Recent Posts

Posts RSS

พยาน

พยาน 
จำเลยบางคนยอมรับข้อเท็จจริง แต่จำเลยอื่นขาดนัดพิจารณาหรือสู้คดี ศาลจะฟังข้อเท็จจริงให้มีผลถึงจำเลยอื่นไม่ได้ เช่น จำเลยที่ 1 รับว่าประมาท ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันปฏิเสธ โจทก์ต้องสืบในส่วนของจำเลยที่ 2 หรือ จำเลยที่ 2 ขาดนัด โจทก์ก็ต้องสืบว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง สำหรับกรณีที่ไม่ต้องสืบพยาน ศาลนำคำรับมาตัดสินได้ แม้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก็ตาม เช่น จำเลยรับว่าทำเอกสารถึงโจทก็มีหนี้อยู่ 2 ล้านบาท 
-คำให้การปฏิเสธไม่ชัดแจ้งหรือไม่กล่าวถึงข้อใด ถือว่ายอมรับ (177 ว.2) เช่น สู้ว่า ไม่มีหนังสือเลิกสัญญาเช่า เท่ากับรับว่า บอกเลิกด้วยวาจา สู้ว่า ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อ ไม่มีประเด็นเรื่องตราประทับ สู้ว่านอกจากที่ให้การถือว่าปฏิเสธ ไม่ทราบ ไม่รับรอง ไม่สู้ว่าปลอมอย่างไร ส่วนไหน เหล่านี้ถือว่ารับข้อเท็จจริงตามฟ้อง แต่บางเรื่อง เหตุแห่งการปฏิเสธขัดกันเอง ก็ถือว่าเป็นปฏิเสธลอย แต่ไม่มีสิทธิสืบพยาน เช่น สู้ว่าปฏิเสธหนี้ตามฟ้องถือว่าปฏิเสธ ที่ให้การต่อไปว่า ลงชื่อในสัญญาเกิดจากหนี้ภริยาจำเลย ดังนั้น เหตุแห่งหารปฏิเสธขัดกัน จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานตามประเด็น 
-คำท้ากันในศาล ตามมาตรา 84 
-คำท้าคือการรับฟังข้อเท็จจริงโดยการตกลงของคู่ความ คำท้าไม่ขัดต่อกฎหมายก็บังคับได้ และถือว่าเป็นการรับข้อเท็จจริงตามเงื่อนไขของคำท้าตามมาตรา 84 แต่ถ้าตกลงให้ศาลวินิจฉัยคดีตามที่สืบพยานหรือตกลงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญา หรือให้ดูที่เกิดเหตุแล้วตัดสินไม่เป็นคำท้า เพราะเป็นการตัดสินโดยการสืบพยานของศาล คำท้าใช้นคดีอาญาไม่ได้ เพราะศาลต้องเอาความจริง แต่ใช้ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้ 
-การท้ากันถือเป็นการสละข้อต่อสู้อื่นๆ แลพยานหลักฐานที่เสนอมาทั้งหมด เมื่อท้าแล้วจะอุทธรณ์ว่าพิจารณานอกสำนวนหรือยกประเด็นตามฟ้องไม่ได้ ถือว่าไม่ได้ยกมาโดยชอบในศาลชั้นต้น เช่น ท้าว่าที่ดินอยู่ในเขตของใคร หรือท้าเอาผลของคดีอาญาหรือท้าว่าคดีเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ หรือมอบให้ผู้พิพากษาทั้งศาลตัดสินคดี จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คงอุทธรณ์ได้แค่ว่าถูกต้องตามคำท้าหรือไม่เท่านั้น คดีท้ารังวัด จะนำชี้ไม่ได้ เพราะไม่ถูต้องตามหลักวิชา ท้ากันเบิกความเมื่อเบิกความแล้ว เช่น ให้พยานตอบว่า ที่ดินโอนได้หรือไม่เท่านั้น เมื่อพยานเบิกความว่าที่ดินโอนได้ จะอ้างว่าพยานเบิกความโดยำไม่สุจริตไม่ได้ ท้าหน้าที่นำสืบก็ทำได้หรือท้าเอาผลคดีอาญาถึงที่สุด ศาลต้องรอคดีอาญาก่อน และการท้ามีผลเฉพาะคู่ความที่ท้า ยกเว้นคดีจ้าของรวมท้ากันรังวัด ถึงแม้ผลการรังวัดเป็นเช่นใด ก็ไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวมอื่น เจ้าของรวมอื่นก็ต้องผูกพัน 
-กรณีไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าได้ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เช่น ท้าให้คนนอกเบิกความ แต่ไม่มาเบิกความหรือเบิกความไม่บอกว่าที่ดินของใคร หรือท้ารังวัดแต่ไม่สามารถรังวัดได้เนื่องจากไม่มีระวางหรือหลักหมุด ถ้าเชี่ยวชาญพิสูจน์เอกสาร แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่ลงความเห็น กรณีทีคู่ความอีกฝ่ายทราบผลคำท้าแล้ว แถลงไม่สืบพยาน ศาลต้องตัดสินตามหน้าที่นำสืบ ท้ารังวัด แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้าที่ดิน ศาลสั่งให้รังวัดใหม่และห้ามจำเลยขัดขวางได้ ศาล พิพากษาตามคำท้าได้เมื่อถูกต้องตามคำท้า ถ้าไม่ตรงตามคำท้า ศาลต้องให้คู่ความดำเนินการให้ตรงตามคำท้าก่อน เช่น ท้ากันให้ที่ดินและปลัดอำเภอไปรังวัด แต่เอาเสมียนอำเภอไปแทนไม่ได้ ท้าตรวจลายมือชื่อ ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ลงความเห็น ก็ต้องดำเนินการสืบพยานต่อไป คู่ความที่แถลงไม่ติดใจสืบพยานไปก่อนแล้ว ก็มีสิทธิสืบพยานใหม่ได้ ทนายความที่มีอำนาจจำหน่ายสิทธิของคู่ความได้ ก็มีอำนาจท้ากันได้ 
-ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายหรือข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง 84/1 
- ผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดนด้วยเครื่องจักรกล อีกฝ่ายต้องไม่ใช่เครื่องจักรกลด้วย เช่น รถยนต์ชนกันไม่ใช้มาตรา 437 ผู้โดยสารก็มีหน้าที่พิสูจน์ ส่วนทรัพย์อันตรายโดยสภาพ เช่น ไฟฟ้า ทรัพย์เดินด้วยกลไก เช่น แท่นไฮโดรลิก เมื่อจำเลยรับว่า ใช้เครื่องจักรแล้ว หน้าที่นำสืบว่า ไม่ต้องรับผิดตกแก่ผู้ควบคุม 
-ผู้มีชื่อในทะเบียน (1373) เช่น โฉนดหรือ น.ส.3 ผู้มีชื่อถือว่ามีสิทธิครอบครอง ยกเว้น สู้ว่า ไม่รุกล้ำที่ดิน คนฟ้องก็ต้องนำสืบ สู้ว่ามีสิทธิตามสัญญาแบ่งทรัพย์ เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ แม้จำเลยมีชื่อในทะเบียน ก็ต้องสืบ สู้ว่า ที่ดินออกโฉนดโดยไม่ชอบ เช่น ทับที่ดินผู้อื่น โจทก์ต้องสืบว่า ออกโฉนดโดยชอบ ขอให้ดูมาตรา 127 ประกอบด้วย ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ยังไม่จดทะเบียน เจ้าของโฉนดมีสิทธิดีกว่า สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้อ้างว่า ไม่เป็นส่วนควบ ต้องนำสืบ เช่น อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าหรือความยินยอม คดีต่างคนต่างมีชื่อในโฉนด ถ้อ้างว่า เป็นเจ้าของผู้เดียวก็ต้องสืบ เนื่องจากโฉนดเป็นเอกสารมหาชนตามมาตรา 127 
-ผู้ยึดถือให้สันนิษฐานว่า ยึดถือเพื่อตน (1369,1372) ใช้ดับที่ดินมือเปล่า แต่ถ้าฟ้องรัฐ ผู้ครอบครองต้องนำสืบเพราะใช้ยันรัฐไม่ได้ หรือต่างฝ่ายต่างครอบครอง ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ หรืออ้างว่า ขายที่ดินให้โจทก์ ข้อที่ว่าขายไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครอง ผู้กล่าวอ่างนำสืบ สู้ว่า ผู้อื่นครอบครอง ก็นำข้อสันนิษฐานมาใช้ไม่ได้ จำเลยครอบครองไม้ โจทก์อ้างว่า ให้ยืม โจทก์สืบ แต่ถ้าอ้างเรื่องอื่น คือ อ้างว่าโจทก์ไม่มารับไม้ตามกำหนดนัด จำเลยสืบ เงินในบัญชี ตามพฤติการณ์ธรรมดาต้องถือว่าเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ โจทก์สืบ 
-กรณีอื่น เช่น บุคคลกระทำการโดยสุจริต (6) เช่น ผู้รันโอนทรัพย์ ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ถือว่าบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริต หรือรับโอนทรัพย์จากการทำสัญญาลวง ตามมาตรา 155 ใครอ้างว่า ไม่สุจริต ต้องสืบ และคำให้การต้องชัดแจ้งว่า ไม่สุจริตอย่างไรด้วย สินสมรส ตาม 1474 วรรคท้าย ใช้เฉพาะสามีภริยา ไม่ใช่กับคนภายนอก จำนวนเงินที่เอาประกันภัย เป็นหลักประเมินราคาที่ถูกต้อง ตาม 877 วรรคสอง เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสืบหักล้างได้ ออกใบเสร็จตาม 327 เช่น ถือว่าชำระค่าเช่าเดือนก่อนๆด้วย เอกสารมหาชน สันนิษฐานว่าถูกต้องและแท้จริงตาม 127 โจทก์ฟ้องแบ่งสินสมรส จำเลยสู้ว่า ถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น จำเลยต้องนำสืบ เพราะอ้างว่า เอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สันนิษฐานว่าถูกต้องตาม 1024 อ้างว่า ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น ก็ต้องสืบหักล้าง 
-ภาระการพิสูจน์กับหน้าที่นำสืบ คือ ถ้าไม่สืบพยานใช้เรื่องภาระการพิสูจน์ตัดสินคดี เช่น ผู้มีหน้าที่นำสืบขาดนัดพิจารณา ก็ต้องแพ้คดี แต่ถ้าสืบพยานยันกัน ก็ใช้เรื่องการชั่งน้ำหนักพยาน ส่วนลำดับการนำพยานเข้าสืบ คือ การสืบก่อนสืบหลัง ถ้าประเด็นสำคัญที่สุดฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ เช่น สู้ว่า สัญญาเป็นโมฆะ ศาลก็ให้สืบพยานก่อน 
-พยานหลักฐานที่รับฟังได้ 
-ศาลมีอำนาจรับฟังพยานที่เรียกมาสืบ รวมทั้งไม่รับฟังพยาน ตัดพยาน ตาม 86 เช่น พยานที่ศาลงดสืบไปแล้ว ศาลก็สั่งมาสืบได้ หรือสั่งให้ทำแผนที่พิพาทได้ ตาม 86 วรรคสาม 
-พยานต้องเกี่ยวกับประเด็น 
-สู้ว่า เป็นลายมือชื่อบุคคลอื่นลงแทน แต่สืบว่า ลงในกระดาษเปล่า สู้ว่า ตึกพิพาทเป็นของบุคคลอื่น แต่สืบว่า อาศัยสิทธิจำเลยอยู่ สู้ว่า ชำระค่าจ้างครบแล้ว แต่สืบว่า ก่อสร้างไม่เสร็จ เกิดความเสียหายเอาค่าเสียหายมาหักกลบ เหล่านี้ไม่เกี่ยวกับประเด็น ฟ้องสัญญากู้ แต่จะสืบว่า เป็นหุ้นส่วนกันและตกลงคืนทุนโดยทำสัญญากู้ไม่กรอกข้อความ เป็นการสืบไม่สมฟ้อง 
-สืบรายละเอียดที่มาแห่งหนี้ได้ เช่น ชำระหนี้ตามเช็ค ที่มาของสินรสว่ารับมรดกมา หรือของหายในโกดังไม่ใช่ของหายในการขนส่ง 
-จำเลยให้การใดๆ โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิเสธ โดยสามารถนำสืบหักล้างได้ทันที เช่น โจทก์สืบแก้ว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่น หรือสัญญาอื่น หรือเอาสัญญาเช่ามาถามค้านว่า เป็นการครอบครองแทนโจทก์ได้ ส่วนจำเลยก็สืบพยานหักล้างพยานโจทก์ได้

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม