JOB Ratchakarn
สิทธิลาของลูกจ้าง
เขียนโดย small ที่ 23:48
- ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ในปีหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วันทำงาน โดยมีสิทธิได้ค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวัน
ทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วย
- ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารโดยได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน
- ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้
รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน ๔๕ วัน (วันลาดังกล่าวนับรวมวันหยุด
ด้วย)
- ลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานในฐานะผู้
แทนลูกจ้างในการเจรจาไกล่เกลี่ย และชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและมีสิทธิลาเพื่อไปประชุมตามที่ราชการ
กำหนดแต่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าพร้อมแสดงหลักฐานด้วย และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนี้เป็นวัน
ทำงาน
๖. สิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวของหญิงมีครรภ์
- หญิงมีครรภ์ซึ่งไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้มีสิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดโดย
แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ประกอบด้วย
๗. การคุ้มครองแรงงาน
(๑) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
๑.๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๑๕ บาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัด
สมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดภูเก็ต
๑.๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๐๗ บาท ในท้องที่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา
๑.๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๐๑ บาท ในท้องที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดสระบุรี
จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่
๑.๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๙๔ บาท ในท้องที่จังหวัดที่เหลือทั้งหมด
๑.๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมิให้บังคับแก่
(ก) งานเกษตรกรรม ซึ่งได้แก่ งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์
(ข) งานอื่น ๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดกิจการที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย
แรงงานเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ เว้นแต่เป็นลูกจ้างทดลอง
งาน ซึ่งนายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือแต่แรก โดยมีระยะทดลองปฏิบัติงานไม่เกิน ๖๐ วัน
(๒) ค่าล่วงเวลา
- ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ๑/๒
เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน
- ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายในอัตรา ๓ เท่าของค่าจ้าง
ในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คือ
๒.๑ ลูกจ้างที่นายจ้างให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาใน
ระหว่างเดินทาง เว้นแต่จะมีข้อตกลงให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้
๒.๒ ลูกจ้างที่ทำงานบางลักษณะดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
(ก) ลูกจ้างที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้า
(ข) งานขบวนการจัดรถไฟ
(ค) งานขนส่ง
(ง) งานปิดเปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(จ) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(ฉ) งานเฝ้าสถานที่หรือดูแลทรัพย์สิน
(ช) งานนอกสถานที่โดยสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานแน่นอนได้
(๓) ค่าทำงานในวันหยุด ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดซึ่ง
- กรณีลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ๑ เท่า
ของค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด
- กรณีลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของ
ค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด
ทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วย
- ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารโดยได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน
- ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้
รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน ๔๕ วัน (วันลาดังกล่าวนับรวมวันหยุด
ด้วย)
- ลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานในฐานะผู้
แทนลูกจ้างในการเจรจาไกล่เกลี่ย และชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและมีสิทธิลาเพื่อไปประชุมตามที่ราชการ
กำหนดแต่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าพร้อมแสดงหลักฐานด้วย และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนี้เป็นวัน
ทำงาน
๖. สิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวของหญิงมีครรภ์
- หญิงมีครรภ์ซึ่งไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้มีสิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดโดย
แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ประกอบด้วย
๗. การคุ้มครองแรงงาน
(๑) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
๑.๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๑๕ บาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัด
สมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดภูเก็ต
๑.๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๐๗ บาท ในท้องที่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา
๑.๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๑๐๑ บาท ในท้องที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดสระบุรี
จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่
๑.๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละ ๙๔ บาท ในท้องที่จังหวัดที่เหลือทั้งหมด
๑.๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมิให้บังคับแก่
(ก) งานเกษตรกรรม ซึ่งได้แก่ งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์
(ข) งานอื่น ๆ ตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดกิจการที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย
แรงงานเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ เว้นแต่เป็นลูกจ้างทดลอง
งาน ซึ่งนายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือแต่แรก โดยมีระยะทดลองปฏิบัติงานไม่เกิน ๖๐ วัน
(๒) ค่าล่วงเวลา
- ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ๑/๒
เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน
- ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายในอัตรา ๓ เท่าของค่าจ้าง
ในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คือ
๒.๑ ลูกจ้างที่นายจ้างให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาใน
ระหว่างเดินทาง เว้นแต่จะมีข้อตกลงให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้
๒.๒ ลูกจ้างที่ทำงานบางลักษณะดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
(ก) ลูกจ้างที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้า
(ข) งานขบวนการจัดรถไฟ
(ค) งานขนส่ง
(ง) งานปิดเปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(จ) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(ฉ) งานเฝ้าสถานที่หรือดูแลทรัพย์สิน
(ช) งานนอกสถานที่โดยสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานแน่นอนได้
(๓) ค่าทำงานในวันหยุด ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดซึ่ง
- กรณีลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ๑ เท่า
ของค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด
- กรณีลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของ
ค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด
กฎหมายแรงงาน
เขียนโดย small ที่ 23:47
๑. ความสมบูรณ์ของการทำสัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกันโดยทำเป็นหนังสือหรือ
โดยปากเปล่าก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งถ้ามีการแสดงเจตนาขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
ย่อมทำให้ตกเป็นโมฆะได้
๒. การคุ้มครองกำหนดเวลาในการทำงาน
ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ดังต่อไปนี้
(๑) งานอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๘ ชั่วโมง
(๒) งานขนส่ง เช่น การส่งของ การขับรถโดยสาร ไม่เกินวันละ ๘ ชั่วโมง
(๓) งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
เช่น งานที่ต้องทำใต้ดิน, ในน้ำ งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ เป็นต้น ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๒ ชั่วโมง
(๔) งานพาณิชยกรรม หรืองานอื่น ซึ่งไม่ใช่งานตามข้อ (๑), (๒), (๓) เช่น การซื้อขาย, แลกเปลี่ยน,
ให้, เช่าทรัพย์, รับประกันภัย การธนาคารไม่เกินสัปดาห์ละ ๕๔ ชั่วโมง
๓. สิทธิของลูกจ้างในการพักผ่อนระหว่างทำงาน
- ในวันที่ทำงาน นายจ้างต้องกำหนดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อวัน ภายหลังที่ได้ให้
ทำงานไปแล้วไม่เกิน ๕ ชั่วโมง แต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ ๑
ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ ๒๐ นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
- กรณีที่กล่าวมา ไม่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ทำงานในหน้าที่ที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับ
ความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว หรือเป็นงานฉุกเฉินที่หยุดไม่ได้
๔. สิทธิของลูกจ้างในการมีวันหยุด
(๑) ชนิดของวันหยุด
- วันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์
ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน ๖ วัน นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์
วันใดก็ได้ หรืออาจจะตกลงล่วงหน้าให้มีการสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ใน
ระยะเวลาไม่เกิน ๔ สัปดาห์ติดต่อกัน
- วันหยุดตามประเพณี ปีหนึ่งนายจ้างต้องประกาศวันหยุดไม่น้อยกว่า ปีละ ๑๓ วัน โดยรวม
วันแรงงานแห่งชาติด้วย และถ้าวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ก็ให้เลื่อนวันหยุดตาม
ประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป
- วันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ ๑ ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
ได้อย่างน้อยปีละ ๖ วันทำงาน และนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อน
ประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้
(๒) สิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
- ถ้าจะให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดตามข้อหนึ่ง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ๒
เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น ลูกจ้างรายวัน แต่ถ้าเป็น
ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว เช่น ลูกจ้างรายเดือน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดใน
อัตราเพิ่มขึ้นอีกมไม่น้อยกว่า ๑ เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
- สิทธิของลูกจ้างในเรื่องเวลาพักผ่อนและวันหยุดต่าง ๆ ข้างต้นนี้ ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยว
กับงานบ้าน เช่น คนรับใช้ จะขอใช้สิทธิลาหยุดต่าง ๆ ไม่ได้
นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกันโดยทำเป็นหนังสือหรือ
โดยปากเปล่าก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งถ้ามีการแสดงเจตนาขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
ย่อมทำให้ตกเป็นโมฆะได้
๒. การคุ้มครองกำหนดเวลาในการทำงาน
ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ดังต่อไปนี้
(๑) งานอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๘ ชั่วโมง
(๒) งานขนส่ง เช่น การส่งของ การขับรถโดยสาร ไม่เกินวันละ ๘ ชั่วโมง
(๓) งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
เช่น งานที่ต้องทำใต้ดิน, ในน้ำ งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ เป็นต้น ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๒ ชั่วโมง
(๔) งานพาณิชยกรรม หรืองานอื่น ซึ่งไม่ใช่งานตามข้อ (๑), (๒), (๓) เช่น การซื้อขาย, แลกเปลี่ยน,
ให้, เช่าทรัพย์, รับประกันภัย การธนาคารไม่เกินสัปดาห์ละ ๕๔ ชั่วโมง
๓. สิทธิของลูกจ้างในการพักผ่อนระหว่างทำงาน
- ในวันที่ทำงาน นายจ้างต้องกำหนดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อวัน ภายหลังที่ได้ให้
ทำงานไปแล้วไม่เกิน ๕ ชั่วโมง แต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ ๑
ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ ๒๐ นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
- กรณีที่กล่าวมา ไม่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ทำงานในหน้าที่ที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับ
ความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว หรือเป็นงานฉุกเฉินที่หยุดไม่ได้
๔. สิทธิของลูกจ้างในการมีวันหยุด
(๑) ชนิดของวันหยุด
- วันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์
ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน ๖ วัน นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์
วันใดก็ได้ หรืออาจจะตกลงล่วงหน้าให้มีการสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ใน
ระยะเวลาไม่เกิน ๔ สัปดาห์ติดต่อกัน
- วันหยุดตามประเพณี ปีหนึ่งนายจ้างต้องประกาศวันหยุดไม่น้อยกว่า ปีละ ๑๓ วัน โดยรวม
วันแรงงานแห่งชาติด้วย และถ้าวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ก็ให้เลื่อนวันหยุดตาม
ประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป
- วันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ ๑ ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
ได้อย่างน้อยปีละ ๖ วันทำงาน และนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อน
ประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้
(๒) สิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
- ถ้าจะให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดตามข้อหนึ่ง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ๒
เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น ลูกจ้างรายวัน แต่ถ้าเป็น
ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว เช่น ลูกจ้างรายเดือน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดใน
อัตราเพิ่มขึ้นอีกมไม่น้อยกว่า ๑ เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
- สิทธิของลูกจ้างในเรื่องเวลาพักผ่อนและวันหยุดต่าง ๆ ข้างต้นนี้ ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยว
กับงานบ้าน เช่น คนรับใช้ จะขอใช้สิทธิลาหยุดต่าง ๆ ไม่ได้
สรุปสาระสำคัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔
เขียนโดย small ที่ 23:45
๑.
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๔๙๗
ใช้บังคับมานานแล้ว
บทบัญญัติที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหลายประการสมควรปรับปรุงให้มีบทบัญญัติชัดแจ้ง
ว่าการออกเช็คที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อ
ให้มีผลผูกพันและบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
และกำหนดโทษปรับเพียงไม่เกินหกหมื่นบาทเพื่อให้คดีความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ทั้งให้การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยจะกระทำโดยไม่มีหลักประกันก็ได้
แต่จะให้มีหลักประกัน
หลักประกันนั้นต้องไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
สมควรกำหนดให้การฟ้องคดีแพ่งตามเช็คที่มีจำนวนเงินไม่เกินอำนาจพิจารณาของ
ผู้พิพากษาคนเดียวสามารถฟ้องรวมไปกับคดีส่วนอาญาได้
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๒. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม พ.ร.บ.นี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบ ด้วยกฎหมายและธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดนั้นมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
ปัจจุบัน การชำระหนี้เงินโดยการออกเช็คเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยการสั่งจ่ายเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หรือจะกล่าวอีกอย่างคือเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้กันจริง และต้องมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
๒. ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
๓. ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
๔. ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนเงินเหลือไม่พอที่จะใช้เงินตามเช็คได้
๕. ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต (มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง)
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อ ได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดดังกล่าวมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
เป็นความผิดยอมความได้ไม่ว่าอยู่ในชั้นการสอบสวนของพนักสอบสวนหรือในชั้นการพิจารณาของศาล (มาตรา ๕)
การควบคุมตัวหรือการขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙
เช่น เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูก จับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของ พนักงานสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงาน อัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย (มาตรา ๗ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณียื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัด ฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว
การวินิจฉัยคำร้องเช่นว่านี้ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหา แสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียก พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีมาชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจเรียกพยานมาเบิกความ ประกอบก็ได้ (ม.๗ วรรคสอง พรบ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดง ถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาลให้ศาลสอบถามผู้ ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีเช่นว่านี้ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว (มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
แต่ทั้งนี้ ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลัก ประกันหรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค (มาตรา ๖)
สิทธิการดำเนินคดีอาญาอาจระงับได้โดยอีกวิธีหนึ่งคือได้ใช้เงินตามเช็คแก่ ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นหรือหนี้ที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันหรือระงับไปก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุด (มาตรา ๗)
ผู้เสียหายอาจฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามกฎหมายตั๋วเงินรวมไปกับคดีอาญาได้ ถ้าหากจำนวนเงินตามเช็คนั้นไม่เกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณา พิพากษาได้ ในที่นี้คือเงินตามเช็คพิพาทใบเดียวหรือหลายใบไม่เกินสามแสนบาท แต่การพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ แพ่ง เช่น การทำคำฟ้อง การยื่นคำให้การ การขาดนัด ฯ ล ฯ (มาตรา ๘)
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่โดยที่พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
๒. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม พ.ร.บ.นี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบ ด้วยกฎหมายและธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดนั้นมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
ปัจจุบัน การชำระหนี้เงินโดยการออกเช็คเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยการสั่งจ่ายเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หรือจะกล่าวอีกอย่างคือเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้กันจริง และต้องมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
๒. ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
๓. ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
๔. ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนเงินเหลือไม่พอที่จะใช้เงินตามเช็คได้
๕. ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต (มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง)
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อ ได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดดังกล่าวมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
เป็นความผิดยอมความได้ไม่ว่าอยู่ในชั้นการสอบสวนของพนักสอบสวนหรือในชั้นการพิจารณาของศาล (มาตรา ๕)
การควบคุมตัวหรือการขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙
เช่น เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูก จับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของ พนักงานสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงาน อัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย (มาตรา ๗ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณียื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัด ฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว
การวินิจฉัยคำร้องเช่นว่านี้ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหา แสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียก พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีมาชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจเรียกพยานมาเบิกความ ประกอบก็ได้ (ม.๗ วรรคสอง พรบ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดง ถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาลให้ศาลสอบถามผู้ ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีเช่นว่านี้ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว (มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
แต่ทั้งนี้ ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลัก ประกันหรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค (มาตรา ๖)
สิทธิการดำเนินคดีอาญาอาจระงับได้โดยอีกวิธีหนึ่งคือได้ใช้เงินตามเช็คแก่ ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นหรือหนี้ที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันหรือระงับไปก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุด (มาตรา ๗)
ผู้เสียหายอาจฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามกฎหมายตั๋วเงินรวมไปกับคดีอาญาได้ ถ้าหากจำนวนเงินตามเช็คนั้นไม่เกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณา พิพากษาได้ ในที่นี้คือเงินตามเช็คพิพาทใบเดียวหรือหลายใบไม่เกินสามแสนบาท แต่การพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ แพ่ง เช่น การทำคำฟ้อง การยื่นคำให้การ การขาดนัด ฯ ล ฯ (มาตรา ๘)
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่โดยที่พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
คดีเช็คเด้ง
เขียนโดย small ที่ 23:43
คดีเช็คเด้ง
ส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติ มาจากมูลหนี้หลัก ๆ เช่น การกู้ยืมเงิน,
การชำระหนี้ค่าสินค้า, ค่าบริการ, ค่างวดผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ เป็นส่วนใหญ่
เมื่อรับเช็คมาแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จะต้องดูว่าเข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาหรือไม่ มีข้อสังเกตดังนี้คือ
๑. ต้องมีมูลหนี้เดิมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้เงินกู้ โดยหนี้นั้นต้องถึงกำหนดแล้ว และมีหลักฐานสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้
๒. เช็คที่รับมาต้องเป็นเช็คที่กรอกรายการในเช็คครบถ้วนแล้วรวมทั้งลงวันที่ สั่งจ่าย จำนวนเงินในเช็คจะต้องไม่มากกว่ามูลหนี้เดิม ถ้ามากกว่าเช็คนั้นย่อมที่จะไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาได้ หรือเช็คไม่ลงวันที่ก็เช่นกัน
๓. ต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องต่อศาลแขวงภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หากเกินกำหนดกฎหมายถือว่าขาดอายุความ ทำให้สูญเสียสิทธิในการดำเนินคดีทางอาญา
๔. การฟ้องร้องทางแพ่ง ต้องฟ้องร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ลงในหน้าเช็ค หากเกินกำหนดถือว่าขาดอายุความ
การดำเนินคดีอาญาเช็คเด้ง ปัจจุบันมีปริมาณคดีเช็คเด้งเป็นจำนวนมากและมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและใน ทางอาญา ตามสถานีตำรวจและศาลเยอะแยะมากมาย ถ้าเป็นคดีอาญาลูกหนี้ก็มักจะหลบหนีโดยพนักงานสอบสวนหรือโจทก์ยื่นคำร้องต่อ ศาลเพื่อ ขอออกหมายจับและก็ไม่มีการออกหมายจับทำให้คดีไม่มีความคืบหน้า ส่งผลท้ายสุดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ ส่วนลูกหนี้ลอยนวล สมมุติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีความประสงค์จะให้ตำรวจเข้าสืบสวนจับกุมตัวลูกหนี้ตามคดีเช็ค ตำรวจมัก จะเรียกค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวน เช่น ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อนจับกุมและเมื่อจับกุมได้ตำรวจมักจะเรียกค่าตอบแทนใน การจับกุมโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในอัตราร้อยละ ๑๐-๒๐ % หากไม่ตกลงเกี่ยวกับเรื่องค่าบริการการจับกุม ตำรวจมักอ้างว่าไม่มีเวลาเนื่องจากมีคดีอาญาแผ่นดินที่ต้องรับผิดชอบเป็น จำนวนมาก คดีเช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว คุณต้องไปสืบหาตัวเอาเอง นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในปัจจุบัน
หากท่านต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา และศาลได้ออกหมายจับคดีเช็คเด้งแล้ว ท่านก็ควรไปว่าจ้างนักสืบเพื่อสืบหาตัวและเมื่อพบตัวแล้วก็นำหมายจับจับตัว ส่งศาล
ศาลจะกำหนดนัดพิจารณาคดีหรือเขาเรียกว่านัดพร้อมและสอบถามจำเลยว่าจะให้การ รับสารภาพหรือปฏิเสธ หากจำเลยหรือลูกหนี้ให้การรับสารภาพและยอมผ่อนชำระหนี้ ทางปฏิบัติศาลมักจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องมายื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยให้มานัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ดังนั้น หากลูกหนี้ยังคงเพิกเฉยศาลก็จะมีคำพิพากษาจำคุกลูกหนี้ ตามกฎหมายศาลลงโทษจำเลยคดีเช็คเด้งได้ไม่เกิน ๑ ปี ต่อการจ่ายเช็คเด้ง ๑ ฉบับ ถ้ามีหลายฉบับ ศาลพิพากษาเป็นรายกระทงไป
ถ้าจำเลยหรือลูกหนี้ให้การปฏิเสธฝ่ายโจทก์และจำเลยก็จะดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานกันต่อไปและนัดฟังคำพิพากษา ส่วนจะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับฝีไม้ลายมือของทนายความที่ท่านจ้างและพยาน หลักฐานว่าครบถ้วนหรือไม่
๑. ต้องมีมูลหนี้เดิมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้เงินกู้ โดยหนี้นั้นต้องถึงกำหนดแล้ว และมีหลักฐานสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้
๒. เช็คที่รับมาต้องเป็นเช็คที่กรอกรายการในเช็คครบถ้วนแล้วรวมทั้งลงวันที่ สั่งจ่าย จำนวนเงินในเช็คจะต้องไม่มากกว่ามูลหนี้เดิม ถ้ามากกว่าเช็คนั้นย่อมที่จะไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาได้ หรือเช็คไม่ลงวันที่ก็เช่นกัน
๓. ต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องต่อศาลแขวงภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หากเกินกำหนดกฎหมายถือว่าขาดอายุความ ทำให้สูญเสียสิทธิในการดำเนินคดีทางอาญา
๔. การฟ้องร้องทางแพ่ง ต้องฟ้องร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ลงในหน้าเช็ค หากเกินกำหนดถือว่าขาดอายุความ
การดำเนินคดีอาญาเช็คเด้ง ปัจจุบันมีปริมาณคดีเช็คเด้งเป็นจำนวนมากและมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและใน ทางอาญา ตามสถานีตำรวจและศาลเยอะแยะมากมาย ถ้าเป็นคดีอาญาลูกหนี้ก็มักจะหลบหนีโดยพนักงานสอบสวนหรือโจทก์ยื่นคำร้องต่อ ศาลเพื่อ ขอออกหมายจับและก็ไม่มีการออกหมายจับทำให้คดีไม่มีความคืบหน้า ส่งผลท้ายสุดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ ส่วนลูกหนี้ลอยนวล สมมุติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีความประสงค์จะให้ตำรวจเข้าสืบสวนจับกุมตัวลูกหนี้ตามคดีเช็ค ตำรวจมัก จะเรียกค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวน เช่น ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อนจับกุมและเมื่อจับกุมได้ตำรวจมักจะเรียกค่าตอบแทนใน การจับกุมโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในอัตราร้อยละ ๑๐-๒๐ % หากไม่ตกลงเกี่ยวกับเรื่องค่าบริการการจับกุม ตำรวจมักอ้างว่าไม่มีเวลาเนื่องจากมีคดีอาญาแผ่นดินที่ต้องรับผิดชอบเป็น จำนวนมาก คดีเช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว คุณต้องไปสืบหาตัวเอาเอง นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในปัจจุบัน
หากท่านต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา และศาลได้ออกหมายจับคดีเช็คเด้งแล้ว ท่านก็ควรไปว่าจ้างนักสืบเพื่อสืบหาตัวและเมื่อพบตัวแล้วก็นำหมายจับจับตัว ส่งศาล
ศาลจะกำหนดนัดพิจารณาคดีหรือเขาเรียกว่านัดพร้อมและสอบถามจำเลยว่าจะให้การ รับสารภาพหรือปฏิเสธ หากจำเลยหรือลูกหนี้ให้การรับสารภาพและยอมผ่อนชำระหนี้ ทางปฏิบัติศาลมักจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องมายื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยให้มานัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ดังนั้น หากลูกหนี้ยังคงเพิกเฉยศาลก็จะมีคำพิพากษาจำคุกลูกหนี้ ตามกฎหมายศาลลงโทษจำเลยคดีเช็คเด้งได้ไม่เกิน ๑ ปี ต่อการจ่ายเช็คเด้ง ๑ ฉบับ ถ้ามีหลายฉบับ ศาลพิพากษาเป็นรายกระทงไป
ถ้าจำเลยหรือลูกหนี้ให้การปฏิเสธฝ่ายโจทก์และจำเลยก็จะดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานกันต่อไปและนัดฟังคำพิพากษา ส่วนจะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับฝีไม้ลายมือของทนายความที่ท่านจ้างและพยาน หลักฐานว่าครบถ้วนหรือไม่
สาระสำคัญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
เขียนโดย small ที่ 23:42
๑. หลักการและเหตุผล
โดยที่คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาโดย
ทั่วไป
เพราะเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานหรือเกี่ยว
กับสิทธิของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมาย
ว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
ซึ่งข้อขัดแย้งดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้มีความ
รู้และความเข้าใจในปัญหาแรงงานร่วมกับผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่าย
ลูกจ้าง ทั้งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด รวดเร็ว
เสมอภาคและเป็นธรรมเพื่อให้คู่ความมีโอกาสประนีประนอมยอมความและสามารถกลับ
ไปทำงานร่วมกันโดยไม่เกิดความรู้สึกเป็นอริต่อกัน
จำเป็นต้องยกเว้นขั้นตอนและวิธีการต่างๆ
ที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหลายกรณีด้วยกันเพื่อให้เกิด
การคล่องตัวยิ่งขึ้นจึงต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๒.สาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรง งาน พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อให้เป็นศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาพิพากษาคดีแรงงานซึ่งมีความแตกต่างจากอรรถคดีทั่วไป การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงานจะใช้วิธีไกล่เกลี่ยและ การระงับข้อพิพาทเป็นหลัก แต่หากคู่กรณี (นายจ้าง-ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน สิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งได้แก่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น รวมทั้งกรณีละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
การพิจารณาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา ๓ ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี
อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลแรงงาน มาตรา ๘ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือ
-คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
-คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
-กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
-คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์
-คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
-ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
เขตอำนาจของศาลแรงงานกลาง
๑. เขตอำนาจแท้จริง
ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๕
บรรดาคดีแรงงานที่มูลคดีเกิดขึ้น คือสถานที่ลูกจ้างทำงานตั้งอยู่ในเขต ๖ จังหวัด ดังกล่าวต้องมายื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเพียงแห่งเดียว
๒. เขตอำนาจเฉพาะกาล
ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการใน ท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยตรงหรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดในท้อง ที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ได้ หากโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาก็ได้ ให้ศาลจังหวัดนั้นแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางจะออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดที่มูลคดีเกิด หรือไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ หากเห็นว่า การพิจารณาคดีในศาลนั้น ๆ จะเป็นการสะดวก ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๒๘, ๓๓, ๖๐
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน
ลักษณะพิเศษของการดำเนินคดีแรงงาน
๑.การดำเนินคดีแรงงาน โจทก์และจำเลยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าการฟ้อง การส่งหมาย การสืบพยาน หรือการบังคับคดี โดยเฉพาะการสืบพยานที่ศาลแรงงานเรียกมา ศาลจะเป็น ผู้จ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักให้แก่พยานเอง
๒.การพิจารณาคดีแรงงาน ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นโจทก์และจำเลยจึงควรเตรียม พยานหลักฐาน(ถ้ามี) ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที
๓.การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลเช่นว่านี้ โดยละเสียซึ่งทิฐิมานะและพร้อมที่จะรับข้อเสนอที่สมควรของอีกฝ่ายหนึ่งหรือ ของศาลได้ตลอดเวลา
ขั้นตอนในการดำเนินคดี
๑.นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน หากประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็อาจยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหา ด้วยวาจาต่อหน้าศาล
๒.เมื่อศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว จะกำหนดวันพิจารณา ออกหมายเรียกจำเลย และนัดโจทก์ให้มาศาลในวันดังกล่าว
๓.เมื่อจำเลยได้รับฟ้องไว้แล้ว จะยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้
๔.ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ถ้าโจทก์ไม่มาศาลจะจำหน่ายคดี แต่ถ้าจำเลยไม่มา ศาลจะพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ในกรณีที่โจทก์และจำเลยมาพร้อมกัน ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะกำหนดว่ามีประเด็นข้อพิพาทอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกำหนดให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อไป
๕.ในการสืบพยานศาลจะดำเนินการติดต่อกันไปจนเสร็จคดีหากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนก็จะเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเจ็ดวัน
๖.เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยอาจแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อ กฎหมายที่สำคัญซึ่งได้นำสืบหรืออ้างอิงมา ศาลจะทำคำพิพากษาแล้วอ่านคำพิพากษานั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันสืบพยานเสร็จ
การอุทธรณ์คดีแรงงาน
คดีแรงงานนั้นอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย ซึ่งได้แก่การคัดค้านว่าตัวบทกฎหมายที่ศาลแรงงานยกขึ้นอ้างอิงตีความ หรือนำมาปรับใช้กับเรื่องที่พิพาทกันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งได้แก่พฤติการณ์หรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคดีว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างไรนั้น จะอุทธรณ์ว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างอื่นผิดไปจากศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ไม่ได้
๓.ผู้รักษาการตามกฎหมายและวันบังคับใช้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงนั้น (มาตรา ๔)
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๗๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๒ โดยใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
๒.สาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรง งาน พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อให้เป็นศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาพิพากษาคดีแรงงานซึ่งมีความแตกต่างจากอรรถคดีทั่วไป การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงานจะใช้วิธีไกล่เกลี่ยและ การระงับข้อพิพาทเป็นหลัก แต่หากคู่กรณี (นายจ้าง-ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน สิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งได้แก่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น รวมทั้งกรณีละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
การพิจารณาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา ๓ ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี
อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลแรงงาน มาตรา ๘ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือ
-คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
-คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
-กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
-คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน สัมพันธ์
-คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
-ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
เขตอำนาจของศาลแรงงานกลาง
๑. เขตอำนาจแท้จริง
ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๕
บรรดาคดีแรงงานที่มูลคดีเกิดขึ้น คือสถานที่ลูกจ้างทำงานตั้งอยู่ในเขต ๖ จังหวัด ดังกล่าวต้องมายื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเพียงแห่งเดียว
๒. เขตอำนาจเฉพาะกาล
ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการใน ท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยตรงหรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดในท้อง ที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ได้ หากโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาก็ได้ ให้ศาลจังหวัดนั้นแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางจะออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดที่มูลคดีเกิด หรือไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ หากเห็นว่า การพิจารณาคดีในศาลนั้น ๆ จะเป็นการสะดวก ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๒๘, ๓๓, ๖๐
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน
ลักษณะพิเศษของการดำเนินคดีแรงงาน
๑.การดำเนินคดีแรงงาน โจทก์และจำเลยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าการฟ้อง การส่งหมาย การสืบพยาน หรือการบังคับคดี โดยเฉพาะการสืบพยานที่ศาลแรงงานเรียกมา ศาลจะเป็น ผู้จ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักให้แก่พยานเอง
๒.การพิจารณาคดีแรงงาน ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นโจทก์และจำเลยจึงควรเตรียม พยานหลักฐาน(ถ้ามี) ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที
๓.การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลเช่นว่านี้ โดยละเสียซึ่งทิฐิมานะและพร้อมที่จะรับข้อเสนอที่สมควรของอีกฝ่ายหนึ่งหรือ ของศาลได้ตลอดเวลา
ขั้นตอนในการดำเนินคดี
๑.นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน หากประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็อาจยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหา ด้วยวาจาต่อหน้าศาล
๒.เมื่อศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว จะกำหนดวันพิจารณา ออกหมายเรียกจำเลย และนัดโจทก์ให้มาศาลในวันดังกล่าว
๓.เมื่อจำเลยได้รับฟ้องไว้แล้ว จะยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้
๔.ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ถ้าโจทก์ไม่มาศาลจะจำหน่ายคดี แต่ถ้าจำเลยไม่มา ศาลจะพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ในกรณีที่โจทก์และจำเลยมาพร้อมกัน ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะกำหนดว่ามีประเด็นข้อพิพาทอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกำหนดให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อไป
๕.ในการสืบพยานศาลจะดำเนินการติดต่อกันไปจนเสร็จคดีหากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนก็จะเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเจ็ดวัน
๖.เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยอาจแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อ กฎหมายที่สำคัญซึ่งได้นำสืบหรืออ้างอิงมา ศาลจะทำคำพิพากษาแล้วอ่านคำพิพากษานั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันสืบพยานเสร็จ
การอุทธรณ์คดีแรงงาน
คดีแรงงานนั้นอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย ซึ่งได้แก่การคัดค้านว่าตัวบทกฎหมายที่ศาลแรงงานยกขึ้นอ้างอิงตีความ หรือนำมาปรับใช้กับเรื่องที่พิพาทกันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งได้แก่พฤติการณ์หรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคดีว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างไรนั้น จะอุทธรณ์ว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างอื่นผิดไปจากศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ไม่ได้
๓.ผู้รักษาการตามกฎหมายและวันบังคับใช้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงนั้น (มาตรา ๔)
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๗๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๒ โดยใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...