JOB Ratchakarn
สัญญาจ้างแรงงาน
เขียนโดย small ที่ 00:15
สัญญาจ้างแรงงาน
ทำที่……………………………………
………………………………………..
วันที่……….เดือน………………………พ.ศ…………
หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท………………………..…………………………………..จำกัด
(ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “นายจ้าง”) กับนาย……………………………..……………………………………
หนังสือเดินทางเลขที่……………………………………………………….. (ต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า"ลูกจ้าง")
อีกฝ่ายหนึ่ง ตามรายละเอียดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ข้อ 1. นายจ้างตกลงว่าจ้างให้ลูกจ้างทำงานในบริษัทของนายจ้าง ณ ประเทศไทย
ตำแหน่ง…………………………………อัตราเงินเดือน……………….บาท (…………………………………)
มีกำหนดเวลา………………ปี
ข้อ 2. ในระหว่างการจ้างตามสัญญานี้ ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับ
2.1 อาหารและที่พักอาศัยโดยนายจ้างเป็นผู้จัดหางานให้
2.2 การรักษาพยาบาลโดยนายแพทย์ของนายจ้าง หรือโดยโรงพยาบาลของรัฐบาล
2.3 วันหยุดพักผ่อน…………วัน เมื่อได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ………….ปี
2.4 เงินปันผลในอัตราร้อยละ 3 ของยอดกำไรสุทธิของนายจ้างในแต่ละปี
2.5 สำหรับกรณีที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ 1 ปี แล้วจะได้รับการพิจารณาเพิ่ม
เงินเดือนไม่เกินร้อยละ 5
ข้อ 3. ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของนายจ้างโดยเคร่งครัด
ข้อ 4. ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ และขยันหมั่นเพียร โดยปฏิบัติตาม
คำสั่งหรือข้อบังคับใด ๆ ของนายจ้าง หรือผู้ควบคุมงาน ณ สถานที่ทำงานของตน
ข้อ 5. ลูกจ้างจะต้องทำงานวันละ …………….ชั่วโมง สัปดาห์ละ…………..วัน โดยมีวันหยุดตาม
วันหยุดของทางราชการ ลูกจ้างจะต้องทำงานล่วงเวลาตามที่นายจ้างกำหนดให้ โดยจะได้รับค่าจ้างล่วงเวลา
ส่วนการจ่ายนั้นให้เป็นไปตามระเบียบของนายจ้าง
ข้อ 6. เงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนปกติแต่ละเดือนของลูกจ้าง จะถูกนายจ้างหักไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ของนายจ้างกรณีบอกเลิกของสัญญานี้ เนื่องมาจากการผิดสัญญาของลูกจ้างนายจ้างจะคืนเงินที่หักไว้ให้แก่
ลูกจ้างเมื่อได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพครบ……………ปี แล้ว
ข้อ 7. ลูกจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดของต่อตนเองในเรื่องความเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือตายอันเกิดจาก
ความประมาท หรือการผิด หรือการศีลธรรมของลูกจ้างเอง
ข้อ 8. ในกรณีที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่จะออกงานนี้ เนื่องมาจากความจำเป็นส่วนตัวก่อนครบ
สัญญาจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ 9. นอกจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างไม่มีสิทธิไปทำงานให้กับผู้อื่นอีกไม่ว่าจะ
เป็นการทำงานในวันหยุดหรือนอกเวลาการทำงานปกติก็ตาม
ข้อ 10. ในกรณีที่ลูกจ้างได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของนายจ้างอันเกิดจากการ
ละทิ้งหน้าที่ หรือการทำผิดพลาดของตน ลูกจ้างจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้ต่อความเสียหายนั้นด้วยค่าใช้จ่าย
ของตัวเอง
ข้อ 11. ลูกจ้างรับรองว่าก่อนจะได้ลงนามในสัญญานี้ ตนได้รับรู้สภาพการอยู่อาศัย สภาพของ
งาน ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยซึ่งตนตกลงทำงานดีแล้ว
ข้อ 12. สัญญานี้อาจถูกบอกเลิกในเวลาใด ๆ ก็ได้ หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาในระหว่าง
การจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย ลูกจ้างจะต้องถูกส่งกลับประเทศของตนด้วยค่าใช้จ่าย
ของตนเอง
ข้อ 13. รายละเอียดและเงื่อนไขของสัญญานี้ อาจมีการแก้ไขได้ตามความจำเป็น
ลงชื่อ………………………………………….นายจ้าง ลงชื่อ…………………………………………ลูกจ้าง
(……………………………………………..) (……………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………….พยาน ลงชื่อ…………………………………………พยาน
(……………………………………………..) (……………………………………………)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น