Recent Posts

Posts RSS

สหภาพแรงาน

การตั้งสหภาพแรงงาน ฯ
แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.86
 
บทบาทหน้าที่ของสหภาพแรงงาน ฯ หรือคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                - เรียกร้อง   เจรจา ทำความตกลง และรับทราบตำชี้ขาดหรือทำข้อตกลงกับนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างในกิจการของสมาชิกได้
                - จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์   ภายใต้วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน
                - จัดให้บริการสารสนเทศให้สมาชิก เกี่ยวกับการจัดหางาน
                -   ให้คำปรึกษา   เพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารและการทำงาน
                - ให้บริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิก 
                -  เรียกเก็บค่าสมัครสมาชิกและเงินค่าบำรุง ตามข้อบังคับสหภาพแรงงาน
 
 
สิทธิการลากรรมการสหภาพแรงงาน ฯ
                -    ลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา
                -    การไกล่เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
                -   ลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด     - แจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงสาเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง   พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
                -   ถือว่าเป็นวันทำงาน
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
 
-          ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้ง
-          ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
-          ให้คำปรึกษา เสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
-          ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้
-          เสนอข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการ
 
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการลูกจ้าง
 
                - ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อครั้งหรือเมื่อคณะกรรมการลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งร้องขอ   เพื่อ
                - จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
                - ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงาน เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง
                - พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
                - หาทางปรองดอง ระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม