Recent Posts

Posts RSS

สหภาพแรงาน

การตั้งสหภาพแรงงาน ฯ
แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.86
 
บทบาทหน้าที่ของสหภาพแรงงาน ฯ หรือคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                - เรียกร้อง   เจรจา ทำความตกลง และรับทราบตำชี้ขาดหรือทำข้อตกลงกับนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างในกิจการของสมาชิกได้
                - จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์   ภายใต้วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน
                - จัดให้บริการสารสนเทศให้สมาชิก เกี่ยวกับการจัดหางาน
                -   ให้คำปรึกษา   เพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารและการทำงาน
                - ให้บริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิก 
                -  เรียกเก็บค่าสมัครสมาชิกและเงินค่าบำรุง ตามข้อบังคับสหภาพแรงงาน
 
 
สิทธิการลากรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                -    ลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา
                -    การไกล่เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
                -   ลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด     - แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงสาเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง   พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
                -   ถือว่าเป็นวันทำงาน
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
 
-          ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้ง
-          ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
-          ให้คำปรึกษา เสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
-          ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้
-          เสนอข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการ
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการลูกจ้าง
 
                - ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้งหรือเมื่อคณะกรรมการลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งร้องขอ   เพื่อ
                - จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
                - ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงาน เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง
                - พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
                - หาทางปรองดอง ระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ

0 ความคิดเห็น

กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

กรรมการลูกจ้าง  กับกรรมการสหภาพแรงงาน   อาจมีที่มาแตกต่างกัน  แต่มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย
เหมือนกัน  คือ การเป็นตัวแทนลูกจ้างในการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
           
กรรมการลูกจ้าง

               กรรมการลูกจ้าง  มีที่มาจาก พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘  มาตรา ๔๕  กำหนดไว้ว่า                  

“ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้
               ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น  สมาชิกของสหภาพแรงงาน
ให้คณะกรรมการลูกจ้างประกอบด้วยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นั้นที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่
มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หนึ่งคน     ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น
สมาชิก ของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้
                   ให้นำมาตรา 15 วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ตามวรรคสองโดยอนุโลม”
องค์ประกอบคือ  

                 ๑)    สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  ๕๐  คน  ขึ้นไป

             ๒)    หากมีสหภาพแรงงาน  ที่มีสมาชิกเกิน หนึ่งในห้า   ของลูกจ้างทั้งหมด  สหภาพแรงงานแต่งตั้ง
                    กรรมการลูกจ้างได้เกินกึ่ง (ครึ่งหนึ่ง) ของคณะกรรมการลูกจ้างทั้งหมด  ๑  คน
             ๓)   หากสหภาพแรงงานมีสมาชิกเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด   สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการ
                   ลูกจ้างได้ทั้งคณะ

             จำนวนกรรมการลูกจ้าง   มีได้กี่คนในสถานประกอบการ   พิจารณาจาก  จำนวนลูกจ้างที่มีอยู่ ณ.ขณะแต่งตั้ง
หรือเลือกตั้งแล้วแต่กรณี  ตามมาตรา ๔๖   สรุปได้ คือ
                ลูกจ้าง     ๕๐ ถึง  ๑๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๕  คน
                ลูกจ้าง  ๑๐๑  ถึง ๒๐๐        มีกรรมการลูกจ้างได้  ๗  คน

                ลูกจ้าง  ๒๐๑  ถึง ๔๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๙  คน

                ลูกจ้าง  ๔๐๑ ถึง  ๘๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๑  คน

                ลูกจ้าง  ๘๐๑ ถึง ๑,๕๐๐     มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๓  คน

                ลูกจ้าง  ๑,๕๐๑ ถึง ๒,๕๐๐   มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๕  คน

                ลูกจ้างเกิน ๒,๕๐๐ คนขึ้นไป  มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๗ ถึง ๒๑  คน



กรรมการลูกจ้าง  มีบทบาท  หน้าที่อย่างไร  
เป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา ๕๐  สรุปได้ คือ
ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อหนึ่งครั้ง  เพื่อ
               (1)  จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
               (2)  ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง
               (3)  พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
               (4)  หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ
               (5)  ร้องขอต่อศาลแรงงานให้วินิจฉัย  กรณี เห็นว่านายจ้างการกระทำการใด ๆ อันทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับ
                    ความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร


กรรมการลูกจ้างกระทำความผิด    ลงโทษได้หรือไม่


                กรรมการลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์  มาตรา ๕๒   “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง

ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถ
ทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน”
             ดังนั้น   หากจะลงโทษกรรมการลูกจ้าง  ไม่ว่าจะตักเตือนเป็นหนังสือ  พักงาน  หรือเลิกจ้าง ต้องรับอนุญาต
จากศาลก่อน    ในทางปฏิบัติต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงาน   ขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อนจึงจะสามารถลงโทษได้   

กรรมการสหภาพแรงงาน
              กรรมการสหภาพแรงงาน  มีที่มาจากการก่อตั้งสหภาพแรงงาน  ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา  ๘๙  คือ
ลูกจ้างรวมกัน ตั้งแต่  ๑๐  คน  ขึ้นไป  ร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขึ้นในสานประกอบการ    
          เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว  ผู้ก่อตั้งต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่สามัญครั้ง แรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการและมอบหมาย การทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการ    และอนุมัติ
ร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นแก่นายทะเบียน   ในระหว่างนี้จะมีการรับสมัครสมาชิกด้วย

          เมื่อได้คณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้ว   ให้กรรมการสหภาพแรงงาน   มีสิทธิหน้าที่ดำเนินงานในนาม
สหภาพแรงงาน ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน  ฯ   ซึ่งวัตถุประสงค์นั้น  ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายตามมาตรา ๘๖ 
คือ สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ     สภาพการจ้างและ

ส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้าง ด้วยกัน

0 ความคิดเห็น

Employer

นายจ้าง  (Employer)      คือ
1.        บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้
2.        ผู้ที่รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง
3.        ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
4.        ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้มีอำนาจกระทำการแทน
5.      การ จ้างเหมาแรงงาน หากมีองค์ประกอบ คือ ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมา ค่าแรง   การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจใน ความรับผิดชอบของผุ้ประกอบการ    ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างด้วย
 
มาตรา 5 ฉบับแก้ไข ปี 2551
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
ใน กรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ กระทำการแทนด้วย”
 
และเพิ่มมาตรา 11/1    
“มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิด ชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของ คนที่มาทำงานดังกล่าว

                ให้ผู้ประกอบกิจการ ดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ”

0 ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม