Recent Posts

Posts RSS

ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ

  • ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง (มาตรา ๔๒๘)
    ข้อสังเกต
    (๑) จ้างให่ฝังเสาเข็มโดยไม่ได้กำหนดวิธีการฝังเสาเข็มไว้ เมื่อผู้รับจ้างตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างข้างเคียง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดแต่ถ้าผู้ว่าจ้างเลือกจ้างให้ผู้รับจ้างฝังเสาเข็มโดยวิธีการตอกเสาเข็มเพราะเห็นว่าเสียค่าใช้จ่ายน้อย ถ้าเกิดความเสียหายแก่ที่ดินข้างเคียง ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพราะการงานที่สั่งให้ทำ หรือหากผู้ว่าจ้างเป็นผู้ควบคุมการตอกเสาเข็มเองผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดเช่นกัน
    (๒) ถ้าตามสัญญาจ้างทำของมีข้อสัญญาว่าหากผู้รับจ้างไม่ทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ให้ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้และผู้ว่าจ้างได้ไปควบคุมการทำงานด้วย ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมด้วย
    ความรับผิดของบิดามารดา ผู้อนุบาล
    บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น (มาตรา ๔๒๙)
    ข้อสังเกต
    (๑) ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงจะนำมาตรา ๔๒๙ มาใช้บังคับ ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์ต้องบังคับตามมาตรา ๔๓๐
    (๒) เห็นบุตรถือปืนเพียงแต่ได้ว่ากล่าวตักเตือนให้บุตรนำปืนไปเก็บไว้เท่านั้น ถือว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
    (๓) บิดาเคยห้ามบุตรไม่ให้เอารถออกไปใช้และเก็บลูกกุญแจรถไว้ที่สูง แต่บุตรรู้ที่เก็บจึงลักเอากุญแจนำรถไปขับเล่นแล้วเกิดละเมิด ถือว่าบิดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
    (๔) กรณีที่ผู้เยาว์ไปกระทำการซึ่งบิดามารดาไม่รู้มาก่อนหรือไม่อาจคาดหมายได้ว่าผู้เยาว์จะไปทำการนั้น ทำให้บิดามารดาไม่มีโอกาสได้ทักท้ายว่ากล่าวตักเตือนได้ ถือว่าบิดามารดาได้ใช้ความระมัดระวังดูแลผู้เยาว์ตามสมควรแล้ว เช่น ผู้เยาว์ไปฉุดคร่าหญิงอื่นมาหรือผู้เยาว์ขับรถยนต์ของผู้อื่นจนเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๙๗๗๔/๒๕๔๔ ที่วินิจฉัยว่าการที่ผู้เยาว์ไปกระทำละเมิดที่อื่นโดยบิดามารดาไม่รู้เห็นด้วย บิดามารดาไม่อาจยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้

    pim203852Sun May 30 2010 19:52:34 GMT+0700 (ICT)

  • ความรับผิดของครู อาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล
    ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (มาตรา ๔๓๐)
    ข้อสังเกต กรณีอ้างเหตุยกเว้นความผิดตามมาตรานี้แตกต่างจากมาตรา ๔๒๙ เนื่องจากมาตรา ๔๓๐ เป็นหน้าที่ของผู้ถูกทำละเมิดจะต้องพิสูจน์ ส่วนมาตรา ๔๒๙ ผู้ทำละเมิดต้องเป็นผู้พิสูจน์

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม