Recent Posts

Posts RSS

สรุปย่อ กฎหมายลักษณพยาน

สรุปย่อ กฎหมายลักษณพยาน
ชั้นจับกุม
๑.เจ้าพนักงานผู้จับกุมต้อง....
(๑) แจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับ
(๒) แจ้งสิทธิ์
(๒.๑) สิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้
(๒.๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ที่จะเป็นทนายความ
๒.ผู้ถูกจับกุมมีสิทธิ.....ที่จะแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบถึงการจับกุมในโอกาศแรก
๓.สิทธิของผู้ต้องหา..... (๑)ทนาย (๒)เข้า (๓)เยี่ยม (๔)พยาบาล
๔.การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป แต่ทำให้การควบคุมของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบ
๕.การคุมขังบุคคลใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย.....(๑)อัยการ (๒)สอบ (๓)เรือนจำ (๔)อื่น สามารถยื่นคำร้องให้ปล่อยตัวได้ (ในเวลาที่ต้องขังอยู่)
๖.คำรับสารภาพในชั้นจับกุม.....ห้ามศาลรับฟังเพื่อลงโทษจำเลย
๗.บันทึกการจับกุม.....เป็นพยานเอกสาร และเป็นเอกสารราชการ
๘.การขูดลบ , ตกเติม , แก้ไข ในบันทึกการจับกุม....ถ้าถูกต้องตรงความจริง ศาลรับฟังได้
๙.พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย....ห้ามศาลรับฟัง
๑๐.พยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูล ที่เกิดขึ้น ที่ได้มา โดยมิชอบ....ห้ามศาลรับฟัง
๑๑.การจับ , การค้น แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การสอบสวนกระทำโดยชอบ..........พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง

ชั้นสอบสวน
๑.ในชั้นสอบสวน ถ้าผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน ไม่สามารถพูด หรือเข้าใจภาษาไทยได้และไม่มีล่าม....ให้พนักงานสอบสวนจัดหาล่ามให้
๒.ล่ามจะต้อง.....สาบานคน หรือปฏิญานตนว่าทำหน้าที่โดยสุจริต จะไม่เพิ่มเติม หรือตัดทอนข้อความที่แปล และต้องลงลายมือชื่อในคำแปล มิฉะนั้นศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
๓.เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวน.....ที่จะให้พยานหรือผู้เสียหายสาบาน หรือปฏิญานตน ก่อนให้ปากคำ
๔.ในการปากคำพยาน , ผู้เสียหาย ......ห้ามพนักงานสอบสวน ตักเตือน พูดให้ท้อใจ หรือใช้กลอุบายอื่น เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ

๕.ในการถามคำให้การของผู้ต้องหา......ห้ามพนักงานสอบสวน ทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา กับผู้ต้องหา เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น หากฝ่าฝืนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไม่ได้
๖.การถามปากคำผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มี....นักจิต นักสังคม อัยการ เข้าร่วมในการสอบสวน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ
๗.คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือที่มีเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีเป็นผู้ต้องหา......ก่อนถามคำให้การ พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาก่อนว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องจัดหาให้
๘.การสอบสวนผู้ต้องหา....ต้องมีการแจ้งสิทธิ และแจ้งข้อกล่าวหา 
๙.ถ้าไม่มีการแจ้งสิทธิ....จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
๑๐.ถ้าไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา....ถือว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ
๑๑.ศาลอาจรับฟังการซัดทอดของผู้ต้องหา ถึงผู้ต้องหาอื่น......ประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
๑๒.ในชั้นสอบสวน.....ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้ทนายความ หรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนได้ และพนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธินี้ให้ผู้ต้องหาทราบ ถ้าไม่แจ้งรับฟังไม่ได้
๑๓.ในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง.....ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวน และอัยการ
๑๔.เมื่ออัยการได้ยื่นฟ้องแล้ว....ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา มีสิทธิตรวจ หรือคัดสำเนาคำให้การหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนในชั้นสอบสวน
๑๕.ก่อนฟ้องคดีต่อศาล....เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า 
(๑) พยานบุคคลจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(๒)ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(๓) มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาล
(๔) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(๕) เป็นการยากแก่การนำพยานบุคคลนั้นมาสืบในภายหน้า
ทั้งอัยการ หรือผู้ต้องหามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สืบพยานบุคคลไว้ก่อน

ชั้นพิจารณา
๑.บุคคลที่จะเป็นพยานได้.....ต้องเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การมาด้วยตัวเอง
๒.แม้จะเป็นชาวต่างประเทศ , เด็ก หรือคนปัญญาอ่อน ถ้าสามารถเข้าใจ และตอบคำถามได้....ศาลก็รับฟังเป็นพยานบุคคลได้
๓.คนหูหนวก หรือเป็นใบ้.....ก็สามารถเป็นพยานบุคคลได้
๔.คำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย หรือพยาน ปกติศาลจะไม่รับฟังเพราะเป็นพยานบอกเล่า เว้นแต่.....มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ต้องฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น
๕.พยานบอกเล่าที่ศาลยอมรับฟัง.....
(๑)คำบอกเล่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของผู้กล่าว
(๒)คำบอกเล่าถึงสิทธิสาธารณะ ที่ประชาชนมีอยู่ร่วมกัน
(๓)คำบอกกล่าวของผู้ตาย ที่กล่าวถึงในเรื่องที่ถูกทำร้าย ที่รู้สึกตัวว่ากำลังจะตาย
(๔)คำบอกเล่าที่ใกล้ชิดติดพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
(๕)คำบอกเล่าถึงเครือญาติวงศ์ตระกูล
(๖)คำบอกเล่าถึงจารีตประเพณีท้องถิ่น
๖.ห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่......
(๑)ตามสภาพแหล่งที่มา ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า จะพิสูจน์ความจริงได้
(๒)มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำพยานบุคคลมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
๗.ห้ามศาลรับฟังพยานหลักฐาน.....ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย แต่...ไม่ห้ามนำสืบเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ
๘.ในคดีอาญา.....โจทก์จะอ้างจำเลย (ในคดีเดียวกัน) เป็นพยานไม่ได้
๙.ศาลอาจรับฟังพยานบุคคลที่เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด แต่ไม่ถูกฟ้อง ที่ให้การซัดทอดจำเลยว่ากระทำความผิด.....แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ อีกทั้งหากการให้การนั้น มีเหตุจูงใจ เพื่อมิให้ตนต้องถูกดำเนินคดี คำให้การนั้นไม่อาจรับฟังได้
๑๐.ในคดีอาญาโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยเป็ยผู้กระทำความผิด และมีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ
เว้นแต่......จำเลยให้การว่า
(๑)กระทำความผิดขณะวิกลจริต ตาม ป.อ. ม.๖๕
(๒)กระทำความผิดขณะมึนเมา ตาม ป.อ. ม.๖๖
(๓)กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ตาม ป.อ. ม.๖๗
(๔)กระทำความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. ม.๗๒
(๕)โจทก์ได้รับข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณตามกฎหมาย
จำเลยจึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน

๑๑.โจทก์ไม่ต้องนำสืบในกรณีต่อไปนี้......
(๑)ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
(๒)ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้
(๓)ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันแล้ว
(๔)ในกรณีที่มีข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์
๑๒.ในคดีแพ่ง.....ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ เว้นแต่ รู้ ไม่อาจ รับ กับมีข้อสันนิษฐาน
๑๓.ในคดีอาญา....คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยาน ๗/๑๕ ก่อนศาลพิพากษา
๑๔.ในคดีอาญา....การพิจารณา และสืบพยานในศาล ต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
๑๕.การที่โจทก์อ้างคำเบิกความของพยานในคดีอื่น หรืออ้างสำนวนคดีอื่นมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี ในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย......โดยหลักแล้วถือว่าไม่ชอบ เพราะไม่ได้พิจารณาและสืบต่อหน้าจำเลย แต่ศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
๑๖.คำท้า.....ใช้ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น
๑๗.การชั่งน้ำหนักพยาน.....ปกติต้องเชื่อ คำประจักษ์พยานยิ่งกว่าคำผู้เชี่ยวชาญ เพราะประจักษ์พยานเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
๑๘.พยานที่ห้ามออกหมายเรียก......
(๑)พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ว่ากรณีรีใดๆ 
( สูตรย่อว่า สมเด็จ) 
(๒)พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ไม่ว่ากรณีใดๆ (สูตรย่อว่า พระ)
(๓) ผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามกฎหมาย (สูตรย่อว่า คุ้ม)
สรุป สูตร = สมเด็จ พระ คุ้ม
๑๙.พยานที่ไม่ต้องสาบาน......
(๑)พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ( สูตรย่อว่า สมเด็จ)
(๒)บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดชอบ (สูตรย่อว่า ต่ำ ๑๕) 
(๓)พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา (สูตรย่อ ว่าอรหันต์)
(๔)บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคำปฏิญาณ (สูตรย่อว่า ตกลงกัน)
สรุป สูตรย่อ = สมเด็จ ต่ำ ๑๕ ว่าอรหันต์ ตกลงกัน ไม่ต้องสาบาน

พยานเอกสาร
๑.ตัวอย่างต่อไปนี้นี้ล้วนเป็นพยานเอกสาร....
ศิลาจารึก คำจารึกที่หลุมศพ ภาพถ่ายจดหมายติดต่อการเช่า หมายเลยที่พานท้ายปืน
ป้ายทะเบียนรถ บัตรเครดิต บันทึกตรวจสถานที่เกิดเหตุ บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน
สมุดบัญชีเงินฝาก แผนที่เกิดเหตุ
๒.ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้.....ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
๓.การอ้างหนังสือราชการ....แม้ต้นฉบับจะมีอยู่ จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่หมายเรียกจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
๔.ข้อยกเว้น การรับฟังต้นฉบับเอกสาร.....
(๑)เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว (ตกลง)
(๒)ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย (สูญหาย , ทำลาย)
(๓)ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขาหรืออยู่ในความควบคุมของทางราชการนั้น จะนำมาแสดงต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน (ราช)
(๔)เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงสำเนาเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบ (ขาดคัดค้าน)
๕.ในคดีอาญา.....คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานเอกสารไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูเหมือนในคดีแพ่ง
๖.ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์...พยานเอกสารที่นำสืบในชั้นพิจารณาไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องเป็นเอกสารที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นจึงจะรับฟังได้
๗.ในคดีอาญาแม้พยานเอกสารมิได้ปิดอากรแสตมป์.....ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

พยานวัตถุ
๑.พยานวัตถุ หมายความถึง....วัตถุสิ่งของที่คู่ความอ้างเป็นพยาน รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
๒.ตัวอย่างเหล่านี้เป็นพยานวัตถุ....
ธนบัตรของกลางที่ใช้ล่อซื้อ ของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ร่องรอยที่เกิดจากการชนกัน
สำเนาโพยสลากกินรวบ ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ภาพถ่ายบุคคล
ภาพถ่ายรถยนต์ อาวุธปืน , มีด , เลือด ร่างกายมนุษย์
คราบเลือด เทปบันทึกเสียง บาดแผล
๓.พยานวัตถุเกิดขัดแย้งกับพยานบุคคล....ปกติศาลต้องถือว่าพยานวัตถุมีน้ำหนักมากกว่า 

พยานผู้เชี่ยวชาญ 
๑.พยานผู้เชี่ยวชาญ.....บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญในการใดๆ เช่น วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ฝีมือ พาณิชยการ การศิลปะ หรือ กฎหมายต่างประเทศ
๒.ในคดีอาญา.....พยานผู้เชี่ยวชาญจะทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายทราบ และต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
๓.ในกรณี ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก.....หากมีความจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจได้
๔.หากคู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอม หรือปัดป้องไม่ยอมให้ตรวจ.....ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง

หลักทั่วไป
๑.ในการสืบพยาน.....ศาลเป็นผู้สืบ จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้
๒.คู่ความหรือพยานฝ่ายใด จะต้องให้การหรือส่งพยานหลักฐานต่อไปนี้.....
(๑)เอกสาร หรือข้อความที่ยังเป็นความลับของทางราชการอยู่
(๒)เอกสาร หรือข้อความลับ ที่ได้มาหรือทราบเนื่องในอาชีพ หรือในหน้าที่ของเขา
(๓)วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่นซึ่งกฎหมายคุ้มครองไม่ยอมให้เปิดเผย
คู่ความหรือบุคคลนั้นมีอำนาจไม่ยอมให้การหรือส่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น 

0 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม