JOB Ratchakarn
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด
เขียนโดย small ที่ 23:24
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่เดิมถือว่ามีน้ำหนักน้อย เว้นแต่เป็นคำซัดทอดที่มีเหตุผล รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ (ฎ. 1325/42) แต่ตามมาตรา 227/1 ที่แก้ไขปี 2550 กำหนดให้ศาลต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่เป็นคำซัดทอดด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่มีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีหลักฐานอื่นมาประกอบสนันสนุน
ส่วนพยานหลักฐานประกอบนั้น หมายถึงพยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระจากพยานซัดทอด ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
หลักการรับฟังพยานซัดทอดดังกล่าวนี้ นำไปใช้กับการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน และพยานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้นด้วย
- ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยไม่โต้แย้ง ศาลรับฟังประกอบดุลพินิจของศาลในการจะลงโทษสถานใด เพียงใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อจำเลย (ฎ. 100/47, 4914/46) แต่ศาลจะนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ มาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ (ฎ. 2944/44, 2775/4
การรับฟังคำให้การในชั้นจับกุม หรือชั้นรับมอบตัว (มาตรา 84 วรรคท้าย)
1. ถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิด
- มาตรา 84 วรรคท้ายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยเด็ดขาด ดังนี้ การวินิจฉัยพยานหลักฐานของศาล ศาลไม่อาจหยิบยกคำรับสารภาพในชั้นจับกุมว่าจำเลยได้กระทำผิดมาประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้อีกต่อไป
- กรณีข้างต้น มิได้ห้ามรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วย ศาลจึงยังรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวน มาประกอบพยานหลักบานอื่นของโจทก์ ลงโทษจำเลย ได้ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการตามมาตรา 134/1-3 และมีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่งก่อน
2.ถ้อยคำอื่น
- ถ้อยคำที่มิใช่คำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิด ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อ มีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 83 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิจะไม่ให้การ หรือให้การก็ได้ และถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้ ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ...
- คำว่าถ้อยคำอื่น เช่น รับว่าอาวุธของกลางเป็นของตน หลังเกิดเหตุตนนำไปซุกซ่อนไว้ที่ใด หรือตนได้มาที่เกิดเหตุเพราะเหตุใด เป็นต้น
ส่วนพยานหลักฐานประกอบนั้น หมายถึงพยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระจากพยานซัดทอด ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
หลักการรับฟังพยานซัดทอดดังกล่าวนี้ นำไปใช้กับการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน และพยานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้นด้วย
- ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยไม่โต้แย้ง ศาลรับฟังประกอบดุลพินิจของศาลในการจะลงโทษสถานใด เพียงใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อจำเลย (ฎ. 100/47, 4914/46) แต่ศาลจะนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ มาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ (ฎ. 2944/44, 2775/4
การรับฟังคำให้การในชั้นจับกุม หรือชั้นรับมอบตัว (มาตรา 84 วรรคท้าย)
1. ถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิด
- มาตรา 84 วรรคท้ายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยเด็ดขาด ดังนี้ การวินิจฉัยพยานหลักฐานของศาล ศาลไม่อาจหยิบยกคำรับสารภาพในชั้นจับกุมว่าจำเลยได้กระทำผิดมาประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้อีกต่อไป
- กรณีข้างต้น มิได้ห้ามรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วย ศาลจึงยังรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวน มาประกอบพยานหลักบานอื่นของโจทก์ ลงโทษจำเลย ได้ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการตามมาตรา 134/1-3 และมีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่งก่อน
2.ถ้อยคำอื่น
- ถ้อยคำที่มิใช่คำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิด ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อ มีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 83 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิจะไม่ให้การ หรือให้การก็ได้ และถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้ ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ...
- คำว่าถ้อยคำอื่น เช่น รับว่าอาวุธของกลางเป็นของตน หลังเกิดเหตุตนนำไปซุกซ่อนไว้ที่ใด หรือตนได้มาที่เกิดเหตุเพราะเหตุใด เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น