Recent Posts

Posts RSS

การผ่อนเวลา

     มาตรา  903   ในการใช้เงินตามตั๋วเงินท่านมิให้ให้วันผ่อน

กฎหมายลักษณะตั๋วเงินวางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา  903  ว่า  ในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น   มิให้มีการผัดผ่อนวันเวลาการใช้เงินอีกต่อไป    เหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้    เพราะว่า  ปกติแล้วการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน    ส่วนมากแล้วเท่ากับเป็นการที่เจ้าหนี้ย่อมผ่อนเวลาให้
ลูกหนี้ไปในตัว   จึงไม่ควรให้มีการผ่อนเวลาอีก    และเหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือว่า  บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวพันในเรื่องตั๋วเงินโดยเฉพาะที่เข้ามาเป็นลูกหนี้นั้นมิได้โดยไม่จำกัดจำนวนด้วยเพียงลายมือชื่อผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินทุกคนตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินตามตั๋วแก่ผู้ทรง   ลูกหนี้ทุกคนเขาก็ประสงค์จะทราบว่าตั๋วเงินฉบับนั้น      มีการใช้เงินหรือไม่    เนื่องจากตนเองก็เป็นลูกหนี้ด้วย  ไม่มีใครต้องการผูกพันในเรื่องตั๋วเงินเป็นระยะเวลานาน 
           
ถ้ามีการผ่อนเวลาใช้เงินในเรื่องตั๋วเงิน  ผลจะเป็นอย่างไร  ?

การผ่อนเวลาให้ใช้เงิน  ซึ่งฝ่าฝืนมาตรา  903  นั้น  กฎหมาย  จะมีบทลงโทษเฉพาะในเรื่องตั๋วแลกเงินเท่านั้น ตามมาตรา  948  ที่บัญญัติว่า  ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่าย  ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้มีคู่สัญญาคนก่อน ๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น

          มาตรา  903  จะคู่กับ  มาตรา  948  เท่านั้น  ! 

คำพิพากษาฎีกาที่  921/2501  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน  โดยไม่ได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน  ผู้ทรงตั๋วแลกเงินย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย  และผู้สั่งจ่ายก็พ้นความรับผิด

            ส่วนในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินกับเช็ค   ไม่มีกฎหมายบัญญัติบทลงโทษไว้ 

ดังนั้น  กรณีตั๋วสัญญาใช้เงิน  หรือเช็ค   ถ้าผู้ทรงผ่อนเวลาให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญา

ใช้เงิน  ถามว่า  จะมีผลต่อลูกหนี้คนอื่นหรือไม่ ?  อันนี้ไม่มีผลเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
คำพิพากษาฎีกา  422/2521   โจทก์ฟ้อง  จำเลยที่  1  ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
ฟ้องจำเลยที่  2  ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน  ให้ร่วมรับผิดให้ใช้เงินตามตั๋ว

                        จำเลยที่  2  ยื่นฎีกาว่า  โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่  1  ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน  โดยจำเลยที่  2  ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย    ดังนั้น   จำเลยที่  2  จึงไม่ต้องรับผิด  และอ้างด้วยว่าตนอยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน  ตามมาตรา  700

                        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ผู้รับอาวัลย่อมผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคลซึ่งตนประกันตามมาตรา  940  และในเรื่องตั๋วเงินนั้น   ผู้จ่าย   ผู้รับรอง   ผู้สลักหลังหรืออาวัล   ต้องร่วมกัน
รับผิดต่อผู้ทรงตามมาตรา  967   ผู้รับอาวัลจึงไม่อยู่ในฐานะเดียวกันกับผู้ค้ำประกันตาม
กฎหมายในเรื่องค้ำประกัน   คือ   ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นสอง  จะต้องรับผิดต่อเมื่อลูกหนี้
ไม่ชำระหนี้นั้นตามมาตรา  680   แต่กรณีของผู้รับอาวัลนั้นมาตรา  967  กฎหมายบัญญัติไว้
ชัดเจนว่า  ผู้รับอาวัลต้องร่วมกับลูกหนี้คนอื่น ๆ  รับผิดต่อผู้ทรง   ก็คือ  มีความรับผิดในระดับ
เดียวกัน   เพราะฉะนั้น   ผู้รับอาวัลจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน  จะนำมาตรา  700  มาบังคับใช้หาได้ไม่

                        การที่ผู้ทรงได้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้นั้น    ก็ไม่ทำให้ลูกหนี้คนอื่น    หลุดพ้นความรับผิดเพราะไม่นำมาตรา  948  มาใช้กับเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินตามบทบัญญัติมาตรา 985

            ตัวอย่างในเรื่องเช็ค

            โจทก์ฟ้องจำเลยที่  1  ในฐานะสั่งจ่ายเช็ค  ฟ้องจำเลยที่  2  ในฐานะผู้สลักหลังให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินตามเช็ค

            ศาลชั้นต้น  และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็ค

            จำเลยที่  2   ผู้สลักหลังเช็คยื่นฎีกาขึ้นมาข้อหนึ่งว่า   คดีนี้ตัวผู้ทรงเช็คได้ผ่อนเวลา
การชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่  1  ผู้สั่งจ่าย  ดังนั้น  จำเลยที่  2  จึงหลุดพ้นจากความรับผิด
            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า   ผู้สลักหลังเช็คมิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเพราะผู้สลักหลังเช็ค  ต้องร่วมกับลูกหนี้อื่น ๆ รับผิดต่อผู้ทรงตามมาตรา  967  มิได้อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน  ดังนั้น  จะไปนำบทบัญญัติในเรื่องที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา  700  มาใช้ไม่ได้  และจะนำ  ปพพ. มาตรา  948  มาบังคับไม่ได้ เพราะมาตรา  989  ไม่มีบทบัญญัติว่าให้นำมาตรา  948  มาใช้กับเช็ค   (. 595/2509  , 1083/2517 3242/2530  และ  1034/2507)

            สรุป    มาตรา  903  การใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น  ท่านมิให้ให้วันผ่อนจะมี
บทกฎหมายลงโทษ  เฉพาะกรณีตั๋วแลกเงินตามมาตรา  948  เท่านั้น 

แต่ถ้าเป็นเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน  กับ  เช็ค   ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน
ผ่อนเวลาให้แก่ผู้ออกตั๋ว  หรือ  ผู้ทรงเช็คผ่อนเวลาให้แก่ผู้สั่งจ่ายเช็ค  ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ลูกหนี้ในตั๋วเงินหลุดพ้นจากความรับผิดแต่อย่างใด

            ที่สรุปมาทั้งหมดในตอนต้นนั้น  ก็จะเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฝ่ายลูกหนี้ในตั๋วเงิน 
ซึ่งจะมีหลักมาจากมาตรา  900

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม