JOB Ratchakarn
สัญญาจะซื้อจะขาย
เขียนโดย small ที่ 06:31
สัญญาจะซื้อจะขาย
ทำที่…………………………………
วันที่………… เดือน …………………… พ.ศ. ………
สัญญานี้ทำขึ้นระหว่าง……………………………………………………………………………
สำนักงานอยู่เลขที่…………….ถนน………………………..ตำบล ………………………………………
อำเภอ……………………………………………จังหวัด…………………………………………………
(ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้จะขาย”) ฝ่ายหนึ่ง และ
ในฐานะตัวแทนของตัวการซึ่งไม่ประสงค์จะระบุชื่ออยู่ที่เลขที่…………ถนน………………….
(รวมเรียกว่า “ผู้จะซื้อ”) อีกฝ่ายหนึ่ง มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ผู้จะขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่…………………. ตำบล……………………..
อำเภอ…………………………………… จังหวัด………………………………………………………...
เนื้อที่ตามโฉนดรวมประมาณ………………………………….…… ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ทรัพย์ที่จะขาย”
2. ผู้จะขายและผู้จะซื้อตกลงซื้อขายทรัพย์ที่จะขาย โดยเป็นการขายเหมายกแปลงเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น………………………….. บาท (…………………………………………………………………..)
โดยผู้จะซื้อได้ชำระราคาดังกล่าวให้แก่ผู้จะขายไว้เรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญานี้ โดยเช็คธนาคาร……...
…………………………..เลขที่………………………….เงิน……………………………………….บาท
(………………………………………..) และเช็คธนาคาร ……………………………………………….
เลขที่ ………………………….. เงิน…………………… บาท (…………………………………………)
3. การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จะขาย คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จะ ขาย ณ สำนักงานที่ดิน เมื่อผู้จะซื้อได้รับอนุมัติจากทางราชการให้ทำการค้าที่ดินไม่ว่าในนาม
………………………………….. เอง และ/หรือ ในนามตัวการซึ่งไม่เปิดเผยเชื่อแล้ว โดยผู้จะซื้อจะต้องระบุชื่อตัวการซึ่งจะเข้าถือกรรมสิทธิ์ก่อนในบันทึกท้ายสัญญานี้ และจะต้องแจ้งกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้จะขายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน
กรณีจะเป็นด้วยประการใดก็ตาม ผู้จะซื้อจะต้องดำเนินการในวรรคแรกให้เสร็จสิ้นไปภายใน…………………………………. หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้ถือว่าผู้ที่จะระบุชื่อถือกรรมสิทธิ์ และผู้จะซื้อทรัพย์ที่จะขายตามสัญญานี้คือ…………………………………. เอง และรับผิดชอบในบรรดาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้จะขายทุกประการ
4. ค่าธรรมเนียม ค่าอากร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการทำสัญญานี้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายเป็นผู้รับภาระเองทั้งสิ้น
5. นับแต่วันที่ทำสัญญานี้ และผู้จะซื้อได้ชำระราคาตามข้อ 2. เรียบร้อยแล้ว ผู้จะซื้อมีสิทธิ์เข้าครอบครองและทำประโยชน์หรือปรับปรุงทรัพย์ที่จะขายได้ทันทีและให้ถือว่าผู้จะซื้อได้รับมอบการครอบครองทรัพย์ที่จะขายไปจากผู้ขายแล้วโดยสมบูรณ์ทันที
6. โดยเหตุที่การซื่อขายครั้งนี้เป็นการขายเหมายกแปลง ดังนั้น หากปรากฎภายหลังว่าทรัพย์ที่จะขายมีเนื้อที่ขาดตก หรือล้ำจำนวนไปกว่าที่ระบุในข้อ 1. แม้จะเพียงใดก็ตาม ทั้งผู้จะซื้อและผู้จะขายตกลงไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญา และ/หรือเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ โดยเหตุในเรื่องนี้เป็นอันขาด
เพื่อเป็นหลักฐาน ผู้จะซื้อและผู้จะขาย ได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ ณ วัน เดือน ปี ที่ระบุข้างต้น
ลงชื่อ…………………………………… ผู้จะขาย ลงชื่อ………………………………………. ผู้จะซื้อ
(……………………………………) (……………………………………….)
ลงชื่อ…………………………………… พยาน ลงชื่อ………………………………………. พยาน
(……………………………………) (……………………………………….)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น