JOB Ratchakarn
หลักเกณฑ์การละเมิด
เขียนโดย small ที่ 07:39
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น (มาตรา ๔๒๐)
องค์ประกอบของการทำละเมิด
๑. จงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ข้อสังเกต
(๑.๑) ข้าราชการได้รับมอบหมายให้อยู่เวรรักษาราชการ ปรากฏว่ามีทรัพย์สินของราชการหายไประหว่างอยู่เวรในในขณะนอนหลับไม่ถือว่าข้าราชการนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือแม้จะได้รับมอบหมายให้มาอยู่เวรแต่ไม่มาอยู่เวร หากทรัพย์สินของทางราชการหายไปไม่ใช่เหตุโดยตรงทำให้ทรัพย์สินถูกลัก แต่ถ้าข้าราชการมีหน้าที่เป็นเวรรักษาความปลอดภัย ไม่ได้อยู่เวร เป็นเหตุให้ทรัพย์สินหายถือว่าเป็นเหตุโดยตรงที่จะต้องรับผิด
(๑.๒) กรณีที่ข้าราชการทุจริต ผู้บังคับบัญชาจะต้องร่วมรับผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตหรือไม่ตามมาตรา ๔๒๐ เช่น ผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของทางราชการ หรือไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของทางราชการจนเป็นเหตุให้ผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป หรือว่าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของทางราชการซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้แต่ก็มิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปทราบในทันที กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเงินของทางราชการ เป็นการกระทำโดยละเมิด เป็นต้น
ความยินยอมไม่เป็นละเมิด
ในกรณีที่ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำหรือเสี่ยงเข้ารับความเสียหายนั้นเอง ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายที่ยินยอมนั้นได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นละเมิด แต่ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้กำหนดว่า ความตกลงหรือยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ ดังนั้น ความยินยอมของผู้เสียหายที่ให้ผู้อื่นทำร้ายร่างกายถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงเป็นละเมิด
ข้อสังเกต
(๑) ความยินยอมจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(๒) ปลูกสร้างรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเจ้าของที่ดินยินยอม ไม่เป็นการละเมิด แต่ความยินยอมไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดินคนต่อมา เจ้าของที่ดินผู้รับโอนจึงขอให้ผู้ปลูกสร้างรื้อถอนรั้วออกไปได้ ถ้าไม่รื้อถอนออกไปก็เป็นละเมิด
(๓) หญิงยินยอมร่วมประเวณีกับชายโดยถูกชายหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภริยา ไม่เป็นละเมิด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น