JOB Ratchakarn
สรุปสาระสำคัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔
เขียนโดย small ที่ 23:45
๑.
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๔๙๗
ใช้บังคับมานานแล้ว
บทบัญญัติที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหลายประการสมควรปรับปรุงให้มีบทบัญญัติชัดแจ้ง
ว่าการออกเช็คที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อ
ให้มีผลผูกพันและบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
และกำหนดโทษปรับเพียงไม่เกินหกหมื่นบาทเพื่อให้คดีความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ทั้งให้การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยจะกระทำโดยไม่มีหลักประกันก็ได้
แต่จะให้มีหลักประกัน
หลักประกันนั้นต้องไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
สมควรกำหนดให้การฟ้องคดีแพ่งตามเช็คที่มีจำนวนเงินไม่เกินอำนาจพิจารณาของ
ผู้พิพากษาคนเดียวสามารถฟ้องรวมไปกับคดีส่วนอาญาได้
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๒. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม พ.ร.บ.นี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบ ด้วยกฎหมายและธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดนั้นมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
ปัจจุบัน การชำระหนี้เงินโดยการออกเช็คเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยการสั่งจ่ายเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หรือจะกล่าวอีกอย่างคือเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้กันจริง และต้องมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
๒. ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
๓. ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
๔. ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนเงินเหลือไม่พอที่จะใช้เงินตามเช็คได้
๕. ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต (มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง)
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อ ได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดดังกล่าวมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
เป็นความผิดยอมความได้ไม่ว่าอยู่ในชั้นการสอบสวนของพนักสอบสวนหรือในชั้นการพิจารณาของศาล (มาตรา ๕)
การควบคุมตัวหรือการขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙
เช่น เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูก จับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของ พนักงานสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงาน อัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย (มาตรา ๗ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณียื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัด ฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว
การวินิจฉัยคำร้องเช่นว่านี้ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหา แสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียก พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีมาชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจเรียกพยานมาเบิกความ ประกอบก็ได้ (ม.๗ วรรคสอง พรบ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดง ถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาลให้ศาลสอบถามผู้ ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีเช่นว่านี้ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว (มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
แต่ทั้งนี้ ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลัก ประกันหรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค (มาตรา ๖)
สิทธิการดำเนินคดีอาญาอาจระงับได้โดยอีกวิธีหนึ่งคือได้ใช้เงินตามเช็คแก่ ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นหรือหนี้ที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันหรือระงับไปก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุด (มาตรา ๗)
ผู้เสียหายอาจฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามกฎหมายตั๋วเงินรวมไปกับคดีอาญาได้ ถ้าหากจำนวนเงินตามเช็คนั้นไม่เกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณา พิพากษาได้ ในที่นี้คือเงินตามเช็คพิพาทใบเดียวหรือหลายใบไม่เกินสามแสนบาท แต่การพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ แพ่ง เช่น การทำคำฟ้อง การยื่นคำให้การ การขาดนัด ฯ ล ฯ (มาตรา ๘)
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่โดยที่พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
๒. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม พ.ร.บ.นี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบ ด้วยกฎหมายและธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดนั้นมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
ปัจจุบัน การชำระหนี้เงินโดยการออกเช็คเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยการสั่งจ่ายเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หรือจะกล่าวอีกอย่างคือเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้กันจริง และต้องมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
๒. ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
๓. ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
๔. ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนเงินเหลือไม่พอที่จะใช้เงินตามเช็คได้
๕. ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต (มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง)
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อ ได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และธนาคารได้ปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยความผิดดังกล่าวมีโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔ วรรคสอง)
เป็นความผิดยอมความได้ไม่ว่าอยู่ในชั้นการสอบสวนของพนักสอบสวนหรือในชั้นการพิจารณาของศาล (มาตรา ๕)
การควบคุมตัวหรือการขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙
เช่น เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูก จับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของ พนักงานสอบสวนจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงาน อัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย (มาตรา ๗ วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณียื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัด ฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว
การวินิจฉัยคำร้องเช่นว่านี้ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหา แสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียก พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีมาชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจเรียกพยานมาเบิกความ ประกอบก็ได้ (ม.๗ วรรคสอง พรบ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดง ถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาลให้ศาลสอบถามผู้ ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีเช่นว่านี้ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว (มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙)
แต่ทั้งนี้ ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลัก ประกันหรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค (มาตรา ๖)
สิทธิการดำเนินคดีอาญาอาจระงับได้โดยอีกวิธีหนึ่งคือได้ใช้เงินตามเช็คแก่ ผู้ทรงเช็คหรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือ บอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นหรือหนี้ที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันหรือระงับไปก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุด (มาตรา ๗)
ผู้เสียหายอาจฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามกฎหมายตั๋วเงินรวมไปกับคดีอาญาได้ ถ้าหากจำนวนเงินตามเช็คนั้นไม่เกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณา พิพากษาได้ ในที่นี้คือเงินตามเช็คพิพาทใบเดียวหรือหลายใบไม่เกินสามแสนบาท แต่การพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ แพ่ง เช่น การทำคำฟ้อง การยื่นคำให้การ การขาดนัด ฯ ล ฯ (มาตรา ๘)
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่โดยที่พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น