Recent Posts

Posts RSS

สาระสำคัญของคณะกรรมการลูกจ้าง

สาระสำคัญของคณะกรรมการลูกจ้าง วิธีการอย่างหนึ่งที่ลูกจ้างเข้าไปร่วมในการจัดการของฝ่ายนายจ้าง คือลูกจ้างเลือกผู้แทนของตนขึ้นในรูปคณะกรรมการลูกจ้างเพื่อร่วมปรึกษาหารือกับฝ่ายนายจ้าง จะขอยกตัวอย่างกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่สำคัญต่อลูกจ้างบางมาตราเท่านั้น
1. การจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง มาตรา 45 บัญญัติไว้ว่า “ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ ฯลฯ
2. จำนวนคณะกรรมการลูกจ้าง
2.1 สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 50-100 คน มีกรรมการลูกจ้างได้ 5 คน
2.2 สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 101-200 คน มีกรรมการลูกจ้างได้ 7 คน ฯลฯ
3. วาระของคณะกรามการลูกจ้าง กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจเลือกตั้งหรือแต่งตั้งซ้ำอีกกี่ครั้งก็ได้ ฯลฯ
4. การประชุมหารือ นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหรือกับคณะกรรมการลูกจ้างอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 3 เดือน หรือเมื่อลูกจ้างเกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องร้องขอโดยมีเหตุผลอันควร นายจ้างต้องจัดประชุมหรือกับคณะกรรมการลูกจ้างนั้นทันที
5. การคุ้มกันกรรมการลูกจ้าง มาตรา 52 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน”
6. ข้อห้ามให้สินบนกรรมการลูกจ้าง มาตรา 53 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างให้หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินแก่กรรมการลูกจ้าง เว้นแต่ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด โบนัส เงินปันผล หรือประโยชน์อื่นที่กรรมการลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามปกติในฐานะลูกจ้าง” เมื่อนักศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับ สภาพการจ้างงาน ให้ไปขอคำปรึกษาที่สำนักงานแรงงานจังหวัดในจังหวัดของท่าน หรือศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม