Recent Posts

Posts RSS

อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ (มาตรา22) พรบ ล้มละลาย

มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลุกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

4.1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จไป--(โปรดสังเกตว่า คดีล้มละลายมีลักษณะเป็นการชำระบัญชี มุ่งถึงถึงการที่จะไปจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยเร็ว—ส่วนคดีฟื้นฟูกิจการนั้นมุ่งหมายรักษาองค์กรทางธุรกิจ รักษากิจการให้ดำเนินต่อไปได้)
4.1.1) การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จไป
4.1.1.1) กรณีเรื่องความรับผิดในภาษีอากรสำหรับที่ดินของลูกหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์—เช่น หลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ซึ่งต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามพรบ.โรงเรือนและที่ดิน เช่นนี้ เมื่อเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลุกหนี้ตาม 22(1)แล้ว เป็นผลให้จ.พ.ท.ต้องนำเอาเงินหรือเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระภาษีแทนลูกหนี้ หากจ.พ.ท.ไม่ชำระย่อมถูกฟ้องให้รับผิดได้(สังเกต กรณีเช่นนี้เป็นการเกิดหนี้โดยผลของกฎหมายภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์แล้ว จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้)
4.1.1.2) กรณีสัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างของลูกหนี้ที่ถูกบอกเลิกการจ้างในภายหลัง เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว—กรณีเช่นนี้ จ.พ.ท.มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม22(1) และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลุกหนี้ต่อไป ดังนั้น หากเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้นเช่น เงินค่าชดเชย จ.พ.ท.มีหน้าที่เอาเงินของลูกหนี้ชำระ
-ข้อสำคัญ การที่มาตรา22 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตัวเองต่อไป แต่มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไปด้วย(ฎีกา418/46 วินิจฉัยว่า ลูกหนี้ยังยังมีสิทธิจัดการทรัพย์มรดกของผู้อื่นเช่น ต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกได้)

4.1.2) การจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้
-เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของลุกหนี้ซึ่งตกเป็นบุคคลล้มละลายโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อมาตรา22 ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งตกเป็นบุคคลล้มละลายและมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากลูกหนี้ของลูกหนี้ฯ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีตาม57(1)-ฎีกา879/49,ฎีกา7660/49

4.2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากผู้อื่น
-เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ฯแล้ว จ.พ.ท.แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลุกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม22(2) โจทก์ในคดีล้มละลายไม่มีอำนาจขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากภายหลังที่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในคดีแพ่งไปแล้ว ไปรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
4.2.1) ที่ดินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายซึ่งเป็นคนต่างด้าว—เมื่อคนต่างด้าวล้มละลาย จ.พ.ท.ของผู้ล้มละลายก็ย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้
4.2.2) สิทธิในการบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์—สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาของโจทก์ที่จะบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระค่าเช่าและขับไล่ออกจากห้องเช่าย่อมตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
4.2.3) ความที่ว่า ทรัพย์สินซึ่งลุกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
-ลูกหนี้ผู้ล้มละลายกู้เงินจากโจทก์แล้วนำไปให้สมาชิกของลูกหนี้กู้ แล้วสมาชิกเอาเงินที่กู้มานั้นไปให้ผู้อื่นกู้ยืมต่อ เช่นนี้ ผู้อื่นนั้นมิใช่ลูกหนี้ของผู้ล้มละลาย จ.พ.พท.ไม่มีอำนาจเรียกร้องให้ผู้อื่นชำระเงินดังกล่าว-ฎีกา1911/23
-ลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้ก. ก.เป็นเจ้าหนี้ค. เช่นนี้ จ.พ.ท.จะอายัดสิทธิเรียกร้องที่ก.เป็นเจ้าหนี้ค.ไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้-ฎีกา2572/19

4.3) ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
---หลักคือ การดำเนินการตาม22(3)เหล่านี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการแทน ต้องเป็นการดำเนินการในคดีอื่นที่มิใช่คดีล้มละลาย ถ้ามีการโต้แย้งกระบวนพิจาณราใดๆในคดีล้มละลายที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์อยู่หรือลูกหนี้ถูกพิพากษาล้มละลายอยู่ ลูกหนี้ย่อมมีอำนาจ เช่น จ.พ.ท.นำทรัพย์ลูกหนี้ไปขายทอดตลาด ลูกหนี้ย่อมีสิทธิคัดค้านว่าขายทอดตลาดต่ำเกินไปหรือคบคิดกันฉ้อฉลเพราะเป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของจ.พ.ท.ในคดีล้มฯนั้นเอง
-กรณีภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ ถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4.3.1) ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เพราะพรบ.ล้มฯมาตรา22บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
-ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งด้วยตนเอง เป็นการไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบฯ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิแพ่ง142(5)
-ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของจ.พ.ท. การที่จ.พ.ท.จะใช้สิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งดังกล่าวหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของจ.พ.ท.ที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้(สังเกตแนวฎีกาเป็นไปในทำนองว่า เป็นดุลพินิจของจ.พ.ท.(มิใช่บทบังคับ)ที่จะดำเนินการฟ้องร้องหรือประนีฯหรือดำเนินการอย่างใดหรือไม่ตาม22(3))
-การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เป็นการต่อสู้คดีใดๆหรือกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นอำนาจของจ.พ.ท.เท่านั้น
4.3.2) อำนาจประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้องและต่อสู้คดีที่จ.พ.ท.มีอำนาจกระทำการแทนลูกหนี้แต่ผู้เดียวตาม22(3) นั้นจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงการดำเนินคดีอาญา(ไม่ว่าลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์อยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย)
4.3.3) คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เลิกสัญญาซื้อขายทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จ.พ.ท.คืนเงินมัดจำซื้อทรัพย์ให้แก่ผู้ร้อง จ.พ.ท.ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อไปได้ เพราะจ.พ.ท.มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลุกหนี้ รวมทั้งกระทำการต่างๆในฐานะลูกหนี้อีกฐานะหนึ่ง(ฎีกา848/52นี้ ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้อ้างว่าจ.พ.ท.ผิดสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจ.พ.ท.มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จ.พ.ท.คืนเงินมัดจำแก่ผู้ร้องได้-เป็นการต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม22(3))
4.3.4) การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลุกหนี้ผู้ล้มละลายโอนที่ดินคืนและรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์ตามข้อตกลงกับขอให้ขับไล่นั้น เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ต้องฟ้องจ.พ.ท.ของลูกหนี้เป็นจำเลยตาม22(3) โดยต้องยื่นต่อศาลที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตตามป.วิแพ่ง4ทวิ(สังเกต ตามฎีกา1517/25นี้ เป็นหนี้กระทำการตามสัญญาต่างตอบแทน มิใช่หนี้เงินที่จะขอรับชำระหนี้ได้ตาม27,91)
4.3.5) มาตรา22,24และ25 ไม่ห้ามลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินคดีอาญาต่อไป หรือเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์(และหมายเหตุ ศาลสามารถลงโทษปรับ(โทษทางอาญา)จำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ได้-ฎีกา3920/49)
4.3.6) มาตรา22,24และ25 ไม่ห้ามบุคคลล้มละลายที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย(ฎีกา6323/47 วินิจฉัยว่า การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้อง(ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์)ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มล้มละลาย ไม่เป็นการต้องห้ามตาม22,24และ25)

0 ความคิดเห็น

คำให้การในคดีแพ่ง

ข้อ ๑ ... จำเลยขอให้การปฏิเสธตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งจะได้กราบเรียนต่อศาลดังนี้
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
.............(.คำให้การต้องอ้างเหตุผลเสมอ เช่นอายุความจะอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดดๆไม่ได้ต้อง
อ้างว่าขาดอายุความอย่างไรต้องให้ละเอียดถึงวัน เดือน ปี )...................................................................
...........................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
( วรรคต่อมาย่อหน้า ) ด้วยเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนศาลมาข้างต้น ขอศาลได้โปรด
พิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย



ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ...........................................................จำเลย
คำให้การฉบับนี้ข้าพเจ้านาย/นางสาว....................................ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียง/เขียน
ลงชื่อ...........................................................ผู้เรียง /เขียน

0 ความคิดเห็น

คำร้องขอเลื่อนการพิจารณา

ข้อ ๑. คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ว่าขับขี้รถยนต์โดยประมาทด้วยความเร็วเข้าชนรถยนต์ของโจทก์ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายและมีผู้บากเจ็บ และฟ้องจำเลยที่ ๒ ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ ๑ คดีนี้จึงมีประเด็นว่าจำเลยประมาทหรือไม่
เนื่องจากพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ ศาลจังหวัด................ คดีหมายเลขดำที่ ................ ในฐานความผิด ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายและจิตใจ ทรัพย์สินเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๐ และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๓,๑๕๗ ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ซึ่งในคำพิพากษาส่วนแพ่ง จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖

อาศัยเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงขอศาลได้โปรดเลื่อนการนั่งพิจารณาไปก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือชี้ขาดในประเด็นนั้นๆ ในคดีอาญาแล้ว ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

0 ความคิดเห็น

คำแถลงขอปิดหมายข้ามเขต

ข้อ๑.คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยวันนี้
เนื่องจากจำเลย มีภูมิลำเนาอยู่แนอน ณ บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ ปรากฏตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรซึงแนบมาท้ายคำแถลงนี้ ดังนั้น ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย หากไม่พบจำเลยหรือพบจำเลยแต่จำเลยไม่ยอมรับหรือไม่มีบุคคลโดยชอบรับไว้แทนจำเลย ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยด้วย

อนึ่งจำเลยนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัด....................................... โจทก์จึงขอเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามระเบียบโดยแนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์จำนวน ๑ ฉบับ เป็นเงิน ....................................... บาท มาพร้อมคำแถลงนี้แล้ว





ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ ....................................... ผู้แถลง

คำแถลงฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวอุบล ศรวิเชียร ทนายความโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ ....................................... ผู้เรียงและพิมพ์

0 ความคิดเห็น

แนวข้อสอบตั๋วทนายภาคปฏิบัติ (ปรนัย) 2

ศาลแรงงาน
การเตรียมคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน
- เป็นการพิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. ( นจ. = คนที่ให้ทำงาน และจ่ายค่าจ้าง ลจ. = ผู้ที่ตกลงทำงานให้ และได้ค่าจ้าง )
- ศาลแรงงาน (ม.3) คือ ศาลที่พิจารณาพพษ คดีแรงงาน ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค ศาลแรงงานจังหวัด จัดตั้งวันที่ 24 เม.ย. 2524
- คดีแรงงาน (ม.8) คือ คดี่ที่พิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. เรื่องเกี่ยวกับการจ้าง/การทำงาน รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามกม.แรงงาน เช่น ฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าจ้าง
- ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท การกระทำอันไม่เป็นธรรม (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.121-123) เช่น การที่นจ.กลั่นแกล้งลจ. ไม่ให้สิทธิตามกม.แรงงาน เช่น
การตั้งสหภาพแรงงาน ห้ามเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องร้องต่อคณะกก.แรงงานสัมพันธ์ก่อน ถ้าไม่พอใจจึงมาฟ้องต่อศาลแรงงาน ภายใน 30 วัน
ถ้าเป็นนจ. ต้องนำเงินวางต่อพนง.ตรวจแรงงาน + ดอกเบี้ยก่อน 15 %ต่อปี จึงจะมีอำนาจฟ้อง
- คดีเป็นคดีแรงงานหรือไม่ (ม.9) ถ้าคู่ความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน ให้อธิบดีผู้พพษศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งนี้เป็นที่สุด
- ฟ้องศาลแรงงานในท่องที่ที่มูลคดีเกิด (ศาลหลัก) / ศาลที่โจทก์/จล.มีภูมิลำเนา (ศาลยกเว้น) ต้องอ้างค.สะดวก
- สถานที่ลจ.ทำงาน ถือเป็นสถานที่มูลคดีเกิด เช่น นจ.อยู่กทม. มีโรงงานอยู่ที่ลำพูน ลจ.มีภมิลำเนาอยู่เชียงใหม่ ลจ.ฟ้องที่ศาลจ.ลำพูน ศาลจ.ลำพูนส่ง
ศาลแรงงานภาค5 (เชียงใหม่) ผู้พพษแรงงานภาคเท่านั้นมีอำนาจในการสั่งรับฟ้อง
- การนั่งพิจารณา อาจนั่งพิจารณาที่ศาลแรงงานภาค /ศาลแรงงานจังหวัดก็ได้
- การร่างฟ้องในคดีแรงงาน (ม.3 + ม.172 ปวพ.) แนะนำว่าโจทก์คือใคร, จล.คือใคร, นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจล./นิติเหตุ , ถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไร
ค.เสียหาย , คำขอ (ม.42 + ม.142 ปวพ.) ศาลอาจให้เกินคำขอได้ การบรรยายฟ้องต้องสัมพันธ์กับคำขอ
- แบบฟอร์ม รง.1 ฟ้องทั่วไป รง.2 คำร้องให้กรรมการลจ.พ้นจากตำแหน่ง ใช้ฟอร์มศาลแรงงาน/ศาลแพ่งก็ได้ ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ฟ้องเป็นนส./วาจาก็ได้ ไม่มีค่านำส่งเอกสาร (ม.26 ขยาย/ย่นระยะเวลาก็ได้)
- การปิดหมาย คดีแรงงานส่วนใหญ่มีผลทันที ขอขยายได้แม่พ่นระยะเวลาไปแล่ว
- คำให้การ ต้องชัดแจ้งพร้อมด้วยเหตุผล ให้การเป็นนส./วาจาก็ได้ (ยื่นมาก่อน/มาแถลงต่อศาลในภายหลัง)
- อายุความในการฟ้องเรียกค่าจ้าง 1 ปี, อายุความในการฟ้องเรียกค่าชดเชย 10 ปี
- วันนัดพิจารณา (ม.37) โจทก์จล.ต้องมาศาล คดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน โดยนัดวันพิจารณาให้เร็วที่สุด
- คดีแรงงานเป็นการไกล่เกลี่ย โดยจะไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความ/ลับหลังคู่ความฝ่ายใดฝายหนึ่งก็ได้ จะต้องไกล่เกลี่ย ทุกคน ทุกวิธี ทุกเวลา
ถ้าไม่ไกล่เกลี่ยกระบวนพิจารณาจะไม่ชอบ แม้เขียนคำพพษ แต่ยังไม่ได้อ่านก็ไกล่เกลี่ยได้
- เมื่อไกล่เกลี่ยแล้ว อาจถอนฟ้อง /ทำส.ประนีประนอมยอมความ + พพษตามยอม + คำบังคับ
- ถ้าตกลงกันไม่ได้ ทำรายงานกระบวนพิจารณากำหนดปด.ข้อพิพาท หน้าที่นำสืบ วันสืบพยาน อ่านให้ฟังและให้คู่ความลงชื่อ
- วันสืบพยาน ต้องอ้างและยื่นบัญชีพยาน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลกำหนดให้มีการสืบพยาน อ้างเพิ่มเติมได้ก่อนวันสืบพยาน แต่อาจอ้างเพิ่มเติมทีหลังได้
ศาลจะใช้ดุลพินิจในการอนุญาต
- การขาดนัด - การขาดนัดวันนัดสืบพยาน คือ มาแล้วในวันนัดพิจารณา แต่ไม่มาในวันนัดสืบพยาน เมือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาล ให้ศาลพิจารณาคดี
ไปฝ่ายเดียว ฝ่ายที่ขาดนัด อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลส่งคำบังคับ
- การขาดนัดพิจารณา หากโจทก์ไม่มา ศาลสั่งจำหน่ายคดี ถ้าจล.ไม่มา ศษลมีคำสั่งขาดนัด จะตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว หากขาดทั้งคู่
ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- การสืบพยาน ศาลจะสืบพยานตามปด.ข้อพิพาท โดยอาจเรียกพยานมาสืบเอง/อนุญาตให้คู่ความนำพยานที่ไม่ได้อ้างมาสืบ (ม.45)
ศาลเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน โดยศาลจะเป็นผู้ถามพยาน ทนายความจะถามได้เมื่อศาลอนุญาต เป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่ศาล
- ศาลบันทึกคำพยานโดยย่อ (ทางปฏิบัติ ทำโดยละเอียด)
- คดีแรงงาน อุทธรณ์ได้เฉพาะ ปัญหาข้อกม. ข้อเท็จจรงอุทธรณ์ไม่ได้
- องค์คณะในศาลแรงงาน ผู้พพษในศาลแรงงาน + ผู้พพษสมทบฝ่ายนจ. + ผู้พพษสมทบฝ่ายลจ. ฝ่ายละเท่ากัน มีเสียงเท่ากัน
- การยื่นคำร้อง ศาลสั่งคนเดียวได้ เพราะไม่ใช่การนั่งพิจารณา
- ผู้พพษสมทบต้องนั่งพิจารณาจนเสร็จ เว้นแต่ป่วยเจ็บ จึงหาคนอื่นมาแทนได้
- การคัดค้านผู้พพษฝ่ายสมทบก็สามารถกระทำได้ โดยผู้พพษสมทบมาจากการเลือก มีฐานะเป็นจพง.ตามกม. นอกจากนี้อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ค.เห็นได้
- ศาลอาจฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนได้ โดยดูจากสภาพศก. และสังคม
- การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ม.49) คือ การเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุเกี่ยวกับการทำงาน หรือมีเหตุเกี่ยวกับการทำงานแต่ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง
- คำพพษทำเป็นหนังสือ มีข้อเท็จจริง ฟังได้โดยสรุป วินิจฉัยในแต่ละประเด็น พร้อมด้วยเหตุผล
- คำพพษเกินคำขอได้ เพื่อป.ย.แห่งค.ยุติธรรม ดอกเบี้ยในคดีแรงงาน 15% ต่อปี หากขอมาแค่ 7.5% ศาลให้เกินคำขอได้ คือให้ 15%
- คำพพษผูกพันคนที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกันได้ นอกจากลจ. นจ. คนที่ฟ้อง
- สำเนาคำพพษส่งกรมแรงงาน โดยศษลต้องอ่านคำพพษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการพิจารณา
- การอุทธรณ์ อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพพพษ /คำสั่งนั้น
- อีกฝ่ายต้องแก้อุทธรณ์ ภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับสำเนา
- การอุทธรณืไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี เว้นแต่ศาลฎจะอนุญาต ศาลฎ ต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลแรงงานฟังมา ถ้าไม่พอให้ย้อนไปฟังใหม่ได้

0 ความคิดเห็น

แนวข้อสอบตั๋วทนายภาคปฏิบัติ (ปรนัย)

ศาลปกครอง
การแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีปกครองของศาล
- ศาลปกครองมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
- เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครอง
- คู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ (หน่วยงานของรัฐ, เจ้าหน้าที่รัฐ)
- ระบบการพิจารณาพิพากษาคดี ต้องต่างจากกรณีปกติ เพราะรัฐได้เปรียบเก็บพยานหลักฐานทุกอย่างไว้
- การพิจารณาคดีเป็นระบบไต่สวน
- การยื่นฟ้องไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
- การสืบพยานต้องทำเป็นหนังสือ จะเอาพยานบุคคลมาเบิกความขัดแย้งกับเอกสารของทางราชการไม่ได้
- คู่กรณี เรียกว่า ผู้ฟ้องคดี กับ ผู้ถูกฟ้องคดี
- หากข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลจะแจ้งไปยังคู่กรณีว่า จะกำหนด “วันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง” โดยมีขึ้นเพื่อคานอำนาจระหว่างตุลาการเจ้าของ
สำนวน กับตุลาการนอกคดี / ตุลาการหัวหน้าคณะ
- ให้ยื่นฟ้องคดีทางไปรษณีย์ตอบรับได้ ต้องแนบหลักฐาน + หนังสือมอบอำนาจ + บัตรประชาชน โดยอายุความจะสะดุดหยุดลงในวันที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์
- ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้
- ระยะเวลาการฟ้องคดี 90 วัน /1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
- บางคดี ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ให้ดำเนินคดีต่อไป เพราะบางกรณีเป็นประโยชน์ สาธารณะ ถ้าเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตน ถอนได้
- การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลอาจให้ทำคำแถลงเป็นหนังสือ โดยยื่นก่อนวันนัด (ต้องทำคำแถลงเป็นหนังสือ จึงจะแถลงด้วยวาจาได้ซึ่งต้อง
ภายในขอบเขตของคำแถลงเป็นหนังสือเท่านั้น)
- การอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ ไปยังศาลปกครองสูงสุด ภายใน 30 วัน ศาลขยายให้ไม่ได้
- การบังคับคดี เมื่อศาลตัดสินไปแล้ว ต้องให้คำพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่ต้องออกคำบังคับ/หมายบังคับคดี
- การจ่ายเงินเป็นไปตามมติครม. จะทำการยึดทรัพย์ของหน่วยงานไม่ได้ แต่หากเป็นหนี้กระทำการ / งดเว้นกระทำการ หน่วยงานของรัฐทำได้แม้ไม่มีมติ ครม.
- ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนไม่ได้
- กรณีเป็นผู้เยาว์ อายุ 15 ปีขึ้นไป ฟ้องคดีด้วยตนเองได้
- ค่าธรรมเนียมศาล ไม่เกิน 2.5% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีขอให้ใช้เงิน/ ส่งมอบทรัพย์สิน
- ถ้ายากจน/ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
- การขอคุ้มครองชั่วคราวขอได้ ออกคำสั่งให้ปฏิบัติ มีผลทันที แต่หากจะขอทุเลาการบังคับคดีต้องดูว่า คำสั่งทางปกครองนั้น กระทบถึง การบริหารราชการแผ่นดิน +
การบริหารสาธารณะ หรือไม่
การเตรียมและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครอง
- ในคดีปกครอง เรียกว่า คู่กรณี = ผู้ฟ้องคดี + ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ได้รับค.เดือดร้อน) , ระยะเวลาการฟ้องคดี (อายุความ) ,ตุลาการศาลปกครอง (ผู้พิพากษา)
- หน่วยงานทางปกครองได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ตามพรบ.,พรฎ. องค์การมหาชน เอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
เช่น สภาทนายความ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ปปช. คตง.
- การยื่นฟ้อง ภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี / สถานที่เกิดเหตุ
- องค์คณะ 3 คน จ่ายตามความเชี่ยวชาญ และแต่งตั้งตุลาการผู้แถลงคดี คนใดคนหนึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ทำการตรวจสำนวน และคำชี้แจง จึงมีคำสั่งรับฟ้อง
- ส่งหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำฟ้อง
- ส่งสำเนาคำให้การ ให้ผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ ถ้าไม่ประสงค์คัดค้าน ให้แถลงต่อศาลภายในกำหนด มิฉะนั้น ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- ผู้ถูกฟ้อง ทำคำให้การเพิ่มเติมได้
- การไต่สวน / การแสวงหาข้อเท็จจริง ถ้าไม่พอ ศาลแสวงหาได้ โดยเรียกพยานบุคคล / พยานเอกสารมา
- เขตอำนาจศาลปกครอง (ม.9)
1. คดีฟ้องให้เพิกถอนกฎ/คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกม. หลักทั่วไป ฟ้องครั้งแรกที่ศชต. หากเป็นกฎที่ออกโดยครม. ฟ้องครั้งแรกที่ ศาลปกครองสูงสุด
2. จนท.ของรัฐกระทำการทางกายภาพ เช่น สร้างสะพานลอย ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
3. หน่วยงานทางปกครองละเลย/ล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ต้องมี กม.กำหนด อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองเอาไว้ มีได้ 2 กรณี คือ มีกม.กำหนดหน้าที่ไว้เป็นการทั่วไป และหน้าที่เกิดเพราะมีคนมายื่นคำขอ
ระยะเวลาในการฟ้องคดี
( กรณีล่าช้า)
4. การกระทำละเมิดทางปกครอง อปก. 2 ประการ 1.เป็นการกระทำละเมิด (ม.420 ปพพ.) 2.เกิดจากการใช้อำนาจตามกม. โดยจะต้องฟ้องฟ้องทั้ง 2 อย่างภายใน 90 วัน
5. ความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกม. /จากกฎ คำสั่งทางปกครอง /คำสั่งอื่น /จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กม. กำหนดให้ต้องปฏิบัติ /
ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เกินสมควร
6. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นเรื่องที่รัฐทำสัญญากับเอกชน แยกส.ทางปกครอง ออกจากส.ทางแพ่ง
ส.ทางปค. = คู่ส.ฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปค. /ตัวแทนของหน่วยงานทางปค. + ส.สัมปทาน ,ส.ให้จ้ดทำบริการสาธารณะ,ส.จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค,ส.
ซ่อมแซมปรับปรุง,ส.แสวงหาปย.จากทรัพยากรธรรมชาติ + ส.ที่รัฐมีอำนาจเหนือเอกชน +
ส.ที่เอกชนเข้าร่วมดำเนินการจัดทำสาธรณูปโภค
- ตย.สัญญาทางปกครอง และไม่ใช่ส.ทางปค.
- ส.ซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์ ? แต่หากซื้อทั้งระบบคอมพิวเตอร์ ?
- ส.ซื้อเรือรบ เรือตรวจการ ? ส.การศึกษาต่อกับทางราชการ? ส.ค้ำประกันการศึกษาต่อ ? ส.จ้างออกแบบและควบคุมงาน ?
- ส.ให้เช่าที่ราชพัสดุ ? องค์การคลังสินค้าให้กู้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าในราคาประกัน ? ส.จ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ? ส.จ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ?
7. คดีที่มีกม. กำหนดให้ฟ้องศาลปค. เช่น กม.เดินเรือในน่านน้ำไทย
8. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกม. กำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปค.

เงื่อนไขในการฟ้องคดีปค.
1.ต้องเป็นคำฟ้องที่มีสาระสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ตามเนื้อหาที่ระบุใน ม.45 มีชื่อผู้ฟ้อง ชื่อหน่วยงานทางปค. การกระทำ และคำขอท้ายฟ้องที่อยู่ในอำนาจศาล
ทำเป็นหนังสือ ทำสำเนาตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีปค.ไม่มีฟ้องเคลือบคลุม
2. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3. ต้องได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนครบขั้นตอนตามที่กม.กำหนดแล้ว เฉพาะคำสั่งทางปค.ที่ต้องอุทธรณ์ การอุทธรณ์เป็นไปตามกม.เฉพาะ
หากไม่มีกม.เฉพาะ ใช้พรบ.วิธีปฏิบัติ
4. ต้องเป็นฟ้องที่ชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้อง /ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
5. ต้องเป็นฟ้องที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา
6. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีค.สามารถตามกม.
7. ต้องมีคำสั่งทางปค. /กฎในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้น ไม่ใช่เพียงมติ / นส.เวียน
8. ต้องไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ดำซ้ำ
9. ต้องเป็นคำฟ้องที่ มีการแก้ไขค.เดือดร้อนที่เป็นต้องมีคำบังคับของศาล

การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้รับมอบอำนาจ หรือทนายความในคดีปกครอง

- คดีปกครองไม่ส่งเสริมวิชาชีพทนายความ กล่าวคอ ไม่มีทนายความก็ได้ แต่ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะมีทนายความ
- การดำเนินคดีปกครอง อาจดำเนินคดีด้วยตนเอง /มอบอำนาจให้ทนายความ /มอบอำนาจให้ผู้อื่น
- การมอบอำนาจใช้นส.มอบอำนาจทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ตามป.รัษฎากร
- ทนายความทำได้ภายในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจ ทนายความเป็นตัวทนของตัวความซึ่งเป็นตัวการ ทั้งยังต้องคำนึงถึงข้อบังคับของทนายความด้วย
- การฟ้องคดีทำได้เมื่อมีการมอบอำนาจเป็นการเฉพาะ
- ทนายความมีสิทธิได้รับบำเหน็จ หากมีหลายคนต้องร่วมกันทำงาน จะทำแยกกันไม่ได้
- ถ้าเป็นทนายความคดีปกครองอยู่ แล้วถูกเพิกถอนใบอนุญาต ยังสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ หากลูกความไม่ถือการเป็นทนายความเป็นสาระสำคัญของคดี
- หากมีผู้ฟ้องคดีหลายคน อาจตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ การกระทำของผู้แทนผูกพันทุกคน ( ผู้แทนของผู้ฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ฟ้องคดีด้วย) ใช้ใบมอบอำนาจหรือ
ระบุในคำฟ้องก็ได้
- คู่กรณี หมายความรวมถึงทนายผู้รับมอบอำนาจด้วย

0 ความคิดเห็น

หลักการทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

หลักการทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เป็นเอกสารที่เจ้าหนี้ หรือผู้ที่จะใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งในทางกฎหมาย บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ หรือบุคคลที่ทำให้เสียสิทธิใดๆ รับทราบว่าตนจะต้องปฏิบัติตามคำบอกกล่าว อีกทั้ง เป็นเอกสารที่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าก่อนการดำเนินคดีใดๆ ต้องได้มีการบอกกล่าวไปยังลูกหนี้เสียก่อน
หลักสำคัญในการจัดทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม มี 7 ประการ ดังนี้
1. สถานที่ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
2. วันเดือนปี ที่ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
3. เรื่อง (ชื่อเรื่องต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม)
4. เรียน (ชื่อลูกหนี้ หรือบุคคลที่ถูกบอกกล่าว)
5. อ้างถึงเอกสารทางนิติกรรม หรือเอกสารสิทธิใดๆที่จะบอกกล่าวทวงถาม
6. เนื้อหา (ส่วนใหญ่จะมีสอง หรือสามย่อหน้า แล้วแต่กรณีๆไป)
- ย่อหน้าแรก นิติสัมพันธ์เป็นอย่างไร
- ย่อหน้าที่สอง ลูกหนี้ หรือบุคคลที่ถูกบอกกล่าว ได้ปฏิบัติผิดนัด หรือผิดสัญญาอย่างไร
- ย่อหน้าที่สาม เจ้าหนี้ หรือผู้บอกกล่าว มีความประสงค์อย่างไร
7. ลงท้ายหนังสือบอกกล่าว

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม