Recent Posts

Posts RSS

ฟ้องซ้อน 173 วรรค 2 (1)

มาตรา 173    เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง  ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา  และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น
หลักเกณฑ์สำคัญ
คำว่า   ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น”  หมายความว่าโจทก์จะยื่นคำฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อศาลนั้นไม่ได้หรือต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
1.            ห้ามโจทก์ฟ้อง
2.            ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3.            ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4.            คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
5.            ไม่จำกัดศาลว่าต้องเป็นศาลเดียวกัน



หลักเกณฑ์ข้อที่ 1  โจทก์หมายถึง
1.            โจทก์เดิม
2.            จำเลยผู้ฟ้องแย้ง  ซึ่งมีฐานนะเป็นโจทก์ในคำฟ้องแย้ง
3.            ผู้ร้องขัดทรัพย์  เพราะเมื่อมีการร้องขัดทรัพย์ ในคดีร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องเป็นโจทก์ โจทก์เดิมเป็นจำเลย
4.            ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (1)  เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ มีฐานะเป็นโจทก์เช่นกัน
5.            ผู้ร้องสอดโดยสมัครใจตามมาตรา 57(2)

หลักเกณฑ์ข้อที่  2    ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน     หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายคดีก่อน และคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  ต้องเป็นโจทก์ จำเลยคนเดียวกันรวมทั้งผู้สืบสิทธิ  ถ้าพลัดกันเป็นโจทก์ เป็นจำเลยก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องฟ้องซ้อน

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม