JOB Ratchakarn
สรุปกฎหมายลักษณะพยาน
เขียนโดย small ที่ 07:04
การรับฟังพยานบุคคล > ประเด็นที่ 1 ความหมายพยานบอกเล่า
พยานบุคคลหมายถึง บุคคลที่มาเบิกความต่อศาลและการเบิกความของพยานบุคคลจะเป็นการเบิกความจากความทรงจำของตนจากสิ่งที่ตัวเองได้ประสบพบเห็นมา
ข้อสังเกต
(1).พยานบุคคลอาจเป็นพยานวัตถุก็ได้
(2).บุคคลที่มาพูดหรือติดต่อศาลไม่ได้หมายความว่าเป็นพยานบุคคลเสมอไป เพราะจะเป็นพยานได้ต้องยื่นระบุบัญชีพยานด้วย(ฎ.145/2522,3130/2523)
วินิจฉัยว่า โจทก์หรือจำเลย ไม่ได้ยื่นระบุบัญชีพยาน แต่อ้างตนเองเป็นพยานและนำตัวเองเข้าสืบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลไม่ยอมให้สืบเพราะไม่ได้ระบุบัญชีพยาน แม้จะอ้างว่าเป็นโจทก์หรือคู่ความก็ตาม
พยานบุคคลจะเบิกความถึงเหตุการณ์ในอดีต
ตรรกของการเบิกความของพยานบุคคลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
- การสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การจดจำ
- การถ่ายทอด
หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานบุคคลแบ่งได้ 3 หลักคือ
- ความสามารถในการที่จะเป็นพยาน
- ลักษณะของความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงของพยาน
- ลักษณะของการถ่ายทอดข้อเท็จจริง
พยานบอกเล่าตามกฎหมายไทย
มาตรา 95 ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้น
(1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
(2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
บทบัญญัติว่าด้วยการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าของไทยต่างจากหลักสากลอยู่หลายประการ
ประการที่ 1 มาตรา 92 ใช้กับพยานบุคคลเท่านั้น ไม่ใช้กับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ
พยานบอกเล่าจะมีสิ่งที่สำคัญเกี่ยวเนื่อง 3 สิ่ง
- ตัวบุคคลที่ไปประสบพบเห็นข้อเท็จจริงหรือที่เรียกว่าผู้บอกเล่า
- ข้อความที่เขาบอกเล่าซึ่งมีลักษณะเป็นการติดต่อสื่อวารระหว่างผู้บอกเล่ากับพยานบอกเล่า
- ตัวพยานบอกเล่า
มาตรา 95(2) ห้ามรับฟังพยานบอกเล่าเฉพาะสื่อที่เป็นบุคคลเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลที่ไปประสบพบเห็นเหตุการณ์และถ่ายทอดลงสื่ออื่นเช่นในเอกสารหรือวัตถุต่างๆ ก็ไม่ต้องห้ามรับฟังตามมาตรา 95(2) เพราะบันทึกดังกล่าวไม่ใช่พยานบุคคล
- แนวฎีกาถือว่า คำให้การชั้นสอบสวน เป็นพยานบอกเล่า(ฎ.3825/2524,2957/2532)
ประการที่ 2 การที่บุคคลมาเป็นพยานแล้วเบิกความถึงคำบอกเล่าของผู้อื่น หรือเบิกความถึงคำกล่าวหรือคำพูดของคนอื่นไม่ได้หมายความว่าพยานบุคคลนั้นจะเป็นพยานบอกเล่าเสมอไป ต้องดูจุดประสงค์การนำพยานนั้นมาสืบด้วย เพราะถ้าพยานนั้นเบิกความถึงคำพูดหรือคำกล่าวของคนอื่นเพียงเพื่อพิสูจน์ว่ามีการกล่าวคำพูดนั้นจริงๆเช่นนี้ การนำสืบเพื่อพิสูจน์ความมีอยู่ของคำพูดหรือคำกล่าวนั้น ดังนั้น เมื่อตัวพยานบุคคลได้ยินการกล่าวข้อความมาด้วยตนเอง พยานบุคคลนั้นก็จะเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานบอกเล่า(ฎ.266/2488)
ประการที่ 3 คำบอกเล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ไม่ถือว่าเป็นพยานบอกเล่า
ฎีกาที่ 304/2500 ตำรวจเป็นพยานเบิกความว่าพอเกิดเหตุแล้วจำเลยได้ออกมาจากที่เกิดเหตุฆาตกรรมมีผู้ดเดินตามจำเลยออกมาและชี้บอกแก่ตำรวจให้จับจำเลยเป็นคนแทงผู้ตาย คำของตำรวจเป็นพยานชั้นหนึ่งไม่ใช่พยานบอกเล่าเพราะคำบอกเล่าของผู้ที่ตามจำเลยออกมานั้นเป็นคำบอกเล่าในขณะที่กระชั้นชิดทันทีซึ่งตามธรรมชาติยังไม่ทันมีช่องโอกาสแกล้งปรักปรำ ศาลรับฟังประกอบพฤติเหตุอื่นๆลงโทษจำเลยได้
ฎีกาที่ 308/2510 ผู้ตายคิดว่าตนเองจะยังไม่ตายได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยงิตนโดยไม่ปรากฏว่าในขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวดหรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะเป็นคำบอกกล่าวในเวลากระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่ยังไม่มีโอกาสที่ผู้บอกเล่าจะคิดใส่ความได้ทัน เป็นพฤติการณ์ประกอบพยานโจทก์นำไปสู่การติดตามรู้ตัวผู้กระทำผิดและได้พยานหลักฐานอื่น(ฎีกานี้ ผู้ตายไม่คิดว่าตนเองจะตาย ทำให้คำบอกเล่าของเขาไม่เข้าข้อยกเว้นเรื่องคำบอกเล่าในขณะที่รู้ตัวว่าใกล้จะตาย)
ฎีกาที่ 4418/2533 คำให้การรับสารภาพของจำเลยโดยสมัครใจในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพนั้น ศาลรับฟังประกอบคำเบิกความของบิดาผู้เสียหายซึ่งได้รับฟังคำบอกเล่าของผู้เสียหายในโอกาสแรกที่พบกันหังเกิดเหตุและมีสาระสำคัญตรงกัน ลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงได้
ประเด็นที่ 2 หลักการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
ให้ดูมาตรา 85 , 86 ,87 , 93 , 94 , 95
พยานบุคคลหมายถึง บุคคลที่มาเบิกความต่อศาลและการเบิกความของพยานบุคคลจะเป็นการเบิกความจากความทรงจำของตนจากสิ่งที่ตัวเองได้ประสบพบเห็นมา
ข้อสังเกต
(1).พยานบุคคลอาจเป็นพยานวัตถุก็ได้
(2).บุคคลที่มาพูดหรือติดต่อศาลไม่ได้หมายความว่าเป็นพยานบุคคลเสมอไป เพราะจะเป็นพยานได้ต้องยื่นระบุบัญชีพยานด้วย(ฎ.145/2522,3130/2523)
วินิจฉัยว่า โจทก์หรือจำเลย ไม่ได้ยื่นระบุบัญชีพยาน แต่อ้างตนเองเป็นพยานและนำตัวเองเข้าสืบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลไม่ยอมให้สืบเพราะไม่ได้ระบุบัญชีพยาน แม้จะอ้างว่าเป็นโจทก์หรือคู่ความก็ตาม
พยานบุคคลจะเบิกความถึงเหตุการณ์ในอดีต
ตรรกของการเบิกความของพยานบุคคลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
- การสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การจดจำ
- การถ่ายทอด
หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานบุคคลแบ่งได้ 3 หลักคือ
- ความสามารถในการที่จะเป็นพยาน
- ลักษณะของความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงของพยาน
- ลักษณะของการถ่ายทอดข้อเท็จจริง
พยานบอกเล่าตามกฎหมายไทย
มาตรา 95 ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้น
(1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ
(2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
บทบัญญัติว่าด้วยการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าของไทยต่างจากหลักสากลอยู่หลายประการ
ประการที่ 1 มาตรา 92 ใช้กับพยานบุคคลเท่านั้น ไม่ใช้กับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ
พยานบอกเล่าจะมีสิ่งที่สำคัญเกี่ยวเนื่อง 3 สิ่ง
- ตัวบุคคลที่ไปประสบพบเห็นข้อเท็จจริงหรือที่เรียกว่าผู้บอกเล่า
- ข้อความที่เขาบอกเล่าซึ่งมีลักษณะเป็นการติดต่อสื่อวารระหว่างผู้บอกเล่ากับพยานบอกเล่า
- ตัวพยานบอกเล่า
มาตรา 95(2) ห้ามรับฟังพยานบอกเล่าเฉพาะสื่อที่เป็นบุคคลเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลที่ไปประสบพบเห็นเหตุการณ์และถ่ายทอดลงสื่ออื่นเช่นในเอกสารหรือวัตถุต่างๆ ก็ไม่ต้องห้ามรับฟังตามมาตรา 95(2) เพราะบันทึกดังกล่าวไม่ใช่พยานบุคคล
- แนวฎีกาถือว่า คำให้การชั้นสอบสวน เป็นพยานบอกเล่า(ฎ.3825/2524,2957/2532)
ประการที่ 2 การที่บุคคลมาเป็นพยานแล้วเบิกความถึงคำบอกเล่าของผู้อื่น หรือเบิกความถึงคำกล่าวหรือคำพูดของคนอื่นไม่ได้หมายความว่าพยานบุคคลนั้นจะเป็นพยานบอกเล่าเสมอไป ต้องดูจุดประสงค์การนำพยานนั้นมาสืบด้วย เพราะถ้าพยานนั้นเบิกความถึงคำพูดหรือคำกล่าวของคนอื่นเพียงเพื่อพิสูจน์ว่ามีการกล่าวคำพูดนั้นจริงๆเช่นนี้ การนำสืบเพื่อพิสูจน์ความมีอยู่ของคำพูดหรือคำกล่าวนั้น ดังนั้น เมื่อตัวพยานบุคคลได้ยินการกล่าวข้อความมาด้วยตนเอง พยานบุคคลนั้นก็จะเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานบอกเล่า(ฎ.266/2488)
ประการที่ 3 คำบอกเล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นแห่งคดี ไม่ถือว่าเป็นพยานบอกเล่า
ฎีกาที่ 304/2500 ตำรวจเป็นพยานเบิกความว่าพอเกิดเหตุแล้วจำเลยได้ออกมาจากที่เกิดเหตุฆาตกรรมมีผู้ดเดินตามจำเลยออกมาและชี้บอกแก่ตำรวจให้จับจำเลยเป็นคนแทงผู้ตาย คำของตำรวจเป็นพยานชั้นหนึ่งไม่ใช่พยานบอกเล่าเพราะคำบอกเล่าของผู้ที่ตามจำเลยออกมานั้นเป็นคำบอกเล่าในขณะที่กระชั้นชิดทันทีซึ่งตามธรรมชาติยังไม่ทันมีช่องโอกาสแกล้งปรักปรำ ศาลรับฟังประกอบพฤติเหตุอื่นๆลงโทษจำเลยได้
ฎีกาที่ 308/2510 ผู้ตายคิดว่าตนเองจะยังไม่ตายได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยงิตนโดยไม่ปรากฏว่าในขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวดหรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะเป็นคำบอกกล่าวในเวลากระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่ยังไม่มีโอกาสที่ผู้บอกเล่าจะคิดใส่ความได้ทัน เป็นพฤติการณ์ประกอบพยานโจทก์นำไปสู่การติดตามรู้ตัวผู้กระทำผิดและได้พยานหลักฐานอื่น(ฎีกานี้ ผู้ตายไม่คิดว่าตนเองจะตาย ทำให้คำบอกเล่าของเขาไม่เข้าข้อยกเว้นเรื่องคำบอกเล่าในขณะที่รู้ตัวว่าใกล้จะตาย)
ฎีกาที่ 4418/2533 คำให้การรับสารภาพของจำเลยโดยสมัครใจในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพนั้น ศาลรับฟังประกอบคำเบิกความของบิดาผู้เสียหายซึ่งได้รับฟังคำบอกเล่าของผู้เสียหายในโอกาสแรกที่พบกันหังเกิดเหตุและมีสาระสำคัญตรงกัน ลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงได้
ประเด็นที่ 2 หลักการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
ให้ดูมาตรา 85 , 86 ,87 , 93 , 94 , 95
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น