Recent Posts

Posts RSS

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม

สรุปสาระสำคัญ
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.. 2554

1.    ให้หน่วยงานราชการ ดำเนินการด้านความปลอดภัยไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด
2.    ให้นายจ้างดูแลความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
3.    ลูกจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ร่วมมือในการดำเนินการด้านความปลอดภัย
4.   บุคคลที่จะทำการตรวจวัดทางด้านความปลอดภัยต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนที่สำนักงานความปลอดภัยแรงงาน
5.   นิติบุคคลที่จะทำการตรวจวัดจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
6.   ให้นายจ้าง อบรม แจกคู่มือกับลูกจ้างก่อนเข้าทำงานในพื้นที่อันตราย
7.    ให้นายจ้างติดประกาศสัญญลักษณ์เตือนอันตราย
8.    นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้ลูกจ้าง และลูกจ้างต้องส่วมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
9.   ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย
10.                      ให้นายจ้างประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยฯ
11.                      ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยจะต้องขอใบอนุญาตจากอธิบดี
12.                      ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยมีอำนาจ ตรวจสอบ ตรวจวัด สอบถามข้อเท็จจริงในสถานประกอบการ
13.                      ห้ามให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย
14.                      สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย มีหน้าที่ ส่งเสริม  แก้ไข สนับสนุน ดำเนินการตามกฎหมาย
15.                      กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ สรรหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดทำแผน ประสานงาน ดำเนินการ ติดตาม ประเมินผล รับผิดชอบ ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามับและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
16.                      ให้นายจ้างแจ้งกับพนักงานความปลอดภัยทันทีเมื่อลูกจ้างเสียชีวิตและแจ้งรายละเอียด สาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน
17.                      ให้นายจ้างแจ้งกับพนักงานความปลอดภัยทันทีเมื่อเกิดความเสียหายจากการระเบิดแ ไฟไหม้ สารเคมีรั่ว โดยทำเป็นหนังสือบอกถึง สาเหตุ การแก้ไข และวิธีการป้องกันภายในเจ็ดวัน
18.                      ให้นายจ้างส่งสำเนาหนังสือต่อพนักงานความปลอดภัยภายในเจ็ดวันหลังที่ลูกจ้างได้รับอันตราย
19.                      พนักงานความปลอดภัยมีอำนาจให้หยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้องและให้แก้ไขปรับปรุงภายใน สามสิบวัน
20.                      พนักงานตรวจความปลอดมีอำนาจให้บุคคลภายนอกเข้าไปแก้ไขปรับปรุงในสถานประกอบการได้หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 36
21.                      ให้นายจ้างจ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานที่หยุดไปเท่ากับเงินค่าจ้างของลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างเจตนาให้มันเกิดขึ้น
22.                      นายจ้าง ลูกจ้าง มีสิทธิอุทรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับจากมีคำสั่งของพนักงานความปลอดภัย ในมาตรา 36
23.                      พนักงานตรวจความปลอดภัยต้องแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง
24.                      ให้จัดตั้งกองทุนความปลอดภัย เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายทางด้านความปลอดภัย
25.                      เงินกองทุนใช้จ่ายเพื่อ รณรงค์ ส่งเสริม แก้ไข บริหาร ช่วยเหลือ สนับสนุน ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
26.                      คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย มีหน้าที่ กำกับ จัดสรรเงิน วางระบียบเกี่ยวกับเงิน หลักเกณฑ์ และอื่นๆ ตามกฎหมาย
27.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตราที่ 8 ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
28.                      ผู้ที่มีหน้าที่ รับรอง ตรวจสอบ รายงานตามมาตรา 8 วรรคสองกรอกข้อความเท็จต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
29.                     ผู้ที่ตรวจวัด ตรวจสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดอบรม ให้คำปรึกษาโดยไม่ขึ้นทะเบียนต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
30.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 , 16 และ 32 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท
31.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 และ 34 ปรับไม่เกินห้าหมื่น
32.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 และ 17 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
33.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
34.                      ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 18 วรรคสอง ต้องจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
35.                      ผู้ที่ขัดขวางการทำงานของนายจ้าง ตามมาตรา 19 และพนักงานตรวจความปลอดภัย ตามมาตรา 37 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
36.                      ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
37.                      ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการเป็นผู้ชำนาญการทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรา 33 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
38.                      ผู้ที่ขัดขวางในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานความปลอดภัยตามมาตรา 35 หรือ 36 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
39.                      ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
40.                      ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือระงับคำสั่งการใช้ของพนักงานตรวจความปลอดภัยต้องจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท
41.                      นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ต้องปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่น
42.                      นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 42 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
43.                      นิติบุคคลที่ทำผิดต้องได้รับโทษตามพระราชบัญญัตินี้
44.                     ผู้ที่เปิดเผยข้อเท็จจริงของนายจ้างที่สงวนเอาไว้ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
ความผิดทั้งหมดในพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท เห็นว่าไม่กระทำผิดให้มีอำนาจเปรียบเทียบได้ 1.อธิบดี  2. ผู้ว่าราชการจังหวัด 

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม