Recent Posts

Posts RSS

คดีเช็คเด้ง

คดีเช็คเด้ง ส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติ มาจากมูลหนี้หลัก ๆ เช่น การกู้ยืมเงิน, การชำระหนี้ค่าสินค้า, ค่าบริการ, ค่างวดผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ เป็นส่วนใหญ่ เมื่อรับเช็คมาแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จะต้องดูว่าเข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาหรือไม่ มีข้อสังเกตดังนี้คือ

๑. ต้องมีมูลหนี้เดิมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้เงินกู้ โดยหนี้นั้นต้องถึงกำหนดแล้ว และมีหลักฐานสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้

๒. เช็คที่รับมาต้องเป็นเช็คที่กรอกรายการในเช็คครบถ้วนแล้วรวมทั้งลงวันที่ สั่งจ่าย จำนวนเงินในเช็คจะต้องไม่มากกว่ามูลหนี้เดิม ถ้ามากกว่าเช็คนั้นย่อมที่จะไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาได้ หรือเช็คไม่ลงวันที่ก็เช่นกัน

๓. ต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องต่อศาลแขวงภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หากเกินกำหนดกฎหมายถือว่าขาดอายุความ ทำให้สูญเสียสิทธิในการดำเนินคดีทางอาญา

๔. การฟ้องร้องทางแพ่ง ต้องฟ้องร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ลงในหน้าเช็ค หากเกินกำหนดถือว่าขาดอายุความ

การดำเนินคดีอาญาเช็คเด้ง ปัจจุบันมีปริมาณคดีเช็คเด้งเป็นจำนวนมากและมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและใน ทางอาญา ตามสถานีตำรวจและศาลเยอะแยะมากมาย ถ้าเป็นคดีอาญาลูกหนี้ก็มักจะหลบหนีโดยพนักงานสอบสวนหรือโจทก์ยื่นคำร้องต่อ ศาลเพื่อ ขอออกหมายจับและก็ไม่มีการออกหมายจับทำให้คดีไม่มีความคืบหน้า ส่งผลท้ายสุดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ ส่วนลูกหนี้ลอยนวล สมมุติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีความประสงค์จะให้ตำรวจเข้าสืบสวนจับกุมตัวลูกหนี้ตามคดีเช็ค ตำรวจมัก จะเรียกค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวน เช่น ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อนจับกุมและเมื่อจับกุมได้ตำรวจมักจะเรียกค่าตอบแทนใน การจับกุมโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในอัตราร้อยละ ๑๐-๒๐ % หากไม่ตกลงเกี่ยวกับเรื่องค่าบริการการจับกุม ตำรวจมักอ้างว่าไม่มีเวลาเนื่องจากมีคดีอาญาแผ่นดินที่ต้องรับผิดชอบเป็น จำนวนมาก คดีเช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว คุณต้องไปสืบหาตัวเอาเอง นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในปัจจุบัน

หากท่านต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา และศาลได้ออกหมายจับคดีเช็คเด้งแล้ว ท่านก็ควรไปว่าจ้างนักสืบเพื่อสืบหาตัวและเมื่อพบตัวแล้วก็นำหมายจับจับตัว ส่งศาล

ศาลจะกำหนดนัดพิจารณาคดีหรือเขาเรียกว่านัดพร้อมและสอบถามจำเลยว่าจะให้การ รับสารภาพหรือปฏิเสธ หากจำเลยหรือลูกหนี้ให้การรับสารภาพและยอมผ่อนชำระหนี้ ทางปฏิบัติศาลมักจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องมายื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยให้มานัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ดังนั้น หากลูกหนี้ยังคงเพิกเฉยศาลก็จะมีคำพิพากษาจำคุกลูกหนี้ ตามกฎหมายศาลลงโทษจำเลยคดีเช็คเด้งได้ไม่เกิน ๑ ปี ต่อการจ่ายเช็คเด้ง ๑ ฉบับ ถ้ามีหลายฉบับ ศาลพิพากษาเป็นรายกระทงไป

ถ้าจำเลยหรือลูกหนี้ให้การปฏิเสธฝ่ายโจทก์และจำเลยก็จะดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานกันต่อไปและนัดฟังคำพิพากษา ส่วนจะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับฝีไม้ลายมือของทนายความที่ท่านจ้างและพยาน หลักฐานว่าครบถ้วนหรือไม่

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม