Recent Posts

Posts RSS

เตรียมสอบตั๋วทนาย 3

ศาลแรงงาน
การเตรียมคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน


- เป็นการพิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. ( นจ. = คนที่ให้ทำงาน และจ่ายค่าจ้าง ลจ. = ผู้ที่ตกลงทำงานให้ และได้ค่าจ้าง )
- ศาลแรงงาน (ม.3) คือ ศาลที่พิจารณาพพษ คดีแรงงาน ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค ศาลแรงงานจังหวัด จัดตั้งวันที่ 24 เม.ย. 2524
- คดีแรงงาน (ม.8) คือ คดี่ที่พิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. เรื่องเกี่ยวกับการจ้าง/การทำงาน รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามกม.แรงงาน เช่น ฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าจ้าง



- ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท การกระทำอันไม่เป็นธรรม (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.121-123) เช่น การที่นจ.กลั่นแกล้งลจ. ไม่ให้สิทธิตามกม.แรงงาน เช่น
การตั้งสหภาพแรงงาน ห้ามเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องร้องต่อคณะกก.แรงงานสัมพันธ์ก่อน ถ้าไม่พอใจจึงมาฟ้องต่อศาลแรงงาน ภายใน 30 วัน
ถ้าเป็นนจ. ต้องนำเงินวางต่อพนง.ตรวจแรงงาน + ดอกเบี้ยก่อน 15 %ต่อปี จึงจะมีอำนาจฟ้อง
- คดีเป็นคดีแรงงานหรือไม่ (ม.9) ถ้าคู่ความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน ให้อธิบดีผู้พพษศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งนี้เป็นที่สุด
- ฟ้องศาลแรงงานในท่องที่ที่มูลคดีเกิด (ศาลหลัก) / ศาลที่โจทก์/จล.มีภูมิลำเนา (ศาลยกเว้น) ต้องอ้างค.สะดวก
- สถานที่ลจ.ทำงาน ถือเป็นสถานที่มูลคดีเกิด เช่น นจ.อยู่กทม. มีโรงงานอยู่ที่ลำพูน ลจ.มีภมิลำเนาอยู่เชียงใหม่ ลจ.ฟ้องที่ศาลจ.ลำพูน ศาลจ.ลำพูนส่ง
ศาลแรงงานภาค5 (เชียงใหม่) ผู้พพษแรงงานภาคเท่านั้นมีอำนาจในการสั่งรับฟ้อง
- การนั่งพิจารณา อาจนั่งพิจารณาที่ศาลแรงงานภาค /ศาลแรงงานจังหวัดก็ได้
- การร่างฟ้องในคดีแรงงาน (ม.3 + ม.172 ปวพ.) แนะนำว่าโจทก์คือใคร, จล.คือใคร, นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจล./นิติเหตุ , ถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไร
ค.เสียหาย , คำขอ (ม.42 + ม.142 ปวพ.) ศาลอาจให้เกินคำขอได้ การบรรยายฟ้องต้องสัมพันธ์กับคำขอ
- แบบฟอร์ม รง.1 ฟ้องทั่วไป รง.2 คำร้องให้กรรมการลจ.พ้นจากตำแหน่ง ใช้ฟอร์มศาลแรงงาน/ศาลแพ่งก็ได้ ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ฟ้องเป็นนส./วาจาก็ได้ ไม่มีค่านำส่งเอกสาร (ม.26 ขยาย/ย่นระยะเวลาก็ได้)
- การปิดหมาย คดีแรงงานส่วนใหญ่มีผลทันที ขอขยายได้แม่พ่นระยะเวลาไปแล่ว
- คำให้การ ต้องชัดแจ้งพร้อมด้วยเหตุผล ให้การเป็นนส./วาจาก็ได้ (ยื่นมาก่อน/มาแถลงต่อศาลในภายหลัง)
- อายุความในการฟ้องเรียกค่าจ้าง 1 ปี, อายุความในการฟ้องเรียกค่าชดเชย 10 ปี
- วันนัดพิจารณา (ม.37) โจทก์จล.ต้องมาศาล คดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน โดยนัดวันพิจารณาให้เร็วที่สุด

- คดีแรงงานเป็นการไกล่เกลี่ย โดยจะไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความ/ลับหลังคู่ความฝ่ายใดฝายหนึ่งก็ได้ จะต้องไกล่เกลี่ย ทุกคน ทุกวิธี ทุกเวลา
ถ้าไม่ไกล่เกลี่ยกระบวนพิจารณาจะไม่ชอบ แม้เขียนคำพพษ แต่ยังไม่ได้อ่านก็ไกล่เกลี่ยได้
- เมื่อไกล่เกลี่ยแล้ว อาจถอนฟ้อง /ทำส.ประนีประนอมยอมความ + พพษตามยอม + คำบังคับ
- ถ้าตกลงกันไม่ได้ ทำรายงานกระบวนพิจารณากำหนดปด.ข้อพิพาท หน้าที่นำสืบ วันสืบพยาน อ่านให้ฟังและให้คู่ความลงชื่อ
- วันสืบพยาน ต้องอ้างและยื่นบัญชีพยาน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลกำหนดให้มีการสืบพยาน อ้างเพิ่มเติมได้ก่อนวันสืบพยาน แต่อาจอ้างเพิ่มเติมทีหลังได้
ศาลจะใช้ดุลพินิจในการอนุญาต
- การขาดนัด - การขาดนัดวันนัดสืบพยาน คือ มาแล้วในวันนัดพิจารณา แต่ไม่มาในวันนัดสืบพยาน เมือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาล ให้ศาลพิจารณาคดี
ไปฝ่ายเดียว ฝ่ายที่ขาดนัด อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลส่งคำบังคับ
- การขาดนัดพิจารณา หากโจทก์ไม่มา ศาลสั่งจำหน่ายคดี ถ้าจล.ไม่มา ศษลมีคำสั่งขาดนัด จะตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว หากขาดทั้งคู่
ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- การสืบพยาน ศาลจะสืบพยานตามปด.ข้อพิพาท โดยอาจเรียกพยานมาสืบเอง/อนุญาตให้คู่ความนำพยานที่ไม่ได้อ้างมาสืบ (ม.45)
ศาลเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน โดยศาลจะเป็นผู้ถามพยาน ทนายความจะถามได้เมื่อศาลอนุญาต เป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่ศาล
- ศาลบันทึกคำพยานโดยย่อ (ทางปฏิบัติ ทำโดยละเอียด)
- คดีแรงงาน อุทธรณ์ได้เฉพาะ ปัญหาข้อกม. ข้อเท็จจรงอุทธรณ์ไม่ได้
- องค์คณะในศาลแรงงาน ผู้พพษในศาลแรงงาน + ผู้พพษสมทบฝ่ายนจ. + ผู้พพษสมทบฝ่ายลจ. ฝ่ายละเท่ากัน มีเสียงเท่ากัน
- การยื่นคำร้อง ศาลสั่งคนเดียวได้ เพราะไม่ใช่การนั่งพิจารณา
- ผู้พพษสมทบต้องนั่งพิจารณาจนเสร็จ เว้นแต่ป่วยเจ็บ จึงหาคนอื่นมาแทนได้
- การคัดค้านผู้พพษฝ่ายสมทบก็สามารถกระทำได้ โดยผู้พพษสมทบมาจากการเลือก มีฐานะเป็นจพง.ตามกม. นอกจากนี้อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ค.เห็นได้
- ศาลอาจฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนได้ โดยดูจากสภาพศก. และสังคม
- การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ม.49) คือ การเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุเกี่ยวกับการทำงาน หรือมีเหตุเกี่ยวกับการทำงานแต่ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง
- คำพพษทำเป็นหนังสือ มีข้อเท็จจริง ฟังได้โดยสรุป วินิจฉัยในแต่ละประเด็น พร้อมด้วยเหตุผล
- คำพพษเกินคำขอได้ เพื่อป.ย.แห่งค.ยุติธรรม ดอกเบี้ยในคดีแรงงาน 15% ต่อปี หากขอมาแค่ 7.5% ศาลให้เกินคำขอได้ คือให้ 15%
- คำพพษผูกพันคนที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกันได้ นอกจากลจ. นจ. คนที่ฟ้อง
- สำเนาคำพพษส่งกรมแรงงาน โดยศษลต้องอ่านคำพพษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการพิจารณา
- การอุทธรณ์ อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพพพษ /คำสั่งนั้น
- อีกฝ่ายต้องแก้อุทธรณ์ ภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับสำเนา
- การอุทธรณืไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี เว้นแต่ศาลฎจะอนุญาต ศาลฎ ต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลแรงงานฟังมา ถ้าไม่พอให้ย้อนไปฟังใหม่ได้

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม