JOB Ratchakarn
การนำสืบพยานฝ่ายตนในเรื่องที่ไม่ได้ถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 89)
เขียนโดย small ที่ 23:21
ป.วิ.แพ่งมาตรา 89 บัญญัติว่า “คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
(1)
หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็น
หรือ
(2)
พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ เอกสาร
หรือพยานหลักฐานอื่นใด ซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้ทำขึ้น
ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น
แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ต่อมานำพยานมาสืบถึงข้อความดังกล่าวข้างต้น คู่ความฝ่ายที่นำสืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านได้และในกรณีเช่นว่านี้
ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานเช่นว่ามานั้น..”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1952/22 โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยนำหนังสือที่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย
ล.1 มาอ้างภายหลังจากโจทก์ได้สืบพยานบุคคลเสร็จสิ้นไปแล้ว ในขณะที่โจทก์เบิกความ
จำเลยก็มิได้ถามค้านถึงเอกสารหมาย ล.1 จึงรับฟังไม่ได้ ตาม ป.
วิ.แพ่งมาตรา 89
วรรคสอง (ฎีกาที่ 212/36)
ข้อสังเกต
1. การสืบพยานจำเลยในคดีอาญา
จำเลยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1778/13 ในคดีอาญาแม้จำเลยจะนำสืบถึงพยานเอกสารใด
โดยมิได้นำพยานเอกสารนั้นไปซักค้านพยานโจทก์ให้อธิบายไว้เสียก่อน
จำเลยก็ยังอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
2.
แม้คดีอาญาไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบในภายหลังก็ตาม
แต่พยานจำเลยดังกล่าวจะมีน้ำหนักน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
994/36 จำเลยนำสืบภายหลังว่า
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างส่งศาลไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย
โดยเป็นการนำสืบเอาข้างเดียว
ลอย ๆ
ทั้งเมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนมาเบิกความจำเลยก็ไม่ถามค้านไว้
ข้ออ้างของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
3.
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว
จำเลยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาฎีกาที่
2099/14 ข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว ถึงแม้จำเลยจะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนในข้อนี้ไว้
จำเลยก็มีสิทธินำสืบในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 89 วรรคสอง (ฎีกา
1873/28,2329/37)
4.
คู่ความฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนจะต้องคัดค้านไว้ขณะที่พยานฝ่ายหลัง
เบิกความ
คำพิพากษาฎีกาที่
7017/38 แม้จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านตัวโจทก์ที่นำสืบก่อนเกี่ยวกับบันทึกถ้อยคำ
(ท.ด.16) ไว้ขณะที่โจทก์เบิกความเป็นพยานก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า
โจทก์ได้คัดค้านเสียขณะที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวประกอบคำเบิกความของจำเลย
จึงไม่ต้องห้ามรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยาน (ฎีกา 952/07,262/11,486/42)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น