JOB Ratchakarn
สรุปหลักกฏหมายแรงงาน
เขียนโดย small ที่ 07:12
1. เรื่องการทดลองงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงานปัจจุบัน มิได้จำแนกประเภทของลูกจ้างไว้ ดังนั้น ลูกจ้างทดลองงานจึงถือว่าเป็นลูกจ้าง มีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างทั่วไป “ เมื่อนายจ้างไม่ประสงค์จะจ้างลูกจ้างทดลองงานต่อไป ก็ต้องบอกเลิกจ้าง โดยต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบในวันจ่ายค่าจ้างหรือก่อนวันจ่ายคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างคราวถัดไป “ หากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือบอกกล่าวไม่ครบหรือถูกต้องตามกำหนดเวลาข้างต้นก็ต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าตกใจ ให้กับลูกจ้าง
2. เรื่องการเกษียณอายุ
การที่บริษัทมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างหญิง เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี และลูกจ้างชายเมื่ออายุครบ 55 ปี นั้น บริษัทปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อบังคับเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี ไม่มีผลบังคับใช้ เป็นโฆฆะ การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเมื่ออายุครบ 50 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานอาจสั่งให้บริษัทฯ (จำเลย) รับลูกจ้างหญิงกลับเข้าทำงาน (โจทก์) หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนก็ได้
3.เรื่องวันหยุดวันลา (เฉพาะที่ อาจารย์เน้น)
3.1 วันหยุด
3.1.1 วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
3.1.2 วันหยุดตามประเพณี กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี ( ไม่ใช่เอาวันหยุดของข้าราชการมาใช้ ซึ่งหยุด 16 วัน และไม่หยุดวันแรงงานด้วย ) วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น รวมแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
3.1.3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1.3.1 เมื่อทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
3.1.3.2 เมื่อทำงานติดต่อมาแล้วครบ 1 ปี ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดให้มากกว่า 6 วัน ทำงานก็ได้
3.1.3 .3 กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดให้ตามสัดส่วนก็ได้
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะสะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ยังไม่ได้หยุดในปีนี้นั้นรวม
กับปีต่อ ๆ ไปได้ โดยตกลงกันล่วงหน้าระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และถ้าลูกจ้างมีสิทธิลาแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธิแต่ถูกเลิกจ้างก่อนโดยไม่ได้กระทำความผิดอันทำให้หมดสิทธิได้รับค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมด้วย
3.2 วันลา
3.2.1 วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วยแต่ไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน และไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
3.2.2 วันลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
3.2.3 วันลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้นตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และวันลาดังกล่าวให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย การลาคลอดไม่ต้องแสดงใบสมรสหรือสูจิบัตร
เวลาทำงานปกติ วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง
การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
1. เป็นความยินยอมของลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไม่ใช่ต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง
2. ลูกจ้างทุกคน ทุกตำแหน่ง มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลา เพราะถือเป็นลูกจ้าง
อัตราค่าจ้างล่วงเวลา ( เผื่อไว้ อ.ไม่ได้เน้น)
1. ทำเกินเวลาในวันทำงานปกติ จ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
2. ทำเกินเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
3. ถ้าให้ทำในวันหยุด จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ด้วย ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
4.ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอย่างอื่น หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อสังเกต อย่าสับสนกับเงินสวัสดิการ ดังนั้น ให้ดูที่เจตนาของนายจ้างด้วย ถ้าเป็นการจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อไปจ่ายจริงและมีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินนั้น ก็เป็นเงินสวัสดิการ มิใช่เงินค่าจ้าง เช่น การเหมาจ่ายค่ารถ ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ซึ่งต้องจ่ายจริงโดยกะประมาณตามความจริง แต่ถ้านายจ้างจ่ายโดยไม่คำนึงถึงว่าลูกจ้างจะนำไปใช้จ่ายจริงหรือไม่ เพียงแต่ว่า เมื่อลูกจ้างทำงานตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ก็จะได้ค่าพาหนะหรือค่าน้ำมันรถ ถือว่า นายจ้างมีเจตนาจ่ายให้เป็นรายได้ของลูกจ้าง เงินนั้นเป็นค่าจ้าง และหากนายจ้างมีเจตนาจ่ายให้ลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ และเป็นจำนวนเงินแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง ได้แก่ เงินรับรอง , เงินประจำตำแหน่ง , เงินเบี้ยเลี้ยง เงินค่านายหน้า เงินค่าครองชีพ เงินค่าเบี้ยกิโลเมตร เป็นต้น ส่วนเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ถือเป็นสวัสดิการ เช่น ค่าอาหาร เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยค่าน้ำประปา-ไฟฟ้า เงินช่วยค่าเช่าบ้าน เงินโบนัส เบี้ยขยัน เงินรางวัลประจำปี เงินบำเหน็จ เป็นต้น
2. เรื่องการเกษียณอายุ
การที่บริษัทมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างหญิง เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี และลูกจ้างชายเมื่ออายุครบ 55 ปี นั้น บริษัทปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อบังคับเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี ไม่มีผลบังคับใช้ เป็นโฆฆะ การเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเมื่ออายุครบ 50 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานอาจสั่งให้บริษัทฯ (จำเลย) รับลูกจ้างหญิงกลับเข้าทำงาน (โจทก์) หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนก็ได้
3.เรื่องวันหยุดวันลา (เฉพาะที่ อาจารย์เน้น)
3.1 วันหยุด
3.1.1 วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
3.1.2 วันหยุดตามประเพณี กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี ( ไม่ใช่เอาวันหยุดของข้าราชการมาใช้ ซึ่งหยุด 16 วัน และไม่หยุดวันแรงงานด้วย ) วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น รวมแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ และต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
3.1.3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1.3.1 เมื่อทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
3.1.3.2 เมื่อทำงานติดต่อมาแล้วครบ 1 ปี ในปีต่อมา นายจ้างอาจกำหนดให้มากกว่า 6 วัน ทำงานก็ได้
3.1.3 .3 กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดให้ตามสัดส่วนก็ได้
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะสะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ยังไม่ได้หยุดในปีนี้นั้นรวม
กับปีต่อ ๆ ไปได้ โดยตกลงกันล่วงหน้าระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และถ้าลูกจ้างมีสิทธิลาแล้วยังไม่ได้ใช้สิทธิแต่ถูกเลิกจ้างก่อนโดยไม่ได้กระทำความผิดอันทำให้หมดสิทธิได้รับค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมด้วย
3.2 วันลา
3.2.1 วันลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลาป่วยแต่ไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน และไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
3.2.2 วันลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
3.2.3 วันลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดย
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้นตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และวันลาดังกล่าวให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย การลาคลอดไม่ต้องแสดงใบสมรสหรือสูจิบัตร
เวลาทำงานปกติ วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง
การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
1. เป็นความยินยอมของลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไม่ใช่ต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง
2. ลูกจ้างทุกคน ทุกตำแหน่ง มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลา เพราะถือเป็นลูกจ้าง
อัตราค่าจ้างล่วงเวลา ( เผื่อไว้ อ.ไม่ได้เน้น)
1. ทำเกินเวลาในวันทำงานปกติ จ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
2. ทำเกินเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
3. ถ้าให้ทำในวันหยุด จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ด้วย ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
4.ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอย่างอื่น หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อสังเกต อย่าสับสนกับเงินสวัสดิการ ดังนั้น ให้ดูที่เจตนาของนายจ้างด้วย ถ้าเป็นการจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อไปจ่ายจริงและมีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินนั้น ก็เป็นเงินสวัสดิการ มิใช่เงินค่าจ้าง เช่น การเหมาจ่ายค่ารถ ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ซึ่งต้องจ่ายจริงโดยกะประมาณตามความจริง แต่ถ้านายจ้างจ่ายโดยไม่คำนึงถึงว่าลูกจ้างจะนำไปใช้จ่ายจริงหรือไม่ เพียงแต่ว่า เมื่อลูกจ้างทำงานตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ก็จะได้ค่าพาหนะหรือค่าน้ำมันรถ ถือว่า นายจ้างมีเจตนาจ่ายให้เป็นรายได้ของลูกจ้าง เงินนั้นเป็นค่าจ้าง และหากนายจ้างมีเจตนาจ่ายให้ลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ และเป็นจำนวนเงินแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง ได้แก่ เงินรับรอง , เงินประจำตำแหน่ง , เงินเบี้ยเลี้ยง เงินค่านายหน้า เงินค่าครองชีพ เงินค่าเบี้ยกิโลเมตร เป็นต้น ส่วนเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ถือเป็นสวัสดิการ เช่น ค่าอาหาร เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยค่าน้ำประปา-ไฟฟ้า เงินช่วยค่าเช่าบ้าน เงินโบนัส เบี้ยขยัน เงินรางวัลประจำปี เงินบำเหน็จ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Financial
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เค้าโครงของคำร้องขอประเภทนี้สรุปได้ดังนี้คือ 1. บรรยายถึงฐานะของผู้ร้อง เกี่ยวข้องกับผู้ตายอย่างไร ( มีหลักฐานชนิดใดบ้าง ระบุไว้เสมอ ) 2...
-
กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ท...
-
ประเภทขององค์กรฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงได้เกิดการจัดตั้งองค์กรขึ้นดังนี้ องค์ก...
-
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวน ( มาตรา 134/4) ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้อหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิ์ตามมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง หรือก่อนก...
-
มาตรา22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลู...
-
การยื่นบัญชีระบุพยาน แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ดูมาตรา 173/1 1.1 คู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย) ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลั...
-
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับ...
-
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ . ศ . ๒๕๓๕ ให้ไว้ ณ วันใด ก. ๒๑ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๓๕ ค . ๒๓ มีนา...
-
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดแ...
-
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ประชาชนต่างก็ประกอบสัมมาชีพกันหลากหลาย มีอยู่อาชีพหนึ่งที่ดูเหมือนว่าผู้ที่ประกอบอาชี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น