JOB Ratchakarn
สัญญาจำนำ
เขียนโดย small ที่ 03:05
จำนำเป็นสัญญาระหว่างผู้จำนำกับผู้รับจำนำ ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ผู้จำนำอาจเป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่ ๓ ก็ได้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนำจะฟ้องให้ผู้จำนำซึ่งเป็นบุคคลที่สามชำระหนี้ไม่ได้ ได้แต่บังคับจำนำเอทรัพย์สินที่จำนำขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล เมื่อขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ผู้จำนำซึ่งเป็นบุคคลที่สามไม่ต้องรับผิดชอบอีกต่อไป แต่ลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดในหนี้ที่ยังเหลืออยู่ สัญญาจำนำไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อสำคัญจะต้องส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำ เมื่อ
สัญญาจำนำเกิดขึ้นแล้วต่อเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบ
ครองของผู้จำนำไม่ว่าจะยอมกันด้วยวาจาหรือมีการทำสัญญาเช่าทรัพย์ ก็มีผลทำให้สัญญาจำนำระงับ ผู้จำนำไม่ต้องรับผิดอีกต่อไป แต่ลูกหนี้ยังคงรับผิดตามมูลหนี้ประธาน
ลักษณะของสัญญาจำนำ
มาตรา ๗๔๗ บัญญัติ “อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้” จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าจำนำมีลักษณะ คือ
๑ ทรัพย์สินที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากกฎหมายใช้คำว่า “ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง” ดังนั้นทรัพย์สินที่จำนำได้จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น อะไรเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๔๐ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะเอามาจำนำไม่ได้ สำหรับ สังหาริมทรัพย์บางประเภท เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ จำนำได้โดยไม่ต้องมีตั๋วรูปพรรณ ถ้าสัตว์พาหนะดังกล่าวมีตั๋วรูปพรรณแล้ว หรือเครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน กรรมสิทธ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรแล้วสามารถนำมาจำนำได้ และจำนองได้ด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๓/๒๕๓๑ ทรัพย์สินที่จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์และแผงซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๐๐ (เดิม) จึงไม่อาจจำนำได้ (ปัจจุบัน สิทธิการเช่าสามารถจำนำได้ตามมาตรา ๑๔๐)
คำว่า “ สังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง” ตามมาตรา ๗๔๗ นี้ ไม่
ได้หมายว่าสัญญาจำนำสัญญาหนึ่งหรือการจำนำประกันหนี้อย่างหนึ่งจะใช้
ทรัพย์สินที่จำนำได้เพียงสิ่งเดียวอจจะจำนำสังหาริมทรัพย์หลายสิ่งหรือหลาย
ชิ้นเพียงจำนวนเดียวก็ได้
๒ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำนำเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคล ๒ ฝ่าย คือ ผู้จำนำนำ และ ผู้รับจำนำกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องได้ ดังนั้น การจำนำจะต้องตกลงเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ ข้อสำคัญจะต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แกผู้รับจำนำ และการส่งมอบนั้นกระทำโดยเจตนาเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น