JOB Ratchakarn
สัญญาจ้างทำการก่อสร้าง
เขียนโดย small ที่ 06:29
สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นที่………………………………….. เมื่อวันที่…………………………………
ระหว่าง………………………………อายุ…………ปี ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่……………………
ออกให้ ณ ………………………………..เมื่อวันที่……………………………อยู่บ้านเลขที่…………………
ถนน………………………… แขวง……………………………… เขต……………………………………….
กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ฝ่ายหนึ่ง กับ………………………………………..
………………………………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า "ผู้รับจ้าง" อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลง
ทำสัญญานี้ขึ้น โดยมีเงื่อนไขรายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการก่อสร้างอาคารตึกพักอาศัยชั้นเดียวหนึ่งหลัง
และที่จอดรถหนึ่งหลัง โดยผู้รับจ้างตกลงยินยอมปฏิบัติตามเอกสารที่แนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของสัญญานี้ด้วย คือ แบบแปลนแผนผังและหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารที่……………………………
ออกให้โดยที่ว่าการเขต………………………… อนุญาตให้ผู้ว่าจ้างเมื่อวันที่…………………………………..
ข้อ 2. ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นเงิน…………..บาท (………………………………)
โดยผู้รับจ้างตกลงว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการก่อสร้างตามสัญญานี้รวมทั้งค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน ค่าสัมภาระ
ต่าง ๆ ผู้รับจ้างเป็นฝ่ายออกเองและจัดหามาแต่เพียงฝ่ายเดียว
ข้อ 3. ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้าง โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดค่าจ้างจำนวนดังกล่าวใน ข้อ 2. ให้แก่
ผู้รับจ้าง ตามกำหนดระยะเวลาดังนี้
3.1 จ่าย 10 เปอร์เซ็นต์ ในวันทำสัญญานี้
3.2 จ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่………………………………………………………………..
3.3 จ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่………………………………………………………………..
3.4 จ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่………………………………………………………………..
3.5 จ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่………………………………………………………………..
3.6 จ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่………………………………………………………………..
ข้อ 4. ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการก่อสร้างตามสัญญานี้ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่………………
………………………………………
ข้อ 5. ภายในหกเดือนนับจากวันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานการก่อสร้างตามสัญญานี้จากผู้รับจ้าง
ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หากปรากฏว่า มีความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดขึ้นกับงานการก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างได้รับ
มอบงานมานั้น ผู้รับจ้างตกลงว่าจะทำการแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยในทันทีที่ผู้ว่าจ้างให้ทราบ โดยผู้รับจ้าง
ไม่ขอคิดค่าจ้าง ค่าแรงงาน ค่าสัมภาระสิ่งของ หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากผู้รับจ้างไม่ทำการให้เรียบร้อยภายใน
เจ็ดวัน นับจากวันที่ผู้ว่าจ้างแจ้งให้ทราบ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นมาทำการแทนได้ โดยผู้รับจ้างยินยอมจ่ายค่า
ใช้จ่ายแทนผู้ว่าจ้างจนครบจำนวน
ข้อ 6. ผู้รับจ้างยอมรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุหรือภยันตรายหรือความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากงานจ้างหรือเกี่ยวพันกับงานตามสัญญานี้ และยอมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินค่าเสียหายออกจากค่าจ้างในข้อ 2. ได้ทันที โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 7. ถ้าปรากฏว่าผู้รับจ้างทำการผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ดี หรือทำการ
ชักชวนจนผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างจะทำการให้แล้วเสร็จไม่ทันเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ก็ดี ผู้ว่าจ้าง
มีสิทธิเลิกสัญญานี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือจ่ายค่าตอบแทนอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้รับจ้าง
และผู้ว่าจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าวัสดุใด ๆ ให้แก่ผู้รับจ้างอีกด้วย โดยผู้รับจ้างยินยอมให้วัสดุและ
สัมภาระตลอดจนทรัพย์สินอื่น ๆ ของผู้รับจ้างที่มีอยู่ในการก่อสร้างตามสัญญานี้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ
ผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น ในทันทีที่ผู้ว่าจ้างเลิกสัญญา
ข้อ 8. เมื่อการก่อสร้างตามสัญญานี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องขนย้ายสัมภาระและสิ่งของ
เครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้าง รวมทั้งทำความสะอาดในสถานที่ที่ทำการก่อสร้างให้เรียบร้อยภายใน
เจ็ดวัน นับจากวันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นมาขนย้ายออกไปและ
เรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าเสียหายจากผู้รับจ้างได้
สัญญานี้ทำขึ้นไว้เป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเข้าใจข้อความ
แห่งสัญญานี้ดีโดยตลอดแล้ว เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์แห่งตน จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ต่อหน้าพยาน และต่างยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ
ลงลายมือชื่อ……………………………………….ผู้ว่าจ้าง
(…………………………………………….)
ลงลายมือชื่อ……………………………………….ผู้รับจ้าง
(…………………………………………….)
ลงลายมือชื่อ……………………………………….พยาน
(…………………………………………….)
ลงลายมือชื่อ……………………………………….พยาน
(…………………………………………….)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น