากศาลก่อน    ในทางปฏิบัติต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงาน   ขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อนจึงจะสามารถลงโทษได้   

กรรมการสหภาพแรงงาน
              กรรมการสหภาพแรงงาน  มีที่มาจากการก่อตั้งสหภาพแรงงาน  ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา  ๘๙  คือ
ลูกจ้างรวมกัน ตั้งแต่  ๑๐  คน  ขึ้นไป  ร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขึ้นในสานประกอบการ    
          เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว  ผู้ก่อตั้งต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่สามัญครั้ง แรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการและมอบหมาย การทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการ    และอนุมัติ
ร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นแก่นายทะเบียน   ในระหว่างนี้จะมีการรับสมัครสมาชิกด้วย

          เมื่อได้คณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้ว   ให้กรรมการสหภาพแรงงาน   มีสิทธิหน้าที่ดำเนินงานในนาม
สหภาพแรงงาน ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน  ฯ   ซึ่งวัตถุประสงค์นั้น  ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายตามมาตรา ๘๖ 
คือ สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ     สภาพการจ้างและ

ส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้าง ด้วยกัน

0 ความคิดเห็น

Employer

นายจ้าง  (Employer)      คือ
1.        บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้
2.        ผู้ที่รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง
3.        ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
4.        ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้มีอำนาจกระทำการแทน
5.      การ จ้างเหมาแรงงาน หากมีองค์ประกอบ คือ ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมา ค่าแรง   การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจใน ความรับผิดชอบของผุ้ประกอบการ    ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างด้วย
 
มาตรา 5 ฉบับแก้ไข ปี 2551
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
ใน กรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ กระทำการแทนด้วย”
 
และเพิ่มมาตรา 11/1    
“มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิด ชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของ คนที่มาทำงานดังกล่าว

                ให้ผู้ประกอบกิจการ ดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ”

0 ความคิดเห็น

หนังสือมอบฉันทะ

                                                                                       หนังสือมอบฉันทะ

                                                                                                         เขียนที่..................................................................... 
    
                                                                                                วันที่................เดือน.............................พ.ศ..............

                ข้าพเจ้า.................................................................................................................................................ถือหุ้น................หุ้น  เลขที่..................ถึงวันที่.................ในบริษัท........................................................จำกัด
ขอมอบฉันทะให้..............................................................................................................................................
เป็นผู้รับมอบฉันทะของข้าพเจ้าเพื่อเข้าประชุมและออกเสียงในการประชุม....................................................
ของบริษัท  ซึ่งจะประชุมกันในวันที่.................................................................................................................
หรือครั้งต่อไปหรือที่เลื่อนอกไปซึ่งข้าพเจ้ามีสิทธิในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมวันดังกล่าว

                ได้ลงลายมือชื่อให้ไว้ ณ วันนี้ ที่..........................................................................................................

ลงชื่อ...............................................ผู้มอบฉันทะ                        ลงชื่อ...............................................ผู้มอบฉันทะ
        (                                               )                                         (                                               )

ลงชื่อ......................................................พยาน                  ลงชื่อ......................................................พยาน

        (                                                      )                                  (                                                      )

0 ความคิดเห็น

กฏหมายน่ารู้เกี่ยวกับอาวุธ

๑. ความหมายของอาวุธปืน  อาวุธปืน หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ยิง ไปทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้  ปีนที่ไม่อาจทำอันตรายร่างกายถึงสาหัส
      ได้โดยสภาพ เช่น ปืนเด็กเล่น ไม่ใช่อาวุธปืนตามความหมายของกฎหมาย ตามกฎหมายเรียกว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน"  ปืนที่ใช้ยิงไม่ได้ เช่น
      ชำรุด ถือเป็น ส่วนหนึ่งของอาวุธปืน แต่พลุ สะดุดส่องแสง แบบเอ็ม ๔๙ Al ไม่มีสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืน และไม่มี สภาพเป็นอาวุธ แต่      ถ้ามีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็มีความผิดเช่นกัน  ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนตามกฎหมายให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น  
    ๑) ลำกล้อง  
    ๒) เครื่องลูกเลื่อน หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลูกเลื่อน  
    ๓) เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก  
    ๔) เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุน หรือส่วนประกอบสำคัญของ สิ่งเหล่านี้ แต่พานท้ายปืน  สายสะพาย ไม้ประดับด้ามปืน ไม่ใช่อาวุธปืน  

๒. การขออนุญาต  ประชาชนจะมีและใช้อาวุธปืนต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน สำหรับ คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ยื่นคำร้องขอที่กอง
     ทะเบียน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำหรับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่  การขออนุญาตมีและใช้
     อาวุธปืนต้องขอเพื่อ  
     - ป้องกันตัวหรือทรัพย์สินของตน  
     - สำหรับใช้ในการกีฬาหรือล่าสัตว์
๓. ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน  การกระทำผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนเหล่านี้ ได้แก่  
    ๑) ทำ โดยมิได้รับอนุญาต  
    ๒) ซื้อ โดยมิได้รับอนุญาต  
    ๓) มี โดยมิได้รับอนุญาต  
    ๔) ใช้ โดยมิได้รับอนุญาต  
    ๕) สั่ง เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต  
    ๖) นำ เข้ามาจากนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต
ความผิดทั้ง ๖ ประการ ถ้าเป็นเพียง  เกี่ยวกับ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน หรือ "มีกระสุนปืน" ก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน  ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ครอบครองอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่ง  ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายก็มีความผิดเช่นกัน  คำว่า "มีอาวุธปืน" หมายถึง มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง  "มีกรรมสิทธิ์" หมายถึง เป็นเจ้าของอาวุธปืน  มีไว้ในครอบครอง หมายถึง ยึดถืออาวุธปืนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน "ยึดถือ" หมายถึง กิริยาที่รับ ถือ หรือเอามารักษาไว้  "ยึดถือเพื่อตน" หมายถึง กิริยาที่จับ ถือ หรือเอาอาวุธปืนมารักษาไว้ในลักษณะที่แสดงอาการหวง การยึดถือเพื่อตนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการยึดถือไว้โดยเป็นเจ้าของเสมอไป  การรับฝากปืนจากผู้อื่นในระยะเวลาอันสั้น หรือการเอาปืนของผู้อื่น มาถือไว้ชั่วขณะ ไม่ถือว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง  
๔. การครอบครองปืนของผู้อื่น  การครอบครองปืนของผู้อื่นที่ไม่ผิดกฎหมายมี ๓ กรณี คือ     
   ๑) ผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้อื่น เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาอาวุธนั้นมิให้สูญหาย และผู้ครอบครองนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ    
       ที่จะมี และใช้อาวุธปืนได้ เช่น  - บิดานายดำ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมา บิดานายดำตาย นายดำจึงครอบครองอาวุธ
       ปืนนั้น เพื่อรอแจ้งการตายภาย ในกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบการตาย และขอรับมรดกของบิดา ดังนี้ นายดำไม่มีความผิด  - นาย ก
       เป็นผู้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ต่อมานาย ก วิกลจริต นาง ข ภริยาของ  นาย ก จึงครอบครองอาวุธปืนของนาย ก เพื่อ รอส่งมอบ
       อาวุธปืนและใบอนุญาตแก่นายทะเบียน นางข ไม่มีความผิด  - เก็บอาวุธปืนมีทะเบียนได้ตั้งใจว่าจะนำไปมอบให้นาย ทะเบียน ก็ถูกจับ
       ก่อน ดังนี้ไม่มีความผิด แต่ถ้าผู้เก็บอายุแค่ ๑๕ ปี (ยังมี อาวุธปืนไม่ได้) หรือปืนที่เก็บได้เป็นปืนเถื่อน ดังนี้ถ้าผู้เก็บได้เอามาใช้ก็มีความ
       ผิดด้วย  
  ๒) ครอบครองอาวุธปืนของราชการทหาร และตำรวจ และของ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ  
  ๓) ครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล  รถไฟ และอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจ
      สอบตามกฎหมายแล้ว  หมายเหตุ ควรสังเกตว่ากฎหมายยกเว้นให้แต่อาวุธปืนของทางราชการ  หรือรัฐวิสาหกิจ มิได้ยกเว้นแก่ตัว
      ราชการ หรือพนักงาน รัฐวิสาหกิจ  
๕. การพกพาอาวุธปืน  กฎหมายห้ามมิให้บุคคลพกพา  อาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มี
      อาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็น กรณีมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เชนถือ ปืนติดตามคนร้าย หรือไฟไหม้บ้าน
      ต้องขนของและปืนหนีออกจากบ้าน หรือ ต้องพกปืนเพื่อป้องกันตัว เพราะนำเงินจำนวนมากติดตัวไปต่างจังหวัด เป็นต้น  แต่มีขอสังเกตว่า
     ไม่ว่าในกรณีใดกฎหมายห้ามเด็ดขาด มิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การ
      มหรสพหรือการอื่นใด หมายความว่าถึงแม้จะมีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ติดตัวก็ตาม ก็ไม่สามารถพกพาอาวุธปืนโดยเป”ดเผย หรือพาไปใน
      ชุมนุมชน ที่จัดให้มีขึ้น เพื่อการดังกล่าว แต่กฎหมายไม่ห้ามสำหรับเจ้าพนักงานผู้มี  หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหาร
      และตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หรือประชาชนผู้ได้รับมอบหมายให้มีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือ  ราชการ
      และมีเหตุจำเป็นต้องมีและใช้อาวุธปืน ในการนั้น  สำหรับผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้พกพาในกรุงเทพฯ คือ อธิบดีกรมตำรวจ ในต่าง
      จังหวัดคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด  
๖. การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ  ผู้ใดประสงค์จะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็ต้องขออนุญาตด้วย การเก็บใน ที่นี้หมายถึงการมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น 
     เช่น การเก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นต้น  การมีอาวุธปืนเพื่อเก็บ  "การเก็บ" ในที่นี้หมายถึง การมีไว้โดยไม่ใช้อาวุธปืนนั้น เช่น การ เก็บไว้เป็นที่
     ระลึก เป็นต้น ซึ่งผู้ใดที่ต้องการจะมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บก็จำเป็น จะต้องขออนุญาตจากทางราชการด้วย โดยผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ 
     ให้ไปขอใบอนุญาตมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ ณ กองทะเบียน กรมตำรวจ ส่วน คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นขอใบอนุญาตต่อนาย
     ทะเบียนท้องที่  ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ จะออกให้แก่อาวุธปืนดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ  
 ๑) อาวุธปืนที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้  
 ๒) อาวุธปืนแบบพ้นสมัย เช่น ปืนที่ใช้ในสมัยโบราณ, ปืนที่เป็นของเก่าแก่  
 ๓) อาวุธปืนที่เป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการเพราะฉะนั้นถ้าเป็นอาวุธปืนประเภทอื่น ๆนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ได้รับ
    ใบอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนอกจากนี้แล้วกฎหมายยังมีข้อห้าม เกี่ยวกับอาวุธปืนที่มีไว้เพื่อเก็บอีกด้วย คือ
 ๑) ห้ามมิให้ยิงอาวุธปืนนั้น  
 ๒) ห้ามมิให้มีเครื่องกระสุนที่จะใช้สำหรับอาวุธปืนที่จะมีไว้เพื่อเก็บ  หมายเหตุ ผู้ใดที่มีอาวุธไว้เพื่อเก็บโดยมิได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิด  
     ต้อง ได้รับโทษตามกฎหมาย  
. การขออนุญาต  การที่ประชาชนจะมีหรือใช้อาวุธปืนได้โดยถูกกฎหมายนั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน ซึ่งเมื่อทาง
     ราชการอนุญาตแล้ว ก็จะได้ออกใบอนุญาตให้ไป ใบอนุญาตที่เกี่ยวกับอาวุธปืนที่สำคัญ  ได้แก่  
 ๑) ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล  (แบบ ป.๓)  
 ๒) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.๔)มี ๒ ประเภทด้วยกัน ได้แก่  
     ๒.๑ใบอนุญาตแบบชั่วคราว มีอายุ ๖ เดือนนับแต่วันที่ออก ใบอนุญาตนั้น  
     ๒.๒ ใบอนุญาตแบบถาวร ใช้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ยังเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้นอยู่ สถานที่ในการขออนุญาต สำหรับผู้ที่มีภูมิ
    ลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นขออนุญาตต่อนายทะเบียนณ กองทะเบียน กรมตำรวจ ส่วนผี่มี ภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อ
    นายอำเภอท้องที่  เมื่อได้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตต่อทางราชการแล้ว นายทะเบียนก็จะ พิจารณาว่าควรจะออกใบอนุญาตให้ผู้ขอหรือไม่ ซึ่งมีข้อสังเกตที่สำคัญ ๆ ดังนี้  
 ๓) ในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น จะออกให้ได้ใน ๓ กรณีเท่านั้น คือ  
     ๓.๑ เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองและทรัพย์สิน  
     ๓.๒ เพื่อใช้ในการเล่นกีฬา  
     ๓.๓ เพื่อใช้ในการยิงล่าสัตว์  ถ้าไม่เข้ากรณีใดกรณีหนึ่งในสามกรณีนี้ทางราชการมักจะไม่ ออกใบอนุญาตให้  
๔) ใบอนุญาตหนึ่งใบจะออกให้สำหรับอาวุธปืนหนึ่งกระบอกเท่านั้น  
๕) ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้ ให้แก่อาวุธที่เป็น อาวุธสงคราม  
๖) ผู้ที่จะขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนได้นั้นจะต้องเป็นบุคคล ที่ไม่มีคุณ  สมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย อาทิเช่น บุคคลผู้ที่ยังไม่บรรลุ
    นิติภาวะ(อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์) บุคคลที่เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ (คนวิกลจริต.คนจิตฟั่นเฟือน), บุคคลที่
    ไม่มีอาชีพ และรายได้ คนจรจัด บุคคลผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนอกจากนี้ทางราชการจะไม่ออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ใน
    ทะเบียนบ้านในท้องที่ที่บุคคลนั้น ขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน  - ขั้นตอนในการออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน ในขั้นแรกนายทะเบียน
    จะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธ (แบบ ป.๓) และใบอนุญาต ให้มีหรือใช้อาวุธปืนแบบชั่วคราว (แบบ ป.๔ ชั่วคราว) ให้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อ ที่จะได้
    ให้ผู้ขออนุญาตไปจัดการหาซื้ออาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนมาให้ พร้อมเสียก่อนโดยไม่ผิดกฎหมาย จากนั้นให้ผู้ขออนุญาตนำอาวุธปืนดัง
    กล่าว ไปให้นายทะเบียนตรวจสอบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่จัดหามานั้น มีชนิดและขนาดตรงตามที่ระบุไว้ในแบบ ป.๓ และ ป.๔ ชั่ว
    คราวหรือไม่ ถ้า ตรง  นายทะเบียนก็จะออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนอย่างถาวร (แบบ ป.๔ ถาวร) ต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องนำเอาอาวุธ
    ปืนไปให้นายทะเบียนตรวจสอบ ภายในกำหนด ๖ เดือนนับแต่วันที่  ได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ ถ้าเกินกำหนด ๖ เดือนดังกล่าวไป ต้อง
    ถือว่าผู้ขออนุญาตนั้นมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต  หมายเหตุ กรณีที่ซื้ออาวุธปืนจากเจ้าของที่
   ได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ซื้อจะต้อง  ไปขอรับใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนนั้นจากนายทะเบียนก่อน จากนั้นให้ผู้ขอซื้อนำใบอนุญาตให้ซื้อไปขอรับ
    ปืนจากผู้ขายได้เลย หรือจะไปหานายทะเบียนพร้อมกันทั้งผู้ซื้อและเจ้าของปืน ซึ่ง นายทะเบียนก็จะทำการออกแบบ ป.๔ ให้ผู้ซื้อต่อไป  
๘. การโอนอาวุธปืน  กฎหมายห้ามมิให้โอนอาวุธปืนให้แก่บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน แม้ผู้โอนจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้
     มีและใช้อาวุธปืนได้ แต่ถ้า โอนอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตผู้โอนจะมีความผิด  "การโอน" หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์อาวุธปืนของ
     ตนให้ผู้อื่นเป็น เจ้าของ  การรับโอนอาวุธปืนทางมรดก  ในกรณีที่เจ้าของอาวุธปืนซึ่งมีใบอนุญาตอยู่แล้ว  ถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนด
     ให้ทายาทของผู้ตาย หรือ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน หรือใบอนุญาตให้มี หรือใช้อาวุธปืนของผู้ตาย ไปแจ้งการตาย ของ
     เจ้าของปืนให้นายทะเบียนทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่รู้ถึงการตาย ของผู้ตาย ถ้าไม่มาแจ้งถือว่ามีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน
     ๑,๐๐๐ บาท  สำหรับนายทะเบียนที่จะไปแจ้งการตายดังกล่าวได้ ได้แก่  
๑) นายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนนั้น  
๒) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่  
๓) นายทะเบียนท้องที่ที่ผู้แจ้งการตายมีภูมิลำเนาอยู่  เมื่อได้แจ้งการตายต่อนายทะเบียนแล้ว ให้ทายาทผู้ได้รับอาวุธซึ่งเป็น มรดกของผู้ตาย
    ไปติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๖ เดือน นับแต่วัน ที่ผู้ตาย (เจ้าของปืน)ถึงแก่ความตาย เพื่อขอรับใบอนุญาตใหม่ ทั้งนี้ เพราะ ถึงแม้
    ว่าทายาทจะได้กรรมสิทธิ์ใบอาวุธปืนนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าเป็นการ มีอาวุธไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งผิดกฎหมาย
    เพราะฉะนั้นจึงต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ เพื่อขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืน(แบบ ป.๔) ซึ่งทางราชการก็จะพิจารณาว่า 
    ทายาทหรือผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะได้จัดการออกใบอนุญาตให้ต่อไป  
๙. กรณีต้องแจ้งนายทะเบียน  
  ๑) อาวุธปืนหายหรือถูกทำลายต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๑๕ วัน  
  ๒) ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ต้องขอใบอนุญาตแทน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบเหตุการณ์สูญหาย หรือถูกทำลาย  
  ๓) ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนตาย ทายาทต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบวันตายของผู้ได้รับใบอนุญาต มิฉะนั้น
      มีความผิด  
  ๔) ผู้ได้รับใบอนุญาต ย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนภาย ใน ๑๕ วันนับแต่วันย้าย โดยต้องแจ้ง ๒ ที่คือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ 
      ย้ายออกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก และแจ้งต่อนายทะเบียนที่ย้ายเข้า ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้า ใครไม่แจ้งมีความผิด  
 ๕) ผู้ได้รับใบอนุญาต หากกลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิรับใบอนุญาตใน ภายหลัง เช่นกลายเป็นคนวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ ต้องคืนอาวุธ ปืน
     และใบอนุญาตต่อนายทะเบียนโดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมีความผิด  
 ๖) ผู้ใดนำอาวุธปืนมาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบอาวุธปืนแก่ พนักงาน ศุลกากร หรือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่โดยมิชักช้า มิฉะนั้นจะมี   
     ความผิด  ๑๐. การเพิกถอนใบอนุญาต  นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนใบ อนุญาตได้ถ้าออกให้โดยหลงผิด หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นคนเคย
     ต้องโทษมาก่อน เป็นต้น เมื่อเพิกถอนแล้วผู้รับอนุญาตต้องมอบปืนและใบอนุญาตคืนแก่นายทะเบียนโดยไม่ชักช้า  อนึ่ง การใหผู้อื่นใช้ใบ
     อนุญาตหรือการใช้ใบอนุญาตของผู้อื่น มีโทษ ถึงจำคุก

0 ความคิดเห็น

ปัญหาของพยานบุคคล

6.1 ในชั้นสอบสวน
                                                6.1.1 ปัญหาการเรียกพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์มาให้ถ้อยคำ
                                                - พยานหลบหนี
                                                - พยานเกรงกลัวความผิด
                                                - พยานเกรงกลัวอิทธิพลจำเลย
                                                - พยานไม่เต็มใจเป็นพยาน
                                                - ผู้เสียหายเสริมแต่งพยานบุคคลหรืออ้างพยานเท็จเพื่อให้ร้ายจำเลย
                                                6.1.2 ปัญหาพนักงานสอบสวน
                                                - พนักงานสอบสวนขาดความรู้ ขาดประสบการณ์และความชำนาญในการสอบสวน
                                                - ทัศนคติของพนักงานสอบสวน มีผลต่อรูปคดีที่ทำการสอบสวน เช่น พนักงานสอบสวนเห็นใจผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนโกรธเคืองจำเลย พนักงานสอบสวนเข้าข้างจำเลย
                                                - พนักงานสอบสวนถูกอิทธิพลแทรกแซง
                                6.2 ในชั้นพิจารณาคดี
                                                6.2.1 พยานบุคคลไม่ไปเบิกความต่อศาล
                                                - พยานมีกิจธุระจำเป็น ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

                                                - พยานถึงแก่กรรม
- พยานหลีกเลี่ยงไม่ไปศาล อันเนื่องมาจากเกรงกลัวต่ออิทธิพลของจำเลยหรือถูกข่มขู่ การจ้างพยานให้หลบหนี พยานเกรงกลัวความผิด
- พยานย้ายถิ่นที่อยู่เป็นเหตุให้ส่งหมายเรียกไม่ได้
- ทัศนคติของพยานที่จะต้องไปเบิกความในศาล
6.2.2 ปัญหาพยานบุคคลกลับคำให้การในชั้นพิจารณาคดี
- เกรงกลัวอิทธิพลจำเลย
- มีการว่าจ้างให้ผลประโยชน์ตอบแทน
- พยานสงสารเห็นใจจำเลย
                                6.3 ปัญหาการนำระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญามีผลกระทบต่อพยานบุคคล
                                ปัญหาการเข้าคิวรอพิจารณาคดีและการเลื่อนคดีทำให้พยานหลงลืมข้อเท็จจริง และบางครั้งพยานเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากไปเบิกความเป็นพยาน

0 ความคิดเห็น

หน้าที่ของพยานบุคคล

5.1 หน้าที่ต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาล
                                พยานที่ได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความโดยชอบแล้วต้องไปเบิกความต่อศาลตามกำหนด หากจงใจไม่ไปศาล อาจถูกศาลออกหมายจับและกักขังจนกว่าพยานจะได้เบิกความตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 111(2) และมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 170 (ขัดขืนหมายหรือคำสั่งศาลให้มาให้ถ้อยคำ หรือให้มาเบิกความ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

                                5.2 หน้าที่ต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา 112 บัญญัติว่า ก่อนเบิกความ พยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนา หรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นแต่บุคคลต่อไปนี้
                                (1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
                                (2) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปีหรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
                                (3) พระภิกษุและสามเณร ในพุทธศาสนา
                                (4) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบาน
                                ผู้ที่ขัดขืนคำสั่งศาลให้สาบานหรือปฏิญาณตนมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 171 (จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท)
                                5.3 หน้าที่เบิกความตามความเป็นจริง
                                พยานบุคคลต้องเบิกความตามความจริงตามที่ตนรู้เห็น หากพยานเบิกความเท็จมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 177

0 ความคิดเห็น

การนำสืบพยานฝ่ายตนในเรื่องที่ไม่ได้ถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 89)

ป.วิ.แพ่งมาตรา 89 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
                                                (1) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็น หรือ
                                                (2) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นใด ซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้ทำขึ้น
                                                ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
                                                ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานมาสืบถึงข้อความดังกล่าวข้างต้น คู่ความฝ่ายที่นำสืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านได้และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานเช่นว่ามานั้น..
                                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/22 โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยนำหนังสือที่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 มาอ้างภายหลังจากโจทก์ได้สืบพยานบุคคลเสร็จสิ้นไปแล้ว ในขณะที่โจทก์เบิกความ จำเลยก็มิได้ถามค้านถึงเอกสารหมาย ล.1 จึงรับฟังไม่ได้ ตาม ป.
วิ.แพ่งมาตรา 89 วรรคสอง (ฎีกาที่ 212/36)
                                ข้อสังเกต
                                1. การสืบพยานจำเลยในคดีอาญา จำเลยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
                                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/13 ในคดีอาญาแม้จำเลยจะนำสืบถึงพยานเอกสารใด โดยมิได้นำพยานเอกสารนั้นไปซักค้านพยานโจทก์ให้อธิบายไว้เสียก่อน จำเลยก็ยังอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
                                2. แม้คดีอาญาไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบในภายหลังก็ตาม แต่พยานจำเลยดังกล่าวจะมีน้ำหนักน้อย
                                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/36 จำเลยนำสืบภายหลังว่า คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างส่งศาลไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โดยเป็นการนำสืบเอาข้างเดียว

ลอย ๆ ทั้งเมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนมาเบิกความจำเลยก็ไม่ถามค้านไว้ ข้ออ้างของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
                                3. ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว จำเลยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
                                คำพิพากษาฎีกาที่ 2099/14 ข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว ถึงแม้จำเลยจะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ จำเลยก็มีสิทธินำสืบในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 89 วรรคสอง (ฎีกา 1873/28,2329/37)
                                4. คู่ความฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนจะต้องคัดค้านไว้ขณะที่พยานฝ่ายหลัง
เบิกความ

                                คำพิพากษาฎีกาที่ 7017/38 แม้จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านตัวโจทก์ที่นำสืบก่อนเกี่ยวกับบันทึกถ้อยคำ (ท.ด.16) ไว้ขณะที่โจทก์เบิกความเป็นพยานก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้คัดค้านเสียขณะที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวประกอบคำเบิกความของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยาน (ฎีกา 952/07,262/11,486/42)

0 ความคิดเห็น

สรุปย่อ กฎหมายลักษณพยาน

สรุปย่อ กฎหมายลักษณพยาน
ชั้นจับกุม
๑.เจ้าพนักงานผู้จับกุมต้อง....
(๑) แจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับ
(๒) แจ้งสิทธิ์
(๒.๑) สิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้
(๒.๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ที่จะเป็นทนายความ
๒.ผู้ถูกจับกุมมีสิทธิ.....ที่จะแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบถึงการจับกุมในโอกาศแรก
๓.สิทธิของผู้ต้องหา..... (๑)ทนาย (๒)เข้า (๓)เยี่ยม (๔)พยาบาล
๔.การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป แต่ทำให้การควบคุมของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบ
๕.การคุมขังบุคคลใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....(๑)อัยการ (๒)สอบ (๓)เรือนจำ (๔)อื่น สามารถยื่นคำร้องให้ปล่อยตัวได้ (ในเวลาที่ต้องขังอยู่)
๖.คำรับสารภาพในชั้นจับกุม.....ห้ามศาลรับฟังเพื่อลงโทษจำเลย
๗.บันทึกการจับกุม.....เป็นพยานเอกสาร และเป็นเอกสารราชการ
๘.การขูดลบ , ตกเติม , แก้ไข ในบันทึกการจับกุม....ถ้าถูกต้องตรงความจริง ศาลรับฟังได้
๙.พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย....ห้ามศาลรับฟัง
๑๐.พยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูล ที่เกิดขึ้น ที่ได้มา โดยมิชอบ....ห้ามศาลรับฟัง
๑๑.การจับ , การค้น แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การสอบสวนกระทำโดยชอบ..........พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ชั้นสอบสวน
๑.ในชั้นสอบสวน ถ้าผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน ไม่สามารถพูด หรือเข้าใจภาษาไทยได้และไม่มีล่าม....ให้พนักงานสอบสวนจัดหาล่ามให้
๒.ล่ามจะต้อง.....สาบานคน หรือปฏิญานตนว่าทำหน้าที่โดยสุจริต จะไม่เพิ่มเติม หรือตัดทอนข้อความที่แปล และต้องลงลายมือชื่อในคำแปล มิฉะนั้นศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
๓.เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวน.....ที่จะให้พยานหรือผู้เสียหายสาบาน หรือปฏิญานตน ก่อนให้ปากคำ
๔.ในการปากคำพยาน , ผู้เสียหาย ......ห้ามพนักงานสอบสวน ตักเตือน พูดให้ท้อใจ หรือใช้กลอุบายอื่น เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ

๕.ในการถามคำให้การของผู้ต้องหา......ห้ามพนักงานสอบสวน ทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา กับผู้ต้องหา เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น หากฝ่าฝืนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไม่ได้
๖.การถามปากคำผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มี....นักจิต นักสังคม อัยการ เข้าร่วมในการสอบสวน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ
๗.คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือที่มีเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีเป็นผู้ต้องหา......ก่อนถามคำให้การ พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาก่อนว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องจัดหาให้
๘.การสอบสวนผู้ต้องหา....ต้องมีการแจ้งสิทธิ และแจ้งข้อกล่าวหา 
๙.ถ้าไม่มีการแจ้งสิทธิ....จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
๑๐.ถ้าไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา....ถือว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ
๑๑.ศาลอาจรับฟังการซัดทอดของผู้ต้องหา ถึงผู้ต้องหาอื่น......ประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
๑๒.ในชั้นสอบสวน.....ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้ทนายความ หรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนได้ และพนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธินี้ให้ผู้ต้องหาทราบ ถ้าไม่แจ้งรับฟังไม่ได้
๑๓.ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง.....ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวน และอัยการ
๑๔.เมื่ออัยการได้ยื่นฟ้องแล้ว....ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา มีสิทธิตรวจ หรือคัดสำเนาคำให้การหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนในชั้นสอบสวน
๑๕.ก่อนฟ้องคดีต่อศาล....เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า 
(๑) พยานบุคคลจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(๒)ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(๓) มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาล
(๔) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(๕) เป็นการยากแก่การนำพยานบุคคลนั้นมาสืบในภายหน้า
ทั้งอัยการ หรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สืบพยานบุคคลไว้ก่อน

ชั้นพิจารณา
๑.บุคคลที่จะเป็นพยานได้.....ต้องเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การมาด้วยตัวเอง
๒.แม้จะเป็นชาวต่างประเทศ , เด็ก หรือคนปัญญาอ่อน ถ้าสามารถเข้าใจ และตอบคำถามได้....ศาลก็รับฟังเป็นพยานบุคคลได้
๓.คนหูหนวก หรือเป็นใบ้.....ก็สามารถเป็นพยานบุคคลได้
๔.คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย หรือพยาน ปกติศาลจะไม่รับฟังเพราะเป็นพยานบอกเล่า เว้นแต่.....มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ต้องฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น
๕.พยานบอกเล่าที่ศาลยอมรับฟัง.....
(๑)คำบอกเล่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของผู้กล่าว
(๒)คำบอกเล่าถึงสิทธิสาธารณะ ที่ประชาชนมีอยู่ร่วมกัน
(๓)คำบอกกล่าวของผู้ตาย ที่กล่าวถึงในเรื่องที่ถูกทำร้าย ที่รู้สึกตัวว่ากำลังจะตาย
(๔)คำบอกเล่าที่ใกล้ชิดติดพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
(๕)คำบอกเล่าถึงเครือญาติวงศ์ตระกูล
(๖)คำบอกเล่าถึงจารีตประเพณีท้องถิ่น
๖.ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่......
(๑)ตามสภาพแหล่งที่มา ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า จะพิสูจน์ความจริงได้
(๒)มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำพยานบุคคลมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
๗.ห้ามศาลรับฟังพยานหลักฐาน.....ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย แต่...ไม่ห้ามนำสืบเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ
๘.ในคดีอาญา.....โจทก์จะอ้างจำเลย (ในคดีเดียวกัน) เป็นพยานไม่ได้
๙.ศาลอาจรับฟังพยานบุคคลที่เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด แต่ไม่ถูกฟ้อง ที่ให้การซัดทอดจำเลยว่ากระทำความผิด.....แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ อีกทั้งหากการให้การนั้น มีเหตุจูงใจ เพื่อมิให้ตนต้องถูกดำเนินคดี คำให้การนั้นไม่อาจรับฟังได้
๑๐.ในคดีอาญาโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยเป็ยผู้กระทำความผิด และมีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ
เว้นแต่......จำเลยให้การว่า
(๑)กระทำความผิดขณะวิกลจริต ตาม ป.อ. ม.๖๕
(๒)กระทำความผิดขณะมึนเมา ตาม ป.อ. ม.๖๖
(๓)กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ตาม ป.อ. ม.๖๗
(๔)กระทำความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. ม.๗๒
(๕)โจทก์ได้รับข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณตามกฎหมาย
จำเลยจึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน

๑๑.โจทก์ไม่ต้องนำสืบในกรณีต่อไปนี้......
(๑)ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
(๒)ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้
(๓)ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันแล้ว
(๔)ในกรณีที่มีข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์
๑๒.ในคดีแพ่ง.....ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ เว้นแต่ รู้ ไม่อาจ รับ กับมีข้อสันนิษฐาน
๑๓.ในคดีอาญา....คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยาน ๗/๑๕ ก่อนศาลพิพากษา
๑๔.ในคดีอาญา....การพิจารณา และสืบพยานในศาล ต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
๑๕.การที่โจทก์อ้างคำเบิกความของพยานในคดีอื่น หรืออ้างสำนวนคดีอื่นมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี ในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย......โดยหลักแล้วถือว่าไม่ชอบ เพราะไม่ได้พิจารณาและสืบต่อหน้าจำเลย แต่ศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
๑๖.คำท้า.....ใช้ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น
๑๗.การชั่งน้ำหนักพยาน.....ปกติต้องเชื่อ คำประจักษ์พยานยิ่งกว่าคำผู้เชี่ยวชาญ เพราะประจักษ์พยานเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
๑๘.พยานที่ห้ามออกหมายเรียก......
(๑)พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ว่ากรณีรีใดๆ 
( สูตรย่อว่า สมเด็จ) 
(๒)พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ไม่ว่ากรณีใดๆ (สูตรย่อว่า พระ)
(๓) ผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามกฎหมาย (สูตรย่อว่า คุ้ม)
สรุป สูตร = สมเด็จ พระ คุ้ม
๑๙.พยานที่ไม่ต้องสาบาน......
(๑)พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ( สูตรย่อว่า สมเด็จ)
(๒)บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดชอบ (สูตรย่อว่า ต่ำ ๑๕) 
(๓)พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา (สูตรย่อ ว่าอรหันต์)
(๔)บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคำปฏิญาณ (สูตรย่อว่า ตกลงกัน)
สรุป สูตรย่อ = สมเด็จ ต่ำ ๑๕ ว่าอรหันต์ ตกลงกัน ไม่ต้องสาบาน

พยานเอกสาร
๑.ตัวอย่างต่อไปนี้นี้ล้วนเป็นพยานเอกสาร....
ศิลาจารึก คำจารึกที่หลุมศพ ภาพถ่ายจดหมายติดต่อการเช่า หมายเลยที่พานท้ายปืน
ป้ายทะเบียนรถ บัตรเครดิต บันทึกตรวจสถานที่เกิดเหตุ บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน
สมุดบัญชีเงินฝาก แผนที่เกิดเหตุ
๒.ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้.....ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
๓.การอ้างหนังสือราชการ....แม้ต้นฉบับจะมีอยู่ จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่หมายเรียกจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
๔.ข้อยกเว้น การรับฟังต้นฉบับเอกสาร.....
(๑)เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว (ตกลง)
(๒)ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย (สูญหาย , ทำลาย)
(๓)ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขาหรืออยู่ในความควบคุมของทางราชการนั้น จะนำมาแสดงต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน (ราช)
(๔)เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงสำเนาเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบ (ขาดคัดค้าน)
๕.ในคดีอาญา.....คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานเอกสารไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูเหมือนในคดีแพ่ง
๖.ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์...พยานเอกสารที่นำสืบในชั้นพิจารณาไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องเป็นเอกสารที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นจึงจะรับฟังได้
๗.ในคดีอาญาแม้พยานเอกสารมิได้ปิดอากรแสตมป์.....ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

พยานวัตถุ
๑.พยานวัตถุ หมายความถึง....วัตถุสิ่งของที่คู่ความอ้างเป็นพยาน รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
๒.ตัวอย่างเหล่านี้เป็นพยานวัตถุ....
ธนบัตรของกลางที่ใช้ล่อซื้อ ของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ร่องรอยที่เกิดจากการชนกัน
สำเนาโพยสลากกินรวบ ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ภาพถ่ายบุคคล
ภาพถ่ายรถยนต์ อาวุธปืน , มีด , เลือด ร่างกายมนุษย์
คราบเลือด เทปบันทึกเสียง บาดแผล
๓.พยานวัตถุเกิดขัดแย้งกับพยานบุคคล....ปกติศาลต้องถือว่าพยานวัตถุมีน้ำหนักมากกว่า 

พยานผู้เชี่ยวชาญ 
๑.พยานผู้เชี่ยวชาญ.....บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญในการใดๆ เช่น วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ฝีมือ พาณิชยการ การศิลปะ หรือ กฎหมายต่างประเทศ
๒.ในคดีอาญา.....พยานผู้เชี่ยวชาญจะทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายทราบ และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
๓.ในกรณี ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก.....หากมีความจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจได้
๔.หากคู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอม หรือปัดป้องไม่ยอมให้ตรวจ.....ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง

หลักทั่วไป
๑.ในการสืบพยาน.....ศาลเป็นผู้สืบ จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้
๒.คู่ความหรือพยานฝ่ายใด จะต้องให้การหรือส่งพยานหลักฐานต่อไปนี้.....
(๑)เอกสาร หรือข้อความที่ยังเป็นความลับของทางราชการอยู่
(๒)เอกสาร หรือข้อความลับ ที่ได้มาหรือทราบเนื่องในอาชีพ หรือในหน้าที่ของเขา
(๓)วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่นซึ่งกฎหมายคุ้มครองไม่ยอมให้เปิดเผย
คู่ความหรือบุคคลนั้นมีอำนาจไม่ยอมให้การหรือส่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น 

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม