Recent Posts

Posts RSS

วิธีการจดทะเบียนการได้มาประเภทมรดก

1. ให้ผู้ได้รับมรดกนำหลักฐานสำหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 พร้อมด้วยหลักฐานในการรับมรดก เช่น พินัยกรรม มรณบัตร สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ไปยื่นขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกมาได้

2. ให้ผู้ขอรับมรดก ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวในข้อ 1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

3. พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานและหากเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทก็จะประกาศการขอรับมรดกนั้น 60 วัน แม้เป็นการโอนมรดกตามพินัยกรรมก็ต้องประกาศด้วยเว้นแต่มีการจดทะเบียนตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลก่อนแล้ว และผู้จัดการมรดกโอนต่อให้ทายาทไม่ต้องประกาศ ประกาศนั้นให้ติดไว้ที่อำเภอสำนักงานที่ดิน ที่ทำการกำนัน บริเวณที่ดินแห่งละ 1 ฉบับ ส่งประกาศให้ทายาททุกคนที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็นทายาททราบเท่าที่จะทำได้

4. ถ้าไม่มีผู้โต้แย้ง ก็ให้จดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทตามที่ขอ

5. ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนคู่กรณีแล้วเปรียบเทียบประนีประนอมกันหากไม่ตกลงให้เจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควรแล้วแจ้งคู่กรณีทราบ ผู้ที่ไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ถ้ามีการฟ้องศาลให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้ก่อน เมื่อศาลพิพากษาจึงดำเนินการตามที่ศาลสั่ง

ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนมรดกถ้าเป็นการรับมรดกระหว่างบิดา มารดา บุตร สามี เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 50 สตางค์ของจำนวนทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าอากร

การเสียสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน

ผู้มีสิทธิในที่ดินอาจเสียสิทธิในที่ดิน ได้โดยที่ดินนั้นจะตกเป็นของรัฐในกรณีที่มีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้พื้นที่ดินรกร้างว่างเปล่าาเกินเวลาดังนี้

1. สำหรับที่ดินมีโฉนดที่ดินเกิน 10 ปี ติดต่อกัน

2. สำหรับที่ดินที่มี น.ส.3 เกิน 5 ปี ติดต่อกัน

โดยถือว่าผู้นั้นเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6)

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม