Recent Posts

Posts RSS

สัญญาจ้างแรงงาน

สัญญาจ้างแรงงาน
ทำที่……………………………………
………………………………………..
                                                                                         วันที่……….เดือน……………………….…………
                    หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท………………………..…………………………………..จำกัด
(ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่านายจ้าง”) กับนาย……………………………..……………………………………
หนังสือเดินทางเลขที่……………………………………………………….. (ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า"ลูกจ้าง")
อีกฝ่ายหนึ่ง   ตามรายละเอียดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
                    ข้อ 1.  นายจ้างตกลงว่าจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริษัทของนายจ้าง ณ ประเทศไทย
ตำแหน่ง…………………………………อัตราเงินเดือน……………….บาท (…………………………………)
มีกำหนดเวลา………………ปี
                    ข้อ 2.  ในระหว่างการจ้างตามสัญญานี้ ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับ
                         2.1 อาหารและที่พักอาศัยโดยนายจ้างเป็นผู้จัดหางานให้
                         2.2 การรักษาพยาบาลโดยนายแพทย์ของนายจ้าง หรือโดยโรงพยาบาลของรัฐบาล
                         2.3 วันหยุดพักผ่อน…………วัน เมื่อได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ………….ปี
                         2.4 เงินปันผลในอัตราร้อยละ 3 ของยอดกำไรสุทธิของนายจ้างในแต่ละปี
                         2.5 สำหรับกรณีที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ 1 ปี แล้วจะได้รับการพิจารณาเพิ่ม
เงินเดือนไม่เกินร้อยละ 5
                    ข้อ 3.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของนายจ้างโดยเคร่งครัด
                    ข้อ 4.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ และขยันหมั่นเพียร โดยปฏิบัติตาม
คำสั่งหรือข้อบังคับใด ๆ ของนายจ้าง  หรือผู้ควบคุมงาน ณ สถานที่ทำงานของตน
                    ข้อ 5.  ลูกจ้างจะต้องทำงานวันละ …………….ชั่วโมง สัปดาห์ละ…………..วัน โดยมีวันหยุดตาม
วันหยุดของทางราชการ  ลูกจ้างจะต้องทำงานล่วงเวลาตามที่นายจ้างกำหนดให้  โดยจะได้รับค่าจ้างล่วงเวลา
ส่วนการจ่ายนั้นให้เป็นไปตามระเบียบของนายจ้าง
                    ข้อ 6.  เงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนปกติแต่ละเดือนของลูกจ้าง จะถูกนายจ้างหักไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ของนายจ้างกรณีบอกเลิกของสัญญานี้  เนื่องมาจากการผิดสัญญาของลูกจ้างนายจ้างจะคืนเงินที่หักไว้ให้แก่
ลูกจ้างเมื่อได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ……………ปี แล้ว
                    ข้อ 7.  ลูกจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดของต่อตนเองในเรื่องความเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือตายอันเกิดจาก
ความประมาท หรือการผิด หรือการศีลธรรมของลูกจ้างเอง


                    ข้อ 8.  ในกรณีที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่จะออกงานนี้ เนื่องมาจากความจำเป็นส่วนตัวก่อนครบ
สัญญาจะกระทำมิได้  เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
                    ข้อ 9.  นอกจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างไม่มีสิทธิไปทำงานให้กับผู้อื่นอีกไม่ว่าจะ
เป็นการทำงานในวันหยุดหรือนอกเวลาการทำงานปกติก็ตาม
                    ข้อ 10.  ในกรณีที่ลูกจ้างได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของนายจ้างอันเกิดจากการ
ละทิ้งหน้าที่  หรือการทำผิดพลาดของตน  ลูกจ้างจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้ต่อความเสียหายนั้นด้วยค่าใช้จ่าย
ของตัวเอง
                    ข้อ 11.  ลูกจ้างรับรองว่าก่อนจะได้ลงนามในสัญญานี้ ตนได้รับรู้สภาพการอยู่อาศัย สภาพของ
งาน ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยซึ่งตนตกลงทำงานดีแล้ว
                    ข้อ 12.  สัญญานี้อาจถูกบอกเลิกในเวลาใด ๆ ก็ได้   หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาในระหว่าง
การจ้าง  หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย  ลูกจ้างจะต้องถูกส่งกลับประเทศของตนด้วยค่าใช้จ่าย
ของตนเอง
                   ข้อ 13.  รายละเอียดและเงื่อนไขของสัญญานี้ อาจมีการแก้ไขได้ตามความจำเป็น


ลงชื่อ………………………………………….นายจ้าง    ลงชื่อ…………………………………………ลูกจ้าง
    (……………………………………………..)                   (……………………………………………)

ลงชื่อ………………………………………….พยาน      ลงชื่อ…………………………………………พยาน
    (……………………………………………..)                   (……………………………………………)

0 ความคิดเห็น

ความผิดต่อเสรีภาพ (มาตรา 309)

(มาตรา 309 – 321)
76. ความผิดต่อเสรีภาพ (มาตรา 309) ต้องมีการขู่
ความผิดสำเร็จเมื่อ ผู้ถูกขู่.. ยอมทำตาม ด้วยความกลัว
(จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น)
ความผิดฐานพยายามต่อเสรีภาพ มีได้ 2 กรณี คือ
1) ผู้ถูกขู่ไม่ยอมทำหรือทำไม่ได้ หรือ
2) ผู้ถูกขู่ไม่กลัว
ข้อสังเกต ในกฎหมายอาญา ถ้ามีการขู่ต้องคู่กับกลัว, ถ้าหลอกจะคู่กับหลงเชื่อ (เช่น
ฉ้อโกง) มิฉะนั้นเป็นพยายามฆ่า
77. หน่วงเหนี่ยวกักขัง (มาตรา 310)
แจ้งความเท็จให้เจ้าพนักงานจับ
เจ้าพนักงานจับโดยดุลยพินิจ เจ้าพนักงานไม่สามารถใช้ดุลยพินิจ (คือต้องจับ)
ไม่มีความผิดฐานหน่วยเหนี่ยวกักขัง มีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
(มาตรา 310) (มาตรา 310)
78. พรากผู้เยาว์ (มาตรา 317 – 319)
สรุป มาตรา 317 เป็นกรณีพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี
ไม่ว่าผู้เยาว์นั้นจะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็มีความผิด
ส่วนมาตรา 318 เป็นกรณีพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี
โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยก็ไม่มีความผิดตาม มาตรา 318 นี้ แต่อาจจะมีความผิดตาม มาตรา 319
ถ้าพาไปเพื่อหากำหรหรือเพื่อการอนาจาร
ความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง
(มาตรา 326 – 333)
79. หมิ่นประมาท (มาตรา 326)
1) ต้องเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
การใส่ความ 2) ต้องยืนยันข้อเท็จจริง (การเปรียบเทียบ, การคาดคะเน, การทำนาย,
ไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง
3) ต้องชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นผู้ใด
80. ข้อแก้ตัว (มาตรา 329, 330, 331)
1) มาตรา 329 ติชมโดยสุจริต ไม่มีความผิด
2) มาตรา 330 พิสูจน์ความจริง มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
3) มาตรา 331 คู่ความ, ทนายความ แสดงความคิดเห็นในศาล ไม่มีความผิด
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
(มาตรา 334 – 366)
81. คำว่า เอาไปต้องประกอบด้วย 2 ข้อ คือ
1) ทรัพย์นั้นต้องเคลื่อนที่..(ส่วนคนไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่) และ
2) ต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะเอาไปได้
หมายเหตุ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งเป็นพยายามลักทรัพย์ ดังนั้นพยายามลักทรัพย์จึงมีได้ 2 กรณี คือ
1) ทรัพย์ยังไม่เคลื่อนที่ หรือ
2) ไม่อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะเอาไปได้
- ถ้าเก็บของเอาไว้โดยรู้หรือควรรู้ว่าทรัพย์นั้น เจ้าของกำลังติดตาม หรือจะติดตามเพื่อเอาคืน
ก็เป็นลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุควรรู้ เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย
82. กรณีฝากทรัพย์
กรณีฝากทรัพย์
เจ้าทรัพย์ไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น เจ้าทรัพย์ยังอยู่ในบริเวณนั้น
มอบการครอบครอง มอบการยึดถือชั่วคราว
(ยักยอก) (ลักทรัพย์)
83. ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
ยังไม่แบ่งการครอบครอง แบ่งการครอบครองแล้ว
ทุกคนมีการครองครอง ผู้ครอบครองเบียดบัง ผู้ไม่ได้ครองครองเอาไป
เบียดบังไปเป็นยักยอก
ยักยอก ลักทรัพย์
84. การบังคับทรัพย์ โดยพลการ
การบังคับทรัพย์โดยผลทางการ
ถ้าบังคับทรัพย์ไม่เกินหนี้ ถ้าบังคับทรัพย์เกินหนี้
ไม่ผิดลักทรัพย์ ถือว่ามีเจตนาทุจริตผิดลักทรัพย์ (มาตรา 334)
85. มาตรา 335 ลักทรัพย์ในเคหสถาน
มีองค์ประกอบ ดังนี้
1) ลักทรัพย์ และ
2) บุกรุก (ต้องเข้าไปในเคหสถานด้วย) โดยไม่ได้รับอนุญาต
หมายเหตุ เจตนาลักทรัพย์เมื่อได้เข้าไปในเคหสถานแล้ว ถือว่าได้ลงมือกระทำการแล้ว
เป็นพยายามลักทรัพย์ในเคหสถาน (ซึ่งแตกต่างกับพยายามลักทรัพย์ธรรมดา)
86. ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์สินหาย (มาตรา 334, 352 วรรคสอง)
ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์สินหาย (มาตรา 334, 352, (วรรคสอง)
ถ้ารู้หรือควรจะรู้ว่าอยู่ในระหว่าง ถ้าไม่รู้ฯ
การติดตามเอาคืนเจ้าของทรัพย์
ลักทรัพย์ (มาตรา 334) ยักยอกทรัพย์สินหาย (มาตรา 352 วรรคสอง)
87. ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
ถ้าเกรงกลัวต่อเจ้าทรัพย์ ถ้าไม่เกรงกลัวต่อเจ้าทรัพย์หรือใช้กริยาฉกฉวย
เอาซึ่งหน้า
ลักทรัพย์ (มาตรา 334) วิ่งราวทรัพย์ (มาตรา 336)
88. วิธีไล่สายหาคำตอบระหว่างชิงทรัพย์ กรรโชก
ข้อ 1) ขู่ต่ออะไร?
ถ้าขู่ต่อเสรีภาพ (ขู่จะจับ), ข่อต่อทรัพย์สิน (ขู่จะเผาบ้าน) เป็นกรรโชก (ม.337)
ถ้าขู่ต่อชีวิต (ขู่จะฆ่า), ร่างกาย (ขู่จะทำร้าย) ให้ดูข้อ 2.
ข้อ 2) ขู่เมื่อไหร่?
ถ้าขู่ในอนาคต เป็นกรรโชก (มาตรา 337)
ถ้าขู่ในทันใดนั้น ให้ดูข้อ 3.
ข้อ 3) ขู่เอาอะไร?
ถ้าขู่เอาประโยชน์ เป็นกรรโชก (มาตรา 337)
ถ้าขู่เอาทรัพย์ เป็นชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
ข้อ 4) ความผิดสำเร็จ
ชิงทรัพย์ ผู้ถูกขู่เข็ญส่งมอบทรัพย์ให้ และด้วยความกลัว
กรรโชก ผู้ถูกขู่เข็ญยอมจะให้ด้วยความกลัว
ข้อสังเกต กรณีจะเป็นชิงทรัพย์ (มาตรา 339) ต้องครบ 3 ข้อ ต่อไปนี้
1) ขู่ต่อชีวิต ร่างกาย ของผู้ถูกขู่เข็ญเท่านั้น และ
2) ขู่ในทันใดนั้น และ
3) ขู่เอาทรัพย์ ………..(นอกนั้นเป็นกรรโชก)
89. ความผิดสำเร็จ ชิงทรัพย์
ชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
ความผิดสำเร็จ (มาตรา 339) พยายามชิงทรัพย์ (มาตรา 339, 80)
1) ผู้ถูกขู่เข็ญส่งมอบทรัพย์ให้ และ 1) ไม่ได้ทรัพย์ไป (การลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จ) หรือ
2) ด้วยความกลัว (หมายถึงโจรต้องได้ทรัพย์ไป 2) ผู้ถูกขู่เข็ญไม่กลัว (และผู้ถูกขู่เข็ญกลัวด้วย)
หมายเหตุ : ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งเป็น หมายเหตุ : อาจส่งมอบให้เพื่อเป็นหลักฐาน
เป็นพยายามชิงทรัพย์ ในการจับกุมก็ได้
90. กรรโชก (มาตรา 337)
กรรโชก (มาตรา 337)
ความผิดสำเร็จ (มาตรา 337) พยายามกรรโชก (มาตรา 337,80)
1) ผู้ถูกขู่เข็ญ ยอมจะให้และ 1) ผู้ถูกขู่เข็ญ
ไม่ยอมจะให้ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน หรือ
2) ด้วยความกลัว 2) ผู้ถูกขู่เข็ญยอมแต่ ไม่กลัว
หมายเหตุ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งเป็นพยายามกรรโชก
91. รีดเอาทรัพย์ (มาตรา 33
รีดเอาทรัพย์ (มาตรา 33 ลักทรัพย์โดยขู่ว่าจะเปิดเผยความลับ
ความผิดสำเร็จ ยอมให้ด้วยความกลัว
พยายาม 1) ไม่ยอมจะให้ หรือ
2) ไม่กลัว
92. ความผิดสำเร็จ พยายามฉ้อโกง
ความผิดสำเร็จ พยายามฉ้อโกง
ความผิดสำเร็จ (มาตรา 341) พยายามฉ้อโกง (มาตรา 341, 80)
1) ผู้ถูกหลอกส่งมอบทรัพย์ให้ และ 1) ผู้ถูกหลอก ยังมิได้ส่งมอบทรัพย์ให้หรือ
2) โดยหลงเชื่อ 2) ผู้ถูกหลอก ไม่หลงเชื่อ
หมายเหตุ 1. รวมถึงทำ, ถอน, หมายเหตุ 1. รวมถึงยังไม่ทำ, ถอน,
ทำลายเอกสารสิทธิ ทำลายเอกสารสิทธิ
2. ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง 2. อาจจะมอบทรัพย์ให้เพื่อเป็น
เป็นพยายามฉ้อโกง หลักฐานในการจับกุมก็ได้
93. ฉ้อโกงแรงงาน (มาตรา 344) กับฉ้อโกงประชาชน (มาตรา 343)
ฉ้อโกงแรงงาน (มาตรา 344) ผู้ถูกหลอกลวงต้องมีจำนวนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
แต่สำหรับ ฉ้อโกงประชาชน (มาตรา 343) ไม่ได้ดูที่จำนวนผู้ถูกหลอกว่าจะมีกี่คน แต่ดูที่ลักษณะการหลอกคือ
ต้องหลอกต่อประชาชนทั่วไป ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เมื่อหลอกต่อประชาชาทั่วไปแล้ว
จะมีผู้ถูกหลอกหลงเชื่อ (เหยื่อ) กี่คนก็ได้ครับ
94. ฉ้อโกงค่าอาหาร, ค่าโรงแรม (มาตรา 345)
สรุปหลัก
1) ต้องเป็นการสั่งบริโภคในร้านเท่านั้นและ
2) ต้องรู้ว่าตนไม่สามารถชำระได้ด้วยมิฉะนั้นไม่ผิดตามมาตรานี้
ยักยอกทรัพย์ (มาตรา 352) ต้องมีการครอบครอง
การฝากทรัพย์
ฝากเงิน ฝากทรัพย์อื่น
ให้อารักขา ให้จัดการอย่างอื่น มอบการครอบครอง มอบการยึดถือชั่วคราว
ผิดสัญญาทางแพ่ง ยักยอกทรัพย์ (ม.352) ลักทรัพย์ (ม.334)
มอบการครอบครอง มอบการยึดถือชั่วคราว
ยักยอกทรัพย์ (มาตรา 352) ลักทรัพย์ (มาตรา 334)
95. รับของโจร (มาตรา 357)
สรุปหลัก
1) ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่กำหนดไว้
2) ผู้รับจะต้องรู้ว่าเป็นทรัพย์สินจากข้อ 1) ในขณะแรกรับ
(ถ้าในขณะที่รับไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์สินจาก ข้อ 1) ไม่มีความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะรู้ก็ไม่มีความผิด)
3) ทรัพย์นั้นจะต้องยังไม่แปรสภาพ (ถ้าแปรสภาพแล้ว เมื่อรับมาก็ไม่มีความผิด)
96. ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 35
ลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 334,35
แสวงหาประโยชน์ (โดยทุจริต) มิได้แสวงหาประโยชน์ (ไม่ได้ทุจริต)
ลักทรัพย์ (มาตรา 334) ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 35
97. บุกรุก (มาตรา 362 – 366)
สรุป ความผิดฐานบุกรุก
1) มาตรา 362 บุกรุกโดยเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อ
- ถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือ
- รบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข
2) มาตรา 363 บุกรุกโดยยังย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์
3) มาตรา 364 บุกรุกโดยเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์
หรือสำนักงานในความครอบครองผู้อื่น
หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อถูกไล่ให้ออก
98. บทสรุป ชุดเข้าใจคนเดียว
ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานอื่น ๆ
1) ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ (มาตรา 336) กลัวไม่กลัว
2) ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ (มาตรา 339) ขู่ไม่ขู่
3) ลักทรัพย์ ฉ้อโกง (มาตรา 341) หลอกไม่หลอก
4) ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ (มาตรา 352) ครองไม่ครอง
5) ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์สินหาย (มาตรา 352 ว.2) รู้ไม่รู้
6) ลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 35 แหวงไม่แหวง)

0 ความคิดเห็น

(มาตรา 288 – 398.)กฎหมายอาญา

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
70. เจตนาฆ่า ทำร้าย
เจตนาฆ่า ถ้าไม่บรรลุผล พยายามฆ่า
เจตนาทำร้าย ถ้าไม่บรรลุผล เจตนาทำร้าย
ถ้าตาย ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (หรือทำร้ายถึงตาย) (ม.290)
71. สรุปย่อเกี่ยวกับ ประมาท
1) ขาดความระมัดระวัง, ไม่ระวังให้ดี, หรือดูให้ดีก็จะรู้ว่า…..
2) เกี่ยวกับเครื่องยนต์
- การชำรุดบกพร่องภายในตัวเครื่องยนต์ หรือขับรถด้วยความเร็ว
3) การหยอกล้อ, ล้อเล่น
4) มีความรู้ความสามารถ (แต่ไม่ควรกระทำเป็นประมาท
แต่ถ้าไม่มีความรู้ความสามารถถ้าไปกระทำถือได้ว่าเป็นเจตนาย่อมเล็งเห็นผล)
5) มีหน้าที่แต่ปล่อยปละละเลย (เป็นเรื่องงดเว้นโดยประมาทตาม มาตรา 59 วรรคท้าย)
6) เรื่องไม่สมควรกระทำอื่น ๆ
72. การใช้อาวุธมีด ให้ดูว่ามีโอกาสในการเลือกแทงหรือไม่
ถ้าไม่มีโอกาสในการเลือกแทง เป็นเจตนาทำร้าย
ถ้ามีโอกาสฯ ถ้าตำแหน่งสำคัญ เป็นเจตนาฆ่า
ถ้าตำแหน่งไม่สำคัญ เป็นเจตนาทำร้าย
73. คนละเจตนาเดียวกัน
คนละเจตนาเดียวกัน
เจตนาร่วมกันไปทำร้ายแต่ตัวการร่วมไปฆ่า มิได้เป็นตัวการร่วมแต่ทำต่อผู้ตายคนเดียว
คนฆ่าผิดฆ่า คนทำร้ายผิดฆ่าคนตาย คนฆ่าผิดฆ่า คนทำร้ายผิดทำร้าย
โดยไม่เจตนาตาม มาตรา 290
ฎ.779/2458 เจตนาของบุคคลไม่ใช่สิ่งที่จะถึงเห็นด้วยตาได้
ศาลยุติธรรมได้แต่พิจารณาดูกริยาอาการที่บุคคลแสดงปรากฏออกมาภายนอกโดยรอบคอบแล้วก็ลงเนื้อเห็นสันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะได้มีเจตนาดังนั้นดังนี้หรือหาไม่
74. ทำร้ายร่างกาย
ทำร้ายร่างกายแต่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ (มาตรา 295, 80, มาตรา 391)
เจตนา
มาตรา 295 มาตรา 391
(มิใช่มาตรา 295, 80)
ถ้าไม่บรรลุผล
(ไม่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ) ผิด มาตรา 391
(มิใช่ มาตรา 295,80)
มาตรา 295, มาตรา 80 และมาตรา 391
75. ชุลมุนต่อสู้ (มาตรา 294, 299)
ชุลมุนต่อสู้
มาตรา 294 มาตรา 299
ถึงตาย ได้รับอันตรายสาหัส
สูตรย่อชุลมุนต่อสู้ (มาตรา 294/299) (เข้าใจคนเดียว)
“3 คน – 2 ฝ่าย ตาย, สาหัส ห้ามฯ, ป้องฯ ไม่ต้องรับโทษ
ฎ. 791 -792/2504(ป) กรณีชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และมีบุคคลถึงตาย ตาม ป.อ.มาตรา
294 นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายผู้ตายถึงตาย
ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งกลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายถึงตาย ฝ่ายนั้นต้องรับผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม