JOB Ratchakarn
การประนีประนอมยอมความ
เขียนโดย small ที่ 07:19
สัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๕๐-๘๕๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
มาตรา ๘๕๐ บัญญัติว่า “การประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนให้แก่กัน”
มาตรา ๘๕๑ ใจความสำคัญ คือ สัญญาประนีประนอมจะใช้บังคับกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลงลายมือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องต่อศาลได้
มาตรา ๘๕๒ ใจความสำคัญ คือ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ คือ ทำให้การเรียกร้อง ซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละได้ระงับลง และได้สิทธิใหม่ตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความ
การประนีประนอมยอมความเกิดได้อย่างไร
การประนีประนอมยอมความเกิดได้ ๒ ทาง
(๑) โดยตัวคู่ความเอง เมื่อข้อพิพาทเกิดขึ้นไม่ว่าเพิ่งเริ่มเกิดหรือเมื่อนำข้อพิพาทยื่นฟ้องต่อศาลแล้วก็ตารมอาจเกิดสถานการณ์ที่เหมาะสมที่เอื้ออำนวยให้คู่ความสองฝ่ายโอนอ่อนเข้าหากันทำนองต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันสั้นยาวให้แก่กันคู่ความทั้งสองฝ่ายอาจตกลงใจกันทำสัญญายอมความกันได้ด้วยตัวของคู่ความเองก็ได้
(๒) โดยการไก่เกลี่ยของบุคลทีสาม เมื่อเกิดมีข้อพิพาทขึ้นระหว่างคู่ความสองฝ่ายจะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในการป้องกันตนเองตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของตน มนุษย์จะเกิดความคิดเข้าข้างตนเองและจะเกิดความรู้สึกโกรธที่สิทธิของตนเองถูกล่วงละเมิด โดยเฉพาะความรู้สึกของผู้สูญเสีย โดยธรรมชาติข้อนี้ทำให้คู่ความมักจะยึดมั่นในจุดยืนของตนเองว่าต้องเป็นอย่างที่ตนคิดหรือคาดการณ์ไว้และจะไม่ยอมโอนอ่อนแม้จะถูกเจรจาต่อรองจากฝ่ายตรงข้าม สภาพดังกล่าวยิ่งจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงถ้าหากต่างฝ่ายต่างก็ถือว่าตนเองเป็นฝ่ายที่ถูกต้องมากกว่า ความขัดแย้งทำให้เกิดอารมณ์เข้ามาแทรก ยงถ้าหากได้แรงยุแหย่จากบุคคลอื่น สภาพอารมณ์จะยิ่งรุนแรง ทิฐิมานะการรักษาศักดิ์ศรีจะเกิดตามมาทำให้จุดยืนเหนียวแน่น ยากแก่การเจรจาต่อรอง
ด้วยเหตุดังกล่าวหากมีบุคคลที่สามารถเข้ามาเป็นกาวใจ โดยสามารถเข้าไปนั่งในหัวใจของทั้งสองฝ่ายได้อย่างสนิทแนบแน่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ตั้งใจและเป็นกลางอย่างแท้จริงบุคคลที่สาม ก็สามารถจะโยกคลอนจุดยืนของแต่ละฝ่ายให้อ่อนโอนลงมาหากันได้จนสุดท้ายต่างฝ่ายต่างพบทางออกของปัญหาที่ก่อนนั้นเป็นทางตันจนสามารถตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ในลักษณะต่างฝ่ายต่างพอใจในที่สุด
ประเภทของการประนอมยอมความ
การประนีประนอมยอมความนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ
(๑) การประนีประนอมยอมความนอกศาล
(๒)การประนีประนอมยอมความในศาล
การประนีประนอมยอมความนอกศาล เป็นกรณีที่ผู้มีข้อพิพาทต่อกันได้ทำความตกลงกัน ซึ้งอาจเป็นกรณีที่คู่กรณีพิพาทได้เจรจาทำความตกลงกันเองหรือมีองค์กรบุคคลภายนอกเข้าดำเนินการเป็นคนกลางทำการไกล่เกลี่ยก็ได้จนในที่สุดสามารถทำความตกลงกันได้ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้
การประนีประนอมยอมความในศาล เป็นกรณีที่เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นได้นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล และในระหว่างที่ศาลกำลังพิจารณาคดีดังกล่าวอยู่ คู่กรณีได้ทำความตกลงกันได้ในข้อพิพาทดังกล่าว ทำให้ข้อพิพาทที่มีอยู่นั้นสิ้นสุดลงจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันขึ้นแล้วเสนอให้ศาลพิจารณา ซึ่งเมื่อศาลเห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายศาลก็จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่ได้ยอมความกันดังกล่าว
ฟ้องซ้อน 173 วรรค 2 (1)
เขียนโดย small ที่ 07:17
มาตรา 173 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น
หลักเกณฑ์สำคัญ
คำว่า “ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น” หมายความว่าโจทก์จะยื่นคำฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อศาลนั้นไม่ได้หรือต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
1. ห้ามโจทก์ฟ้อง
2. ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3. ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4. คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
5. ไม่จำกัดศาลว่าต้องเป็นศาลเดียวกัน
หลักเกณฑ์ข้อที่ 1 โจทก์หมายถึง
1. โจทก์เดิม
2. จำเลยผู้ฟ้องแย้ง ซึ่งมีฐานนะเป็นโจทก์ในคำฟ้องแย้ง
3. ผู้ร้องขัดทรัพย์ เพราะเมื่อมีการร้องขัดทรัพย์ ในคดีร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องเป็นโจทก์ โจทก์เดิมเป็นจำเลย
4. ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (1) เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 มีฐานะเป็นโจทก์เช่นกัน
5. ผู้ร้องสอดโดยสมัครใจตามมาตรา 57(2)
หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายคดีก่อน และคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน ต้องเป็นโจทก์ จำเลยคนเดียวกันรวมทั้งผู้สืบสิทธิ ถ้าพลัดกันเป็นโจทก์ เป็นจำเลยก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องฟ้องซ้อน
ฟ้องซ้ำ ม.148 วิแพ่ง
เขียนโดย small ที่ 07:16
มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
หลักเกณฑ์สำคัญ
มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกัน
ประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...