JOB Ratchakarn
สัญญาจ้างว่าความ
เขียนโดย small ที่ 05:21
สัญญาจ้างว่าความ
วันที่…………เดือน………………………พ.ศ.………….
สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างธนาคาร ………………………จำกัด โดย ……….…………………….
ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า "ธนาคาร” ฝ่ายหนึ่ง กับ ………..………………เลขที่…………...………ถนน…………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า "ทนาย” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสอง ฝ่ายตกลงกันทำสัญญากันดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ธนาคารตกลงมอบหมายให้ทนายเป็นผู้ดำเนินคดี และทนายตกลงรับดำเนินคดีต่าง ๆ ที่ธนาคารจะส่งมอบให้ดำเนินการตามที่ธนาคารจะได้มอบหมายในแต่ละครั้งละเรื่องต่อไป ซึ่งในการมอบหมายแต่ละครั้งจะได้มีการส่งมอบหลักฐาน และทำการรับการมอบเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้งไป
ข้อ 2. ทนายความตกลงรับค่าว่าความจากธนาคารตามเรื่องที่ได้มอบหมายจากธนาคารในอัตราดังต่อไปนี้
2.1 ในกรณีที่ทนายมีหนังสือทวงถามถึงลูกหนี้ที่ธนาคารมอบหมายให้ดำเนินการและธนาคารได้รับชำระหนี้โดยทนายไม่ต้องดำเนินคดี ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความให้แก่ทนายตามอัตราดังนี้
2.1.1 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………….บาท
2.1.2 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………….บาท
2.1.3 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับชำระไม่เกิน………………………บาทขึ้นไป
2.2 ในกรณีที่ทนายความต้องดำเนินคดีชั้นศาลถึงที่สุด และธนาคารเป็นฝ่ายชนะคดี หรือประนีประนอมยอมความ ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความที่ธนาคารมอบหมายให้แก่ทนายเมื่อคดีถึงที่สุด ตามจำนวนในวันที่ศาลพิพากษาโดยไม่รวมดอกเบี้ยในอนาคต ในอัตราดังต่อไปนี้
2.2.1 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ………………………ของจำนวนเงินไม่เกิน
บาท แต่ไม่ต่ำกว่า ………………………บาท
2.2.2 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ……………………ของจำนวนเงินเกินกว่า
บาท แต่ไม่เกิด ………………………บาท
2.2.3 จ่ายเป็นค่าว่าความร้อยละ ………………………ของจำนวนเงินที่เกิน
กว่า…………………………………….บาท
ทั้งนี้ทนายมีหน้าที่ต้องดำเนินการบังคับคดีดังกล่าวต่อไปตามหน้าที่
2.3 เมื่อคดีดังกล่าวใน 2.2 ธนาคารได้รับการชำระหนี้ ธนาคารตกลงชำระค่าว่าความให้แก่ทนายเพิ่มเติมจากที่ได้รับแล้วดังกล่าวใน 2.2 เมื่อธนาคารได้รับชำระหนี้ในอัตราต่อไปนี้
2.3.1 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับไม่เกิน………………………………บาท แต่ไม่เกิน ………………………….บาท
2.3.2 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับส่วนที่เกินกว่า………………………บาท แต่ไม่เกิน ………………………….บาท
2.3.3 จ่ายเป็นค่าว่าความในอัตราร้อยละ …………………….……ของเงินที่
ได้รับส่วนที่เกินกว่า………………………บาท
ข้อ 3. ธนาคารเป็นผู้ชำระค่าฤชากร ค่าธรรมเนียมศาล และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการดำเนินคดีแต่ละเรื่องแก่ทนายตามระเบียบหรือกฎหมายและตามความเป็นจริง ซึ่งทนายจะต้องแสดงรายการหักจ่ายให้แก่ธนาคารทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทนายได้เบิกเงินดังกล่าวจากธนาคาร
ข้อ 4. ทนายจะต้องปฏิบัติดังนี้
4.1 ทนายไม่มีอำนาจที่จะให้เวลาผัดผ่อนชำระหนี้เกิน 2 เดือนแก่ลูกหนี้เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนทุกเรื่อง
4.2 การที่จะลดหนี้ ถอนฟ้องคดี ประนีประนอมยอมความ โดยที่ธนาคารมีทางเสียเปรียบ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
4.3 ถ้ามีการทิ้งคดี ปล่อยให้คดีขาดอายุความ หรือดำเนินการไปโดยผิดพลาด ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย จะต้องคืนเงินค่าว่าความทั้งหมด และต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารด้วย
4.4 เมื่อคดีถึงที่สุด ทนายจะต้องคัดสำเนาคำพิพากษาหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยให้ศาลรับรองสำเนาถูกต้องมอบให้ธนาคารภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดทุกเรื่อง
4.5 ในกรณีที่ลูกหนี้วางเงินต่อศาลหรือมีการชำระหนี้ให้แก่ทนาย ทนายจะต้องขอรับเงินจากศาลโดยเร็ว หรือขอคืนค่าธรรมเนียมจากศาลในกรณีจำยอม และส่งมอบเงินแก่ธนาคารทันทีที่ได้รับจากศาล หรือได้รับชำระหนี้
4.6 หนี้รายใดซึ่งทนายฟ้องร้องไปแล้ว แต่ไม่เป็นผลต่อธนาคาร โดยศาลยกฟ้องธนาคารจะไม่ยอมจ่ายค่าว่าความแก่ทนายสำหรับเรื่องนั้น
4.7 ทนายต้องส่งสำเนาคำฟ้องและคำให้การ และรายงานคดีให้ธนาคารทราบแต่ละเรื่องอย่างน้อยทุก ๆ 2 เดือน ว่าได้ดำเนินการไปอย่างไร ผลเป็นอย่างไร และจะต้องจัดการอย่างไรต่อไป หากทนายละเว้นไม่รายงานให้ทราบตามกำหนด ธนาคารจะหักเงินค่าว่าความที่ทนายจะได้รับในเรื่องนั้นครั้งละ …………………..บาททุกครั้งที่ไม่รายงานตามกำหนดทั้งนี้เพื่อให้ธนาคารได้มีโอกาสรู้ผลงาน และเตรียมงานที่จะเสนอหลักฐานเป็นพยานศาลต่อไป
4.8 ทนายจะต้องไม่นำคดีตาที่ได้รับมอบหมายตามสัญญานี้ให้บุคคลอื่นจัดการก่อนได้รับอนุญาตจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร
4.9 ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ หรือบอกเลิกเรื่องที่มอบหมายเมื่อไรก็ได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควร
4.10 เมื่อเสร็จคดีเรื่องใด ให้ทนายจัดการคืนสำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารที่ดำเนินคดีทั้งหมดคืนแก่ธนาคาร แล้วจึงจะขอรับค่าว่าความครั้งสุดท้ายได้
ข้อ 5. ทนายความมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้เมื่อไรก็ได้ แต่ทนายมีหน้าที่รับผิดชอบและดำเนินคดีที่ได้รับมอบหมายจากธนาคารที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้นให้แล้วเสร็จ
สัญญานี้ทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความตามสัญญานี้แล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ………………………………………..ธนาคาร
(………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..ธนาคาร
(………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..ทนาย
(………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
(………………………………………)
ลงชื่อ………………………………………..พยาน
(………………………………………)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น