Recent Posts

Posts RSS

การรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน โปรดดูตัวบท มาตรา 131, 131/1,132, 133,173/1-2

การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1
1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 7 วัน
1.2 การยื่นเพิ่มเติม ต้องยื่นต่อศาลก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น
1.3 ถ้าพ้นกำหนดดังกล่าว ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
2. กรณีไม่มีวันตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 229/1
2.1 โจทก์ต้องยื่นต่อศาล ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันไต่สวนมูลฟ้อง หรือวันสืบพยาน
2.2 กรณีจำเลย ให้ยื่นก่อนวันสืบพยานจำเลย
2.3 กรณีการยื่นเพิ่มเติม
- ต้องได้ยื่นไว้ก่อนแล้วตาม 2.1 หรือ 2.2 ต่อมาขอยื่นเพิ่มเติม
- ต้องแสดงเหตุและข้ออ้างต่อศาล พร้อมกับบัญชีและสำเนาบัญชี ไม่ว่าเวลาใดๆก่อน
เสร็จสิ้นการสืบพยานของฝ่ายนั้น
2.4 กรณียังไม่ได้ยื่นไว้เลย
- ต้องแสดงเหตุอันควรที่ไม่สามารถยื่นในกำหนดได้
- ต้องร้องขออ้างพยานหลักฐานต่อศาล พร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนา ก่อน
เสร็จสิ้นการพิจารณา

ผลของการไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน (มาตรา 229/1 วรรคสี่)
- ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานที่มิได้ระบุอ้างพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่ศาลเห็นว่าจำเป็นต้องคุ้มครองพยาน หรือจะต้องนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม หรือเพื่อให้โอกาสจำเลยในการสู้คดีอย่างเต็มที่ ให้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
หลักเกณฑ์การยื่นบัญชีระบุพยานตามแนวคำพิพากษาฎีกา
- การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานตลอดทั้งเรื่อง รวมทั้งชั้นพิจารณาด้วย (ฎ. 280/05 ป., 2409/23)
- ในคดีที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็มีสิทธิระบุพยานเพิ่มเติมได้ (ฎ. 568/13)
- การฟ้องคดีใหม่ตามคำสั่งศาลที่ให้แยกฟ้องจำเลยที่ให้การปฎิเสธตาม มาตรา 176 วรรคสอง ต้องระบุบัญชีพยานใหม่ด้วย (ฎ. 2389/22)
- สรรพเอกสารในคดีนี้โจทก์ระบุบัญชีพยานไว้แล้ว การที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบสรรพเอกสารคดีอื่นโดยผิดหลงสลับสำนวนกัน เท่ากับนำพยานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานมาสืบไม่ชอบ (ฎ. 4260/4 เรื่องนี้ โจทก์ระบุ อ. และสรรพเอกสารในสำนวนคดีนี้ เป็นพยานไว้แล้ว แต่ผู้แทนโจทก์ได้สืบ อ. และนำสรรพเอกสารในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้โดยผิดหลง เมื่อศาลชั้นต้นได้สั่งให้เพิกถอนการสืบพยานโจทก์ปาก อ. เพราะเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลลบล้างการสืบพยานโจทก์ปาก อ.ที่ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้ต่อมาโจทก์จึงมีสิทธินำ อ. มาเบิกความและนำสืบสรรพเอกสารในคดีนี้โดยชอบได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว

หน้าที่นำสืบในคดีอาญา (มาตรา 174)
- โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ
- เนื่องจากในคดีอาญามีหลักกำหมายอยู่ว่า บุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าเขาเป็น ผู้กระทำผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด ถ้าจำเลยให้การปฎิเสธ ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์ คงมีข้อยกเว้นอยู่ 2 ประการ คือ
1. จำเลยให้การยอมรับตามฟ้องโจทก์ แต่อ้างเหตุยกเว้นโทษ เช่นกระทำผิดด้วยความจำเป็นหรือวิกลจริต หรือเหตุลดหย่อนโทษ เช่นกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ และ
2. มีกฎหมายสันนิษฐานเบื้องต้นไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด เช่น พ.ร.บ.การพนันฯ
ทั้งสองกรณีนี้ภาระพิสูจน์ย่อมตกอยู่แก่จำเลย ส่วนหน้าที่นำสืบก่อนในคดีอาญานั้น โจทก์ต้องเป็นผู้มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสมอตามมาตรา 174
- บทบัญญัติมาตรา 174 ที่กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนนั้น ถือเป็นเรื่องเคร่งครัดจะให้จำเลยนำสืบก่อนไม่ได้ (ฎ. 1217/03)
- จำเลยต่อสู้ว่าทำเพื่อป้องกัน เท่ากับจำเลยปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่นำสืบ (ฎ. 943/0
- ความผิดฐานรับของโจรโจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางมาโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด จึงจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 357 (ฎ. 2923/44) ส่วนการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ตามมาตรา 36 ป.อาญา เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบ(ฎ. 368/35)
- อายุความฟ้องคดีอาญา เป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบว่าคดียังไม่ขาดอายุความ(ฎ. 1035/40) โดย ในคดีอาญา จำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ แม้จะไม่ให้การก็ได้ เมื่อจำเลยให้การอย่างไร หรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ จำเลยหาต้องให้การปฎิเสธเป็นประเด็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความไว้ด้วย เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้
-เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอื่นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย(ฎ.7262/46)
- ในเรื่องนับโทษต่อถ้าศาลเคยสอบจำเลย และจำเลยเคยรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อแล้ว ต่อมาโจทก์ขอแก้หมายเขคดีเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด ศาลมีคำสั่งอนุญาต สำเนาให้จำเลย จำเลยไม่โต้แย้ง ถือว่าจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยตามคดีที่ขอแก้ไขไม่ เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยเคยรับข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว (ฎ. 8044/47)
- คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ผู้เสียหายแถลงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่คดีเมื่อโจทก์ไม่ค้านและไม่ขอสืบพยาน ศาลรับฟังคำของผู้เสียหายได้ (ฎ. 418/09) เรื่องนี้ฟ้อง ป.อ. 297 จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง แต่ผู้เสียหายยื่นคำร้องแถลงว่ารักษา 10 วัน ศาลลง 295 ได้ แต่ถ้าโจทก์แถลงขอสืบพยาน ศาลต้องอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบหักล้างถ้อยคำของผู้เสียหาย จะงดสืบพยานโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยให้การรับสารภาพไม่ต้องสืบพยาน ไม่ได้ (ฎ. 2484/20)

พยานหลักฐานในคดีอาญา (มาตรา 226)
- พยานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ อาจเป็นพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล แต่พยานดังกล่าวต้องมิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น
- พยานที่เกิดจาการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง เช่น ขู่เข็ญจูงใจว่า จะให้พยานออกโดยรับบำนาญและจะไม่จับกุมดเนินคดี รับฟังไม่ได้ ตามมาตรา 226 (ฎ. 1758/23)
- เจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. ข้อหามียาบ้าในครอบครอง แล้วเสนอว่าถ้า ส. ไปล่อซื้อยาบ้าจากผู้อื่นจะไม่ดำเนินคดี ส. จึงไปล่อซื้อจากจำเลย คำเบิกความของ ส. ในฐานะพยานโจทก์ จึงเกิดจาการจูงใจหรือคำมั่นสัญญาโดยมิชอบ รับฟังเป็นพยานไม่ได้(ฎ. 1839/44)
- แต่ถ้าปรากฏว่า ผู้ต้องหาให้การโดยการตัดสินใจเอง มิใช่เกิดจากการล่อลวง ขู่เข็ญ หรือให้สัญญาของเจ้าพนักงาน ศาลรับฟังคำให้การดังกล่าวได้ (ฎ. 4765/43)
- การแสวงหาพยานหลักฐานโดยวิธีการล่อซื้อ ถ้าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่แล้ว ก็ถือว่าการล่อซื้อเป็นวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว (ฎ.4417/48,8187/43)
- แต่ถ้าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว แต่จำเลยกระทำผิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อ ถือเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ (ฎ.4301/43,4077/49)
-ธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ แต่ไม่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้ ก็อ้างเป็นพยานได้ และคดีที่ไม่ได้ทำแผนที่เกิดเหตุ ไม่ทำให้พยานอื่นเสียไป (ฎ. 270/42) แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานหลักฐานการจำลองถึงสถานที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดี แต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
- พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นรับฟังไม่ได้ เช่น คำรับของจำเลยชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานมิได้จดไว้ และทั้งเกิดขึ้นโดยมิได้ตักเตือนให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำของจำเลยอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้นั้น ใช้ยันจำเลยไม่ได้ (ฎ.769/82) หรือพยานหลักฐานมีเพียงคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนเท่านั้น ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า มีน้ำหนักน้อยในการรับฟัง นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าถูกเจ้าพนักงานตำรวจซ้อม โดยมีบันทึกข้อความซึ่งพยาบาลเทคนิครับรองอาการบาดเจ็บของจำเลย ทั้งจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่เคยลงลายมือชื่อในเอกสารใด ให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดังนี้บันทึกการตรวจค้นจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา จึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ ตามมาตรา 226

พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่น
- ได้แก่ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับการได้มาซึ่งพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อาญา หรือที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น เช่น ในการถามคำให้การผู้ต้องหาห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำ หรือจัดให้ทำการใดๆซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบด้วยประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆในเรื่องที่ต้องหานั้น (มาตรา 135) การที่พนักงานสอบสวนแจ้งแก่จำเลยว่าผู้ตายยังไม่ตาย ซึ่งผิดจากความจริง จำเลยจึงยอมรับว่าเป็นผู้ขับรถคันที่ไปชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับ ไม่เป็นการล่อลวงเพื่อจูงใจให้จำเลยให้การตามมาตรา 135 (ฎ. 924/44) เรื่องนี้เป็นการดำเนินการที่พนักงานสอบสวนได้ทำไปเพื่อทราบข้อเท็จจริงตามอำนาจของกฎหมาย
- พยานที่เบิกความโดยไม่สาบานตนหรือกล่าวคำปฎิญาณ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 112 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 (ฎ.824/92)
- คดีปลอมเอกสาร แม้ไม่มีตัวเอกสารมาเป็นพยานในคดี ศาลฟังพยานบุคคลลงโทษจำเลยได้ (ฎ. 416/23)
- คำแถลงของผู้เสียหาย ไม่ใช่คำพยาน ศาลจะสั่งงดสืบพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยยกฟ้องไม่ได้(ฎ. 2484/20)
-ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามบุคคลภายนอก โดยบุคคลนั้นไม่ได้อยู่ในฐานะพยาน รับฟังไม่ได้ (ฎ. 392/86)
- พยานที่นำมาเบิกความในชั้นศาล ไม่จำต้องให้การมาแล้วในชั้นสอบสวน ก็เป็นพยานที่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลก็รับฟังได้ (ฎ. 2107/14,4012/34) และการสอบปากคำพยานในชั้นสอบสวน ก็ไม่จำเป็นต้องกระทำต่อหน้าจำเลย (ฎ. 6612-3/42)
- พยานเอกสาร ก็ไม่จำต้องเป็นเอกสารที่มีการสอบสวนมาแล้วและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ศาลรับได้ (ฎ. 1548/35)
- ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์อ้างแต่คำเบิกความของพยานในคดีแพ่ง โดยไม่นำมาเบิกความด้วย รับฟังว่าคดีมีมูลไม่ได้ (ฎ. 604/92)
- คดีที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหาต่างฟ้อง และรวมพิจารณากัน ต้องฟังพยานหลักฐานรวมกัน (ฎ. 133-4/91) จะแยกว่าพยานคนนี้เป็นพยานเฉพาะของโจทก์คนใดคนหนึ่งไม่ได้ แม้โจทก์อีคนหนึ่งจะมิได้อ้างพยานนั้นๆก็ตาม ตลอกจนการพิพากษาก็เป็นคดีเดียวกัน จะแยกยกฟ้องสำนวนหนึ่ง ลงโทษอีกสำนวนหนึ่งไม่ได้
- แต่ถ้าศาลมิได้สั่งรวมพิจารณา ต้องฟังพยานหลักฐานแยกกัน แม้พยานโจทก์จะเป็นชุดเดียวกันก็ตาม(ฎ. 1679/26)
- กรณีพยานที่เบิกความในสำนวนหนึ่งก่อนที่จะสั่งรวมพิจารณากับอีกสำนวนหนึ่ง แต่ภายหลังที่ศาลสั่งรวมสำนวนแล้ว พยานปากดังกล่าวมิได้มาเบิกความอีก ดังนี้ จะนำเอาคำเบิกความของพยานปากนั้นมาฟังเป็นโทษจำเลยในคดีหลังไม่ได้ (ฎ. 840/36) เพราะไม่ได้กระทำต่อหน้าจำเลยในคดีหลัง แต่อาจรับฟังได้เป็นเพียงพยานประกอบพยานอื่นในสำนวนหลังเท่านั้น โปรดดู มาตรา 226/5 (แก้ไขปี 50)
- การพิจารณาของโจทก์ร่วมมิเสียไป แม้ภายหลังศาลจะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม ศาลรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมได้ (ฎ. 186/14,1281/03)
- ในคดีอาญาสามารถนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างพยานเอกสารได้ ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 94 วิแพ่ง (ฎ. 3224/31)
- การที่จำเลยลงชื่อในแผนที่เกิดเหตุ เพราะพนักงานสอบสวนบอกว่าลงชื่อแล้วกลับบ้านได้ ไม่ได้หมายความว่าจำเลยถูกบังคับหรือหลอกลวง แต่เป็นการลงชื่อโดยสมัครใจเอง
-การพิพากษาคดีอาญา ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ให้ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งหรือในคดีอาญาเรื่องอื่น (ฎ.4751/39)
- ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพะคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ห้ามรับฟังในคดีอาญา (ฎ. 90-2/4

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม