Recent Posts

Posts RSS

การชี้สองสถาน

มื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะนัดชี้สองสถาน
การชี้สองสถาน คือ การที่ศาลพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยหากมีข้อใดที่ฝ่ายโจทก์อ้างแล้วจำเลยไม่ยอมรับ ศาลจะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบ
ตัวอย่าง โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 100,000 บาท ถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จำเลยให้การว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว
คดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินกู้ 100,000 บาท คืน ส่วนจำเลยอ้างว่าชำระคืนให้แล้ว เมื่อโจทก์อ้างแล้วจำเลยไม่ยอมรับ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระเงินกู้ 100,000 บาท คืนให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ และศาลสั่งให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้ชำระเงินกู้คืนให้แก่โจทก์ แล้วหรือไม่ การที่ศาลกำหนดเช่นนี้เรียกว่า การชี้สองสถาน
ปัจจุบันการชี้สองสถาน มีแนวโน้มที่ศาลจะนัดชี้สองสถานทุกเรื่อง ทุกคดี เพราะจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีง่ายขึ้น ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน คือ

    1. จำเลยคนใดคนหนึ่ง ขาดนัดยื่นคำให้การ
    2. คำให้การของจำเลยเป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น
    3. คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่มีเหตุผลแห่งการปฏิเสธ ซึ่งศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถาน
    4. ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่อง โดยไม่ต้องสืบพยาน
    5. คดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
    6. คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยาก หรือไม่จำเป็นที่จะต้องชี้สองสถาน

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม