Recent Posts

Posts RSS

กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

กรรมการลูกจ้าง  กับกรรมการสหภาพแรงงาน   อาจมีที่มาแตกต่างกัน  แต่มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย
เหมือนกัน  คือ การเป็นตัวแทนลูกจ้างในการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
           
กรรมการลูกจ้าง

               กรรมการลูกจ้าง  มีที่มาจาก พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘  มาตรา ๔๕  กำหนดไว้ว่า                  

“ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้
               ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น  สมาชิกของสหภาพแรงงาน
ให้คณะกรรมการลูกจ้างประกอบด้วยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นั้นที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่
มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หนึ่งคน     ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น
สมาชิก ของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้
                   ให้นำมาตรา 15 วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ตามวรรคสองโดยอนุโลม”
องค์ประกอบคือ  

                 ๑)    สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  ๕๐  คน  ขึ้นไป

             ๒)    หากมีสหภาพแรงงาน  ที่มีสมาชิกเกิน หนึ่งในห้า   ของลูกจ้างทั้งหมด  สหภาพแรงงานแต่งตั้ง
                    กรรมการลูกจ้างได้เกินกึ่ง (ครึ่งหนึ่ง) ของคณะกรรมการลูกจ้างทั้งหมด  ๑  คน
             ๓)   หากสหภาพแรงงานมีสมาชิกเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด   สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการ
                   ลูกจ้างได้ทั้งคณะ

             จำนวนกรรมการลูกจ้าง   มีได้กี่คนในสถานประกอบการ   พิจารณาจาก  จำนวนลูกจ้างที่มีอยู่ ณ.ขณะแต่งตั้ง
หรือเลือกตั้งแล้วแต่กรณี  ตามมาตรา ๔๖   สรุปได้ คือ
                ลูกจ้าง     ๕๐ ถึง  ๑๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๕  คน
                ลูกจ้าง  ๑๐๑  ถึง ๒๐๐        มีกรรมการลูกจ้างได้  ๗  คน

                ลูกจ้าง  ๒๐๑  ถึง ๔๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๙  คน

                ลูกจ้าง  ๔๐๑ ถึง  ๘๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๑  คน

                ลูกจ้าง  ๘๐๑ ถึง ๑,๕๐๐     มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๓  คน

                ลูกจ้าง  ๑,๕๐๑ ถึง ๒,๕๐๐   มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๕  คน

                ลูกจ้างเกิน ๒,๕๐๐ คนขึ้นไป  มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๗ ถึง ๒๑  คน



กรรมการลูกจ้าง  มีบทบาท  หน้าที่อย่างไร  
เป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา ๕๐  สรุปได้ คือ
ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อหนึ่งครั้ง  เพื่อ
               (1)  จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
               (2)  ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง
               (3)  พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง
               (4)  หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ
               (5)  ร้องขอต่อศาลแรงงานให้วินิจฉัย  กรณี เห็นว่านายจ้างการกระทำการใด ๆ อันทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับ
                    ความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร


กรรมการลูกจ้างกระทำความผิด    ลงโทษได้หรือไม่


                กรรมการลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์  มาตรา ๕๒   “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง

ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถ
ทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน”
             ดังนั้น   หากจะลงโทษกรรมการลูกจ้าง  ไม่ว่าจะตักเตือนเป็นหนังสือ  พักงาน  หรือเลิกจ้าง ต้องรับอนุญาต
จากศาลก่อน    ในทางปฏิบัติต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงาน   ขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อนจึงจะสามารถลงโทษได้   

กรรมการสหภาพแรงงาน
              กรรมการสหภาพแรงงาน  มีที่มาจากการก่อตั้งสหภาพแรงงาน  ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา  ๘๙  คือ
ลูกจ้างรวมกัน ตั้งแต่  ๑๐  คน  ขึ้นไป  ร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขึ้นในสานประกอบการ    
          เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว  ผู้ก่อตั้งต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่สามัญครั้ง แรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการและมอบหมาย การทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการ    และอนุมัติ
ร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นแก่นายทะเบียน   ในระหว่างนี้จะมีการรับสมัครสมาชิกด้วย

          เมื่อได้คณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้ว   ให้กรรมการสหภาพแรงงาน   มีสิทธิหน้าที่ดำเนินงานในนาม
สหภาพแรงงาน ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน  ฯ   ซึ่งวัตถุประสงค์นั้น  ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายตามมาตรา ๘๖ 
คือ สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ     สภาพการจ้างและ

ส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้าง ด้วยกัน

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม