Recent Posts

Posts RSS

เตรียมสอบตั๋วทนาย1

ศาลปกครอง
การแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีปกครองของศาล
- ศาลปกครองมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
- เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครอง
- คู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ (หน่วยงานของรัฐ, เจ้าหน้าที่รัฐ)
- ระบบการพิจารณาพิพากษาคดี ต้องต่างจากกรณีปกติ เพราะรัฐได้เปรียบเก็บพยานหลักฐานทุกอย่างไว้
- การพิจารณาคดีเป็นระบบไต่สวน
- การยื่นฟ้องไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
- การสืบพยานต้องทำเป็นหนังสือ จะเอาพยานบุคคลมาเบิกความขัดแย้งกับเอกสารของทางราชการไม่ได้
- คู่กรณี เรียกว่า ผู้ฟ้องคดี กับ ผู้ถูกฟ้องคดี
- หากข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลจะแจ้งไปยังคู่กรณีว่า จะกำหนด “วันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง” โดยมีขึ้นเพื่อคานอำนาจระหว่างตุลาการเจ้าของ
สำนวน กับตุลาการนอกคดี / ตุลาการหัวหน้าคณะ
- ให้ยื่นฟ้องคดีทางไปรษณีย์ตอบรับได้ ต้องแนบหลักฐาน + หนังสือมอบอำนาจ + บัตรประชาชน โดยอายุความจะสะดุดหยุดลงในวันที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์
- ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้
- ระยะเวลาการฟ้องคดี 90 วัน /1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
- บางคดี ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ให้ดำเนินคดีต่อไป เพราะบางกรณีเป็นประโยชน์ สาธารณะ ถ้าเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตน ถอนได้
- การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลอาจให้ทำคำแถลงเป็นหนังสือ โดยยื่นก่อนวันนัด (ต้องทำคำแถลงเป็นหนังสือ จึงจะแถลงด้วยวาจาได้ซึ่งต้อง
ภายในขอบเขตของคำแถลงเป็นหนังสือเท่านั้น)
- การอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ ไปยังศาลปกครองสูงสุด ภายใน 30 วัน ศาลขยายให้ไม่ได้
- การบังคับคดี เมื่อศาลตัดสินไปแล้ว ต้องให้คำพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่ต้องออกคำบังคับ/หมายบังคับคดี
- การจ่ายเงินเป็นไปตามมติครม. จะทำการยึดทรัพย์ของหน่วยงานไม่ได้ แต่หากเป็นหนี้กระทำการ / งดเว้นกระทำการ หน่วยงานของรัฐทำได้แม้ไม่มีมติ ครม.
- ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนไม่ได้
- กรณีเป็นผู้เยาว์ อายุ 15 ปีขึ้นไป ฟ้องคดีด้วยตนเองได้
- ค่าธรรมเนียมศาล ไม่เกิน 2.5% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีขอให้ใช้เงิน/ ส่งมอบทรัพย์สิน
- ถ้ายากจน/ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
- การขอคุ้มครองชั่วคราวขอได้ ออกคำสั่งให้ปฏิบัติ มีผลทันที แต่หากจะขอทุเลาการบังคับคดีต้องดูว่า คำสั่งทางปกครองนั้น กระทบถึง การบริหารราชการแผ่นดิน +
การบริหารสาธารณะ หรือไม่
การเตรียมและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครอง
- ในคดีปกครอง เรียกว่า คู่กรณี = ผู้ฟ้องคดี + ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ได้รับค.เดือดร้อน) , ระยะเวลาการฟ้องคดี (อายุความ) ,ตุลาการศาลปกครอง (ผู้พิพากษา)
- หน่วยงานทางปกครองได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ตามพรบ.,พรฎ. องค์การมหาชน เอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
เช่น สภาทนายความ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ปปช. คตง.
- การยื่นฟ้อง ภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี / สถานที่เกิดเหตุ
- องค์คณะ 3 คน จ่ายตามความเชี่ยวชาญ และแต่งตั้งตุลาการผู้แถลงคดี คนใดคนหนึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ทำการตรวจสำนวน และคำชี้แจง จึงมีคำสั่งรับฟ้อง
- ส่งหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำฟ้อง
- ส่งสำเนาคำให้การ ให้ผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ ถ้าไม่ประสงค์คัดค้าน ให้แถลงต่อศาลภายในกำหนด มิฉะนั้น ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- ผู้ถูกฟ้อง ทำคำให้การเพิ่มเติมได้
- การไต่สวน / การแสวงหาข้อเท็จจริง ถ้าไม่พอ ศาลแสวงหาได้ โดยเรียกพยานบุคคล / พยานเอกสารมา
- เขตอำนาจศาลปกครอง (ม.9)
1. คดีฟ้องให้เพิกถอนกฎ/คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกม. หลักทั่วไป ฟ้องครั้งแรกที่ศชต. หากเป็นกฎที่ออกโดยครม. ฟ้องครั้งแรกที่ ศาลปกครองสูงสุด
2. จนท.ของรัฐกระทำการทางกายภาพ เช่น สร้างสะพานลอย ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
3. หน่วยงานทางปกครองละเลย/ล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ต้องมี กม.กำหนด อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองเอาไว้ มีได้ 2 กรณี คือ มีกม.กำหนดหน้าที่ไว้เป็นการทั่วไป และหน้าที่เกิดเพราะมีคนมายื่นคำขอ
ระยะเวลาในการฟ้องคดี
( กรณีล่าช้า)

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม