JOB Ratchakarn
ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะ
เขียนโดย small ที่ 07:38
มาตรา ๔๓๗ บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย
ข้อสังเกต
(๑) ผู้รับผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นผู้ครอบครองยานพาหนะในขณะเกิดเหตุ ในกรณีเจ้าของรถยนต์หากไม่ได้ขับหรือโดยสารรถยนต์ไปในขณะเกิดเหตุด้วยไม่ถือว่าเป็นผู้ครอบครองตามมาตรานี้ จึงไม่ต้องรับผิด
(๒) ในกรณีเจ้าของรถยนต์ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลอื่นในผลแห่งการละเมิด ต้องเป็นกรณีผู้กระทำละเมิดเป็นลูกจ้าง (มาตรา ๔๒๕) หรือตัวแทนของเจ้าของรถยนต์ (๔๒๗) หรือเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุโดยเจ้าของรถยนต์โดยสารไปด้วย (มาตรา ๔๓๗)
(๓) กรณีแม้เจ้าของรถยนต์จะนั่งไปด้วยโดยมีผู้อื่นเป็นผู้ขับ แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าของรถเมาสุรานอนหลับอยู่ในรถ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะ
(๔) กรณีเช่าซื้อรถยนต์แม้ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของรถยนต์ก็ตาม แต่ก็มิใช่ผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะนั้น ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากรถยนต์นั้น (ผู้เช่าซื้อถือว่าเป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์แต่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช่ผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในขณะเกิดเหตุ ผู้เช่าซื้อก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน)
ข้อสังเกต เจ้าของรถยนต์หรือผู้เช่าซื้ออาจจะต้องรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการตามมาตรา ๔๒๕ และ ๔๒๗ ได้
(๕) มาตรา ๔๓๗ ต้องเป็นกรณีที่ยานพาหนะของฝ่ายหนึ่งเดินด้วยเครื่องจักรกลอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ หากเป็นยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกลทั้งคู่ ก็ไม่ใช่กรณีตามมาตรา ๔๓๗ แต่เป็นกรณีตามมาตรา ๔๒๐ (ถ้าคันหนึ่งเดินด้วยเครื่องจักรกลอีกคันหนึ่งจอดไว้เฉยๆ เช่นนี้ก็น่าที่จะเข้ามาตรา ๔๓๗ ได้เช่นกัน)
(๖) ไฟฟ้าเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพ หากไฟไหม้อันเนื่องมาจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ผู้เช่าบ้านถือว่าเป็นผู้ครอบครองไฟฟ้าจึงต้องรับผิด แต่ถ้าเป็นกรณีไฟฟ้าที่พาดสายไปตามถนนผู้ครอบครองคือผู้จำหน่ายไฟฟ้า แต่ถ้าได้ต่อสายไฟฟ้าเข้าไปยังสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า ดังนี้ ถือว่าสายไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของผู้ใช้ไฟฟ้าแล้ว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบ
(๗) แท่นไฮดรอลิกเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพผู้ครอบครองจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์นั้น
(๘) เครื่องบินเป็นยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น